การศึกษาสภาพการเลี้ยง และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการผลิตโคขุนในพื้นที่จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วีรนุช ทันนิธิ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • จักรกฤษ วิชาพร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มลภัคน์ กล่ำรักษ์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุรีย์พร แสงวงศ์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

โคขุน, สภาพการเลี้ยง, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยง การจัดการ การตลาด ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ขุนโคระยะสั้นจำนวน 10 ราย และกลุ่มที่ขุนโคระยะยาวจำนวน 23 ราย โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 90.91 เลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพเสริมร้อยละ 66.67 ทั้งสองกลุ่มมีสภาพการเลี้ยงคล้ายคลึงกัน คือ ทั้งหมดเลี้ยงแบบขังคอกตลอดเวลา โคที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ร้อยละ 78.50 ด้านการตลาดเกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายโคขุนให้กับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อ และพ่อค้าคนกลาง (ร้อยละ 69.70, 18.18 และ 9.09 ตามลำดับ) โดยลักษณะการจำหน่ายตามราคาน้ำหนักซากและเกรดซาก หรือตามราคาน้ำหนักมีชีวิตร้อยละ 87.88 รายได้ของการจำหน่ายโคขุนมากกว่า 90,000 บาท/ปี/ฟาร์ม ร้อยละ 72.73 ความพึงพอใจกับราคาที่จำหน่ายอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.79 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT analysis) พบว่าจุดแข็ง เกษตรกรมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน สามารถสร้างรายได้ในครัวเรือน มีทักษะและความรู้ความสามารถในการจัดการฟาร์ม มีตลาดรองรับที่แน่นอน จุดอ่อน เกษตรกรมีอายุค่อนข้างมาก ประสบการณ์น้อย ขาดองค์ความรู้ในการจัดการการเลี้ยงต่าง ๆ โอกาส มีโอกาสส่งออกโคขุนไปขายยังต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับเกษตรกรส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว เวียดนาม และจีน เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น อุปสรรค ขาดการวางแผนในด้านการผลิต ไม่สามารถควบคุมคุณภาพ และปริมาณการผลิตได้ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตโคขุนมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรงตามความต้องการของตลาด

Author Biographies

วีรนุช ทันนิธิ, คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา, คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

จักรกฤษ วิชาพร, คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

มลภัคน์ กล่ำรักษ์, คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

สุรีย์พร แสงวงศ์, คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

References

Department of Livestock Development. Beef Cattle Strategy 2012-2016. Bureau of Livestock Promotion and Development, Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. National animal husbandry information for the year 2020 [Internet]. Available from: http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/340-report-thailand-livestock/reportservey2563/1504-2563-country

Sonsir K, Intawicha P, Saengwong S, Phumsaranakhom P, Dongpaleethun C. Raising condition and SWOT analysis for a premium grade beef production in Phayao and Phrae province. Khon Kaen Agr. J. 2020; 48(1):93-104.

Opaspattanakit Y, Setthakul J. Production and marketing status of cattle meat in Thailand. A complete report on the project on the status of production and marketing of beef cattle in Thailand. Research Fund Office, Bangkok. 2005.

Chainam J, Supakijjanon T, Kiratikarnkul B, Patanawong W, Opaspattanakit Y. Trading conditions of live cattle at the cattle-buffalo market in Chiang Mai and Lamphun Province. Research Fund Office, Bangkok. 2014.

Office of Agricultural Economics. import and export of cattle; 2020 [Internet]. Available from: http://mis-app.oae.go.th/product

Saengwong S, Thannithi W, Wichaporn J, Intawicha P. Beef Cattle Production, Management and Supply Chain in Chiang Rai Province. Thai Science and Technology Journal. 2020; 28(8):1403-1414.

Yenchai D, Intharit P. Study of cattle raising conditions and the need to promote beef cattle raising of farmers in Nikhom Phatthana District, Rayong Province. 2015.

Nukreaw R, Phunsoda J. The Study on Situation of Native Beef Cattle Raising and Satisfaction of Farmers in Samutsongkram Province. Samutsongkram Province Livestock Office Muang Samutsongkram Province. 2013; 55(2)-0216(7):1-21.

Saengwong S, Thannithi W, Wichaporn J, Intawicha P. Producing Quality Beef from Cattle in Phrae Province: An Assessment of the Conditions, Problems, and Opportunities. King Mongkut’s Agr. J. 2020; 38(2):254-262.

Phothong T, Prayoonwiwat W, Ngoiphala N. Need for Extension on Beef Cattle Raising of Farmers in Plaengyao, Phanomsarakam, Sanamchaiket and Thatakieb Districts, Chachoengsao Province. Chachoengsao Province Livestock Office, Muang District, Chachoengsao Province. 2014.

Pakeechay K, Wattanachant C, Angkulasearanee T. Marketing Channelsof Beef Cattle inthe LowerSouthern Regionof Thailand. Kasetsart. J. 2014; 35(2):312-325.

Intawicha P, Krueasan S, Kheanwang S, Thanee T, Tana S, Sorachakula C, et al. Condition of Raising Beef Cows and Farmer Satisfaction in Muang Mae Chai, Dok Khamtai and Phukhamyao Districts of Phayao Province. Journal of Agr. Research&Extension. 2017; 33(3):26-34.

Jung-in C, Suebsunthorn S. Study the guidelines for the development of beef cattle raising potential of farmers in Sisaket Province to support the stepping into the ASEAN Economic Community. 2015.

แสดงปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนทั้งสองกลุ่ม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28