ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Main Article Content

นภัสสร เนื่องกลิ่น
จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
รุจ ศิริสัญลักษณ์
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประ การของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิต อะโวคาโดตามมาตรฐานหลักการ เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเกษตรกรที่เป็น สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ อะโวคาโด จำนวน 148 คน วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มี อายุเฉลี่ย 46.09 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแรงงานเกษตรภายในครอบครัวเฉลี่ย 2.90 คน และแรงงานที่ใช้ในการผลิตอะโวคาโดเฉลี่ย 3.62 คน มีประสบ การณ์ในการปลูกอะโวคาโดเฉลี่ย 4.55 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 9.18 ไร่ และมีรายได้จากการขายอะโวคาโดต่อพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 2,479.20 บาทต่อไร่ ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจาก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ย 3.07 ครั้งต่อปี และมีการติดต่อกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 3.74 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 10.11 คะแนน และเกษตรกรไม่แน่ใจต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.14 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร พบว่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การเข้ารับการฝึกอบรม และระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 แรง งานที่ใช้ในการผลิต อะโวคาโด และการถือครองที่ดินและพื้นที่ปลูกมีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2563. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. แหล่งข้อมูล https://production.doae.go.th/service/ (7 สิงหาคม 2563).

จารุวรรณ ฟูตั๋น สุรพล เศรษฐบุตร วรทัศน์ อินทรัคคัมพร และธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมในการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3):397-404.

ปริญญากร จัตุพร พัฒนา สุขประเสริฐ และวัชร ลิ้มวรรณดี. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูก ข้าว จังหวัดนครปฐม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(2): 381-393.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (good agriculturalpractices for food crops). แหล่งข้อมูล: www.acfs.go.th/files/files/commodity-standard/ 20211105115922_732642.pdf (6 ธันวาคม 2563).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารปี 2563. แหล่งข้อมูล https://impexpth.oae.go.th/export_import (7 สิงหาคม 2563).

ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทย. 2563. บทความกรมส่งเสริมการเกษตรชูอะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่. แหล่งข้อมูล http://thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/5f45c21ef326d27862f69e09 (7 เมษายน 2564).

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16(3): 297–334. Available: https://doi.org/10.1007/BF02310555.

Suwanmaneepong, S., K. Chanhathai, I. Krichanont, and W. Unggoon. 2020. Farmers’ Adoption of Organic Rice Production in Chachoengsao Province, Thailand. Journal of AgriculturalExtension 24(2): 71-79.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row, New York.