ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนม ของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศราวุฒิ ปัญญาวัย
กังสดาล กนกหงษ์
พหล ศักดิ์คะทัศน์
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน จังหวัดเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ทายาทเกษตรกรผูเ้ ลี้ยงโคนมจำนวน 160 คน เก็บรวบรวมโดยใชแ้ บบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในฟาร์ม แรงงานจ้าง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ สถานภาพ ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับข้อเสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อการสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรที่สำคัญ คือ 1) ควรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคนมนำมาใช้ เพื่อทดแทนแรงงานในฟาร์มที่ปัจจุบันเริ่มขาดแคลนและหายาก 2) ควรมีการจัดทำโครงการหรือหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นให้ทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้มีประสบการณ์จากการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เกิดการรับรู้ศักยภาพของตนเอง 3) ควรสร้างเครือข่ายกลุ่มทายาทเกษตรกรที่สืบทอดการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการประกอบอาชีพ อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจจากการรวมกลุ่ม 4) ควรหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานกับอาชีพการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกและเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพการเลี้ยงโคนม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปาลี. 2563. ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. 2556. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). แหล่งข้อมูล https://www.senate.go.th/document/Ext17951/17951564_0004.PDF (20 มกราคม 2564).

ชมพูนุท ด้วงจันทร์ สุรินทร์ชุมแก้ว เกวลิน สุวรรณศิลป ณิชมน ขันแกล้ว รจนา เสนศรี ศุภวัฒน์แซ่โค้ว และอนันตญา หนูชัยแก้ว. 2565. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ 5(1): 229-241.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และประสพชัย พสุนนท์. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจสืบทอดธุรกิจครอบครัวของกลุ่มทายาทกิจเจนเนอเรชั่นวาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 37(2): 33-44.

ฐานะมาศ เพ็งแพ่ง สุรัติ สุพิชญางกูร และบรรพต วิรุณราช. 2559. การสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร 11(2): 10-24.

เบญจพรรณ เอกสิงห์ กุศล ทองงาม บุญเสริม ชีวะอิสระกุล บุญล้อม ชีวะอิสระกุล และสมคิด พรหมมา. 2540. เศรษฐกิจ สังคม และระบบการผลิตของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยฉัตร ใบงิ้ว. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในอาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจิตร อาวะกุล. 2535. หลักการส่งเสริมการเกษตร. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

ศุภากร ภู่นพมาศ รุจ ศิริสัญลักษณ์ สุรพล เศรษฐบุตร และพัสระ จิรวัฒน์. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมขิงสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร 47ฉบับพิเศษ(1): 211-216.

สำนักงานปศุสัตว์ เขต 5. 2563. ยุทธศาสตร์โคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปี 2560-2564. แหล่งข้อมูล https://region5.dld.go.th/webnew/images/stories/2563/yut/yutdairycattle.pdf (20 มกราคม 2564).

สำนักงานปศุสัตว์ เขต 5. 2556. ยุทธศาสตร์โคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปี 2556-2560. แหล่งข้อมูล https://region5.dld.go.th/webnew/images/stories/p2556/Strategic2556/4strategic%20dairy.pdf (20 มกราคม 2564).

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย. 2565. ประวัติความเป็นมา. แหล่งข้อมูล https://www.dpo.go.th/ เกี่ยวกับ-อ-ส-ค/ (20 มกราคม 2564).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. Harper and Row Publication, New York.