การพัฒนาผ้าด้ายดิบเคลือบน้ำยางพาราสำหรับการใช้งานคลุมดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมผ้าเคลือบน้ำยางพาราสำหรับประยุกต์ใช้ในงานคลุมดิน โดยผสมน้ำยางพารากับสารเคมี เพื่อเตรียมเป็นน้ำยางคอมพาวนด์ และศึกษาปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่ 10 30 และ 50 ส่วนโดยน้ำหนักของเนื้อยาง จากการทดสอบสมบัติของยางวัลคาไนซ์ พบว่าความต้านทานแรงดึงของยางวัลคาไนซ์มีค่าไม่แตกต่างกัน แต่ค่าระยะยืดเมื่อขาดลดลงอย่างชัดเจนตามปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบสมบัติเชิงกลของผ้าเคลือบน้ำยาง พบว่าผ้าเคลือบน้ำยางที่ได้มีค่าความต้านทานแรงดึง ค่าระยะยืดเมื่อขาด และค่าความต้านทานการฉีกขาดสูงกว่าผ้าด้ายดิบที่ไม่ได้เคลือบน้ำยางอย่างชัดเจน นอกจากนี้พบว่า ผ้าเคลือบน้ำยางมีค่าระยะยืดเมื่อขาดและค่าความต้านทานการฉีกขาดเพิ่มขึ้นตามปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้น และเมื่อนำผ้าเคลือบน้ำยางที่ได้มาใช้คลุมแปลงผักสลัดโดยเปรียบเทียบกับแผ่นพลาสติกคลุมดินทางการค้าชนิดพอลิเอทิลีน พบว่าผ้าเคลือบน้ำยางสามารถรักษาความชื้นและค่าความเป็นกรดด่างในดินได้ใกล้เคียงกับพลาสติกคลุมดินทางการค้า แต่ผักสลัดที่ปลูกโดยใช้ผ้าเคลือบน้ำยางแสดงการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพลาสติกคลุมดินทางการค้า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คงสวัสดิ์ อินเตอร์เทรด จำกัด. 2561. พลาสติกคลุมดินแตกต่างกันอย่างไร. แหล่งข้อมูล http://kongsawat.com/soil-cover-story/ (18 ธันวาคม 2562).
เนตรธิดาร์ บุนนาค. 2564. พลาสติกจากการเกษตรตกค้างในดิน เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางอาหารสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูลhttps://www.sdgmove.com/2021/12/09/plastics-in-soil-threaten-food-security-healthand-environment-fao/ (9 ธันวาคม 2563).
พงษ์ธร แซ่อุย. 2548. ยาง ชนิด สมบัติ การใช้งาน. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ปทุมธานี.
มติชนออนไลน์. 2559. เกษตรกรไอเดียแจ่มใช้พลาสติกคลุมดินปลูกพืช ลดการใช้น้ำ-ผลผลิตดี. แหล่งข้อมูล https://www.matichon.co.th/region/news_9466 (3 มกราคม 2563).
วิโรจน์ ลิ่มตระการ จิตติ์พร เครือเนตร อุทัย วิชัย ธรรมรัตน์ปัญญธรรมาภรณ์ กาญจนา สุทธิกุล และสาวิตรี ทิวงศ์. 2553. การพัฒนาพลาสติกคอมโพสิทเพิ่มช่วงแสงสำหรับใช้เป็นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. ยางพารา. แหล่งข้อมูล https://mis-app.oae.go.th /product/ยางพารา (13 มกราคม 2566).
Deng, L., M. Xianyong, Y. Ruide and W. Qian. 2019. Assessment of the effect of mulch film on crops in the arid agricultural region of China under future climate scenarios. Water 11(9): 1819. Available: DOI:10.3390/w11091819.
Garrido Gamarro, E. and V. Costanzo. 2022. Microplastics in food commodities: A Food safety review on human exposure through dietary sources. Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO).
Hayes, D.G., M.B. Anunciado, J.M. DeBruyn, S. Bandopadhyay, S. Schaeffer, M. English, S. Ghimire, C. Miles, M. Flury and H.Y. Sintim. 2019. Biodegradable plastic mulch films for sustainable specialty crop production. pp. 183-213. In: T.J. Gutiérrez (ed.). Polymers for Agri-Food Applications, Springer.
Manroshan, S., and A. Baharin. 2004. The effect of calcium carbonate on the mechanical properties and morphology of natural rubber latex films. In presented at the 13 th Scientific Conference and 14 th Annual General Meeting, Electron Microscopy Society of Malaysia. pp. 1-5.