การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • รายชื่อคณะผู้นิพนธ์เป็นตามความเป็นจริง และเป็นผู้มีส่วนร่วมทางปัญญา (intellectual contribution) ต่อบทความวิชาการ
  • ไฟล์บทความอยู่ในรูปแบบ Microsoft Word เว้นขอบทุกด้าน 1 นิ้ว คอลั่มเดี่ยว ไม่เว้นบรรทัด เนื้อหาเป็นอักษร Browallia New 14 pt. และใส่เลขหน้าเรียงตามลำดับ และได้ได้จัดรูปแบบบทความและเขียนอ้างอิงตามที่ระบุไว้ในหน้าเกี่ยวกับวารสาร Author Guidelines เรียบร้อยแล้ว
  • รับรองว่า บทความเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ และยังไม่เคยส่งหรอกำลังส่งตีพิมพ์วารสารอื่น
  • การทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์ ทางวารสารจะติดต่อและแจ้งข้อความต่าง ๆ ผ่านอีเมลของท่านที่ได้กรอกเข้าสู่ระบบเป็นหลัก เพื่อให้เข้ามารับ-ส่ง ข้อมูลผ่านในระบบเว็บไซต์วารสารฯ (การตอบกลับไม่ใช้การ reply เมล) ดังนั้นขอให้ตรวจสอบกล่องจดหมายของท่านว่าได้รับอีเมลของวารสารฯ หากไม่ได้รับอีเมลใด ๆ หลังจากส่งบทความนี้แล้ว (บางครั้งอาจตกอยู่ใน spam/junk mail) กรุณาติดต่อที่ tci.thai@gmail.com
  • รับรองว่า ผลการศึกษา การบันทึก และการรายงานปราศจากการเสกสรรปั้นแต่งขึ้นเอง (fabrication)
  • รับรองว่า สาระเนื้อหาการวิจัย เครื่องมือ กระบวนการปราศจากการปลุกปั่นยักย้ายถ่ายเท (manipulate) อันเปลี่ยนแปลงหรือละเลยผลการศึกษาโดยไม่อธิบายหรือไม่นําเสนออย่างถูกต้องตามข้อมูลในแบบลงข้อมูล
  • การคัดลอกผลงาน (plagiarism) วิชาการดั้งเดิมพร้อมกับอ้างอิงอย่างชัดเจนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ภายใต้เงื่อนไข
    1) กระทำภายในขอบเขตเนื้อหาบางคำ บางประโยค ไม่ใช่ทั้งย่อหน้า หนึ่งใดหรือหลายย่อหน้า
    2) กระทำเกี่ยวกับข้อมูลอันเป็นแนวคิดหรือวลีอันใช้กันแพร่หลาย ไม่ใช่แนวคิดหรือวลีใช้โดยผู้นิพนธ์จำนวนน้อย
    3) กระทำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติอันเป็นวิธีการมาตรฐานไม่ใช่พรรณนาสิ่งค้นพบโดยผู้อื่น
    4) อ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเต็มและชัดเจน ไม่ใช่อ้างอิงบางส่วนและไม่ถูกต้อง หรือไม่อ้างอิง
    5) ทำให้เชื่อด้วยความไม่ตั้งใจ ไม่ใช่ตั้งใจให้เชื่อ
  • ไม่แสดงการจาบจ้วง ไม่ลบหลู่ ไม่เกี่ยวข้องกับระบบการปกครอง
  • ละเว้น/หลีกเลี่ยง ใส่ชื่ออักษรย่อและข้อความ อันสื่อถึงการเปิดเผย องค์กร/หน่วยงาน/บุคคล
  • กรุณาให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านไว้ใน ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comment for Editor) และกดบันทึก รวมถึงหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ในช่องทางดังกล่าว

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับการใช้ทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: คลิกอ่านเอกสาร

คำแนะนำผู้นิพนธ์ดาวน์โหลด (PDF)

 

บทความตีพิมพ์

- ส่งต้นฉบับ, ตาราง, รูปภาพ, กราฟ ทางอีเมล์ ด้วยโปรแกรมประมวล Microsoft Word เว้นขอบทุกด้าน 1 นิ้ว คอลัมน์เดี่ยว, ไม่เว้นบรรทัด, เนื้อหาเป็นอักษร Browallia New และใส่เลขหน้าเรียงตามลำดับ
- ชนิดและขนาดตัวอักษร  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อเรื่อง  ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา
- ชื่อผู้นิพนธ์ และ ผู้ร่วมนิพนธ์  ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ปกติ (ไม่เกิน 6 คน)
- หัวข้อหลัก  ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา
- หัวข้อรอง  ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา
- บทคัดย่อและเนื้อเรื่อง  ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ
- เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นที่อยู่ของผู้นิพนธ์  ใช้อักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ
- บทความทั้งหมดไม่เกิน 15 หน้า
- เอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 60 รายการ
- รายการอ้างอิงควรย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี
- หากผู้นิพนธ์มีข้อสงสัยในการจัดเตรียมต้นฉบับสามารถตรวจสอบระเบียบการตีพิมพ์ล่าสุดของวารสารได้จาก
E-mail: j.nu.phayao@gmail.com

- ตัวเลขเป็นตัวเลขอารบิก ส่วนคำย่อหน่วยวัดอันเป็นรับรู้รับทราบเป็นสากล สามารถใช้คำย่อโดยปราศจากคำเต็ม (ย่อ) คำย่อหน่วยวัดเป็นภาษาไทยควรเป็นคำย่ออันเป็นคำนิยม เนื้อหาภาษาไทยควรหลีกเลี่ยง   การใช้คำย่อหน่วยวัดเป็นภาษาอังกฤษ ควรเขียนเป็นคำเต็มภาษาไทยเช่น ไมโครกรัม นาโนกรัม เป็นต้น ส่วนเนื้อหาภาษาอังกฤษแนะนำคำย่อสากลเช่น m = meter, c = centimeter, mm = millimeter, kg = kilogram, g = gram, h = hour, min = minute, sec = second, L = liter, mL = milliliter เป็นต้น

 

บทความวิจัย (research article) หมายถึงผลงานวิจัยใหม่หรือประยุกต์ด้านทฤษฎีหรือปฏิบัติ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์สาขานั้นมากขึ้น สิ่งค้นพบสามารถทำซ้ำ/ทดลองและผลเหมือนเดิม

บทความปริทัศน์ (review article) หมายถึงบทความรวบรวมความรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใดอันตีพิมพ์ในนานาวารสารนำมาวิเคราะห์, วิจารณ์, เปรียบเทียบ, สรุปประเด็น และให้ข้อเสนอแนะ อันเกิดความกระจ่างและเป็นแนวทางสำหรับค้นคว้า/วิจัยต่อ

ชื่อเรื่อง (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • กระชับและสะท้อนประเด็นการทบทวน ไม่เกิน 2 บรรทัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ
  • ภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ คำถัดไปขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ยกเว้นเป็นคำนามคำเฉพาะ
  • ชื่อเต็มผู้นิพนธ์ (ไม่ระบุเพศ, ตำแหน่งวิชาการ, สถานะบัณฑิตศึกษา), สังกัด และที่อยู่เมล์อีเล็กทรอนิกส์ของผู้รับติดต่อ

บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและอังกฤษ

  • จำนวนคำไม่เกิน 350 คำ
  • ไม่มีหัวข้อย่อย
  • คำสำคัญ (Keywords) ประมาณ 3 ถึง 5 คำ ระบุใต้บทคัดย่อ

การอ้างอิงเอกสาร (citation)

  • การอ้างอิง เอกสารเป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้นิพนธ์นำมาอ้างอิงในการเขียนบทความ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลหรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม เพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยปราศจากการอ้างอิง รวมทั้งสะดวกแก่ผู้อ่านผู้ประสงค์จะทราบรายละเอียดและตรวจสอบความถูกต้องจากต้นฉบับเดิม
  • ให้อ้างอิงท้ายบทความ อ้างอิงตามระบบหมายเลข (number system) แบบ Vancouver style ใส่ตัวเลขตัวอารบิกภายในวงเล็บใหญ่ต่อท้ายเนื้อหา เรียงหมายเลขตามลำดับการอ้างอิงก่อนหลัง

หัวข้อ (heading)

  • หัวข้ออนุโลมตามเนื้อหาการทบทวน

เอกสารอ้างอิง (References)

  • ไม่ควรเกิน 40 รายการ
  • ควรอ้างบทความตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการเป็นหลัก ยกตัวอย่าง บทความวิจัยดั้งเดิม (original research article), บทความทบทวนวรรณกรรมระบบเชิงปริมาณ (meta-analysis article), บทความทบทวนเชิงระบบ (systemic review article) และสิ่งตีพิมพ์ในการประชุม (proceeding) อันมีรูปแบบของบทความวิจัย กรณีสิ่งตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการเป็นบทคัดย่อไม่ควรนานเกินกว่าสองปีภายหลังการประชุม  
  • ไม่อ้างอิงบทวิทยานิพนธ์ (thesis) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (independent study) ควรค้นเพิ่มเติมว่าบทวิทยานิพนธ์ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์หรือไม่
  • ไม่ควรอ้างอิงบทความในอินเตอร์เน็ท หากสามารถอ้างอิงบทความในวารสารหรือวารสารอีเล็กทรอนิกส์
  • การอ้างอิงหนังสืออันเป็นข้อมูลข่าวสารทุติยภูมิ ให้ระบุหาว่าอ้างอิงต่อมาจากข้อมูลข่าวสารปฐมภูมิใด
  • รายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความเรียงลำดับตัวเลข
  • เอกสารอ้างอิงต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

หมายเหตุ

  1. รายละเอียดเพิ่มเติมดูจาก บทความ “Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Manuscript Preparation”โดย International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE), 2013. Available from: https://www.icmje.org/manuscript_1html
  2. เนื้อหาบทความ (ไม่รวมหน้าแรก ตาราง, กราฟ, รูปภาพ เอกสารอ้างอิง) ความยาวไม่เกิน 17 หน้ากระดาษ A4 (ไม่เว้นบรรทัด) ยกเว้นเกี่ยวข้องกับนัยสำคัญของการศึกษา

รายการเอกสารอ้างอิง

บทความวารสารบุคคลเป็นผู้นิพนธ์

ชื่อผู้นิพนธ์ใส่ นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, รายชื่อผู้นิพนธ์ 6 คนน้อยกว่า ใส่รายชื่อทุกคน, กรณีรายชื่อผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ใส่รายชื่อ 6 คนแรกตามด้วย et al. ตามด้วยชื่อเรื่อง. วารสารใช้ชื่อย่อ. ปีค.ศ.;ปีที่(ฉบับที่):หน้าแรก-หน้าสุดท้าย

ถ้าเป็นวารสารไทยในฐานข้อมูล Thai Citation Index ใช้ภาษาไทยทั้งหมด เครื่องหมายวรรคตอนเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ส่วนปีใช้เป็น พ.ศ.

ตัวอย่าง

Kusirisin W Srichairatanakool S, Lerttrakarnnon P, Lailerd N, Suttajit M, Jaikang C, et al. Antioxidative activity, polyphenolic content and anti-glycation effect of some Thai medicinal plants traditionally used in diabetic patients. Med Chem. 2009;5(20):139-147.

หนังสือ

ชื่อผู้นิพนธ์ใส่ นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, ... นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่. เมือง: โรงพิมพ์; ปี. หน้า. กี่หน้า

ถ้าเป็นหนังสือภาษาไทยใช้ภาษาไทยทั้งหมด เครื่องหมายวรรคตอนเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ส่วนปีใช้เป็น พ.ศ.

ตัวอย่าง

Harindra V, Chandeying V, Usman N, editors. Sexually Transmitted Infections and HIV: An illustrated guide to management, 1st ed. Hat Yai: Chanmuang Press; 2009. 377 p.

บทในหนังสือ

ชื่อผู้นิพนธ์ใส่ นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, ... นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น. ชื่อบท. ใน: ชื่อบรรณาธิการนามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, ... นามสกุล ตัวย่อชื่อกลางชื่อต้น, พิมพ์ครั้งที่.  ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่. เมือง: โรงพิมพ์; ปี. หน้า. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. 

ถ้าเป็นหนังสือภาษาไทยใช้ภาษาไทยทั้งหมด เครื่องหมายวรรคตอนเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ส่วนปีใช้เป็น พ.ศ.

ตัวอย่าง

Chandeying V, Chandeying N. Women’s Sexual Dysfunction. In: Gupta S, Kumar B, editors. Sexually Transmitted Infections, 2nd ed. New Delhi: Elsevier; 2012. p. 1210-1220.  

สิ่งตีพิมพ์ในการประชุม

ตัวอย่าง

Passornpakorn W, Kamolphiwong S, Kamolphiwong T, Chandeying V. Design framework for ontology based interactive E-health services. Proceeding of the 5th International Conference on Ubiquitous and Future Networks (ICUFN); 2013 Jul 2-5; Da Nang, Vietnam. IEEE Xplore; 2013.

ความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์

  • รายชื่อคณะผู้นิพนธ์เป็นตามความเป็นจริง และเป็นผู้มีส่วนร่วมทางปัญญา (intellectual contribution) ต่อบทความวิชาการ
  • รับรองว่า บทความเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ และยังไม่เคยส่งหรือกำลังส่งตีพิมพ์วารสารอื่น
  • รับรองว่าผลการศึกษา, การบันทึก และการรายงาน ปราศจากการเสกสรรปั้นแต่งขึ้นเอง (fabrication)
  • รับรองว่าสาระเนื้อหาการวิจัย, เครื่องมือ และกระบวนการ ปราศจากการปลุกปั่นยักย้ายถ่ายเท (manipulate) อันเปลี่ยนแปลงหรือละเลยผลการศึกษา โดยไม่อธิบายหรือไม่นำเสนออย่างถูกต้องตามข้อมูลในแบบ (case report form)
  • การคัดลอกผลงาน (plagiarism) วิชาการดั้งเดิมพร้อมกับอ้างอิงอย่างชัดเจนเป็นสิ่งยอมรับได้ ภายใต้เงื่อนไข
  1. กระทำภายในขอบเขตเนื้อหาบางคำบางประโยค ไม่ใช่ทั้งย่อหน้าหนึ่งใดหรือหลายย่อหน้า
  2. กระทำเกี่ยวกับข้อมูลอันเป็นแนวคิดหรือวลีอันใช้กันแพร่หลาย ไม่ใช่แนวคิดหรือวลีใช้โดยผู้นิพนธ์จำนวนน้อย
  3. กระทำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติอันเป็นวิธีการมาตรฐาน ไม่ใช่พรรณนาสิ่งค้นพบโดยผู้อื่น
  4. อ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเต็มที่และชัดเจน ไม่ใช่อ้างอิงบางส่วนและไม่ถูกต้อง หรือไม่อ้างอิง
  5. ทำให้เชื่อด้วยความไม่ตั้งใจ ไม่ใช่ตั้งใจให้เชื่อ
  • ไม่แสดงการจาบจ้วง, ไม่ลบหลู่, ไม่เกี่ยวข้องกับระบบการปกครอง
  • ละเว้น/หลีกเลี่ยงใส่ชื่ออักษรย่อและข้อความ อันสื่อถึงการเปิดเผยองค์กร/หน่วยงาน/บุคคล

การเตรียมต้นฉบับ

  • ส่งต้นฉบับ, ตาราง, รูปภาพ, กราฟ ทางอีเมล์ ด้วยโปรแกรมประมวล Microsoft Word เว้นขอบทุกด้าน 1 นิ้ว คอลัมน์เดี่ยว, ไม่เว้นบรรทัด, เนื้อหาเป็นอักษร Browallia New 14 pt. และใส่เลขหน้าเรียงตามลำดับ อีเมล์ส่งสำนักงานวารสารนเรศวรพะเยา หรือเสนอผ่านระบบออนไลน์
  • ตัวเลขเป็นตัวเลขอารบิก ส่วนคำย่อหน่วยวัดอันเป็นรับรู้รับทราบเป็นสากล สามารถใช้คำย่อโดยปราศจากคำเต็ม (ย่อ) คำย่อหน่วยวัดเป็นภาษาไทยควรเป็นคำย่ออันเป็นคำนิยม เนื้อหาภาษาไทยควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหน่วยวัดเป็นภาษาอังกฤษ  ควรเขียนเป็นคำเต็มภาษาไทยเช่น ไมโครกรัม นาโนกรัม เป็นต้น ส่วนเนื้อหาภาษาอังกฤษแนะนำคำย่อสากลเช่น m = meter, c = centimeter, mm = millimeter, kg = kilogram, g = gram, h = hour, min =  minute, sec = second, L = liter, mL = milliliter เป็นต้น
  • เนื้อหาใช้ภาษาง่าย, กะทัดรัด, ชัดเจน, ไม่เยิ่นเย้อ และวกวน การใช้ภาษาไทยยึดหลักการเขียนทับศัพท์และศัพท์บัญญัติตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยกเว้นคำที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วไม่ได้ใจความ
  • คำย่อใช้เฉพาะคำสากล ใช้ครั้งแรกในส่วนบทคัดย่อและเนื้อหาระบุคำเต็ม (ย่อ) ต่อไปย่อ ส่วนคำย่อใช้เพียงครั้งเดียวไม่จำเป็นต้องย่อ
  • ปีใช้เป็น พ.ศ. ยกเว้นบทความภาษาอังกฤษ
  • ตาราง, กราฟ, ผังงาน และรูปภาพไม่ควรเกิน 3 ถึง 5 ตาราง เรียงตามลำดับพร้อมคำอธิบายและกำหนดตรงกับเนื้อหา ควรหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการนำเสนอทั้งตารางกับกราฟ, ตารางกับรูปภาพ
  • ตัวย่อการอธิบายตารางเรียงตามลำดับกล่าวคือ *, †, ‡, §, ส่วนตารางไม่ซับซ้อน/เรียบง่ายและปราศจากนัยสำคัญของการเปรียบเทียบ ควรเขียนอธิบายเป็นร้อยแก้ว
  • วารสารตีพิมพ์เป็นภาพขาวดำ แม้ว่าภาพต้นฉบับเป็นภาพสี รูปภาพควรมีความคมชัดสูง

หมายเหตุ  หลังการตรวจสอบต้นฉบับแรกรับไม่เป็นไปตามการจัดรูปแบบของวารสารนเรศวรพะเยา กองบรรณาธิการยินดีให้คำแนะนำ และส่งคืนผู้นิพนธ์รับติดต่อเพื่อแก้ไขก่อนส่งผู้ทบทวน

บทความวิจัย

เนื้อหาบทความเป็นผลงานวิจัยใหม่หรือประยุกต์ด้านทฤษฎีหรือปฏิบัติ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์สาขานั้นมากขึ้น สิ่งค้นพบสามารถทำซ้ำ/ทดลองและผลเหมือนเดิม

บทความปริทัศน์

บทความรวบรวมความรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใดอันตีพิมพ์ในนานาวารสารนำมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ สรุปประเด็น และให้ข้อเสนอแนะ อันเกิดความกระจ่างและเป็นแนวทางค้นคว้าวิจัยต่อ

บทความวิชาการ

บทความสำหรับผู้อ่านผู้ไม่เป็นนักวิทยาศาสตร์ เนื้อหาเข้าใจง่ายและเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสำรวจ และแบบสอบถาม ทั้งแบ่บร่วม/ไม่ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาเชื่อมโยงเขียนเป็นประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเชื่อมโยงกับประเด็นการศึกษา

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลที่กรอกลงในเว็บไซต์วารสารนี้จะไม่เปิดเผยและนำไปแจกจ่ายกับหน่วยงานอื่นๆใด จะใช้สำหรับกิจกรรมในบทความของงานวารสารในระบบวารสารออนไลน์นี้เท่านั้น