การเปรียบเทียบอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้อง ณ โรงพยาบาลพะเยา

ผู้แต่ง

  • สันติสุข พรหมเดช นิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา
  • อรวรรณ วงศ์สมบัติ นิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา
  • ญาณาธิป หมื่นแก้ว นิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา
  • บัณฑิตา สัสดีแพง นิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา
  • กันต์ธีทัต ตันประดิษฐ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา
  • ณัฐ นาเอก สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การล้างไตทางช่องท้อง, อัตราการรอดชีพ, การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการบำบัดทดแทนไตกับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตครั้งแรก ณ โรงพยาบาลพะเยา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และคงวิธีการบำบัดทดแทนไตเดิมตลอดระยะเวลาการติดตาม จากนั้นติดตามการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และวิเคราะห์อัตรารอดชีพระหว่างกลุ่มที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและกลุ่มที่ล้างไตทางช่องท้องโดยการสร้างกราฟ Kaplan-Meier ทดสอบความแตกต่างของอัตราการรอดชีพระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ log-rank นอกจากนี้ยังทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบำบัดทดแทนไตกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุด้วยสถิติ Cox regression ที่ปรับด้วยปัจจัยรบกวน ได้แก่ เพศ อายุ สิทธิการรักษา การมีโรคร่วม (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ) การทำงานของไต และระดับฮีมาโตคริต และแบ่งอันตรภาคชั้นด้วยโรคไขมันในเลือดสูง ผลการศึกษาพบว่าในผู้ที่เริ่มได้รับการบำบัดทดแทนไต 115 คน ภายหลังการติดตามเป็นเวลามัธยฐาน 35 เดือน 21 วัน มีผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 58 คน (50.4%) ค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีพในผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (59 เดือน 21 วัน) สูงกว่ากลุ่มที่ล้างไตทางช่องท้อง (32 เดือน 18 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .007) นอกจากนี้กลุ่มที่ล้างไตทางช่องท้องยังสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยมีค่า adjusted hazard ratio (adjusted HR) เท่ากับ 2.54 (95% CI; 1.28 ถึง 5.05, P = .008) โดยพบว่าโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่สำคัญ ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (adjusted HR 7.96 [95% CI: 1.67 ถึง 37.84], P-value for interaction = .041) ถึงแม้ว่างานวิจัยนี้จะไม่สามารถใช้อนุมานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ แต่อาจนำไปสู่การเฝ้าติดตามผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง รวมทั้งนำไปสู่การศึกษาในอนาคตที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีพให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวต่อไป

References

Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Epidemiology and review of preventive measures for chronic kidney disease. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2022.

The Neprohology Society of Thailand. Thailand renal replacement therapy year 2020 [Internet]. [cited 2023 Mar 3]. Available from: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf.

Jitraknatee J. The result of peritoneal dialysis in Fang hospital. Lanna Public Health Journal 2015;11(2):8-17.

Health data center. The number of chronic kidney disease patients receiving services at the hospital classified by stage (workload), Phayao province, fiscal year 2022 [Internet]. [cited 2023 Mar 3]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce &id=47a33f6886e36962dec4bb578819ba64#.

Pudeebut K, Kamsa-ard S, Oradee O. Survival rates for patients with end-stage renal disease receiving renal replacement therapy at Yangtalat hospital, Kalasin province, Thailand. Srinagarind medical journal. 2022;37(1):49-55.

Chotsenee P. Current renal replacement therapy [Internet]. The Nephrology Society of Thailand; 2020 [cited 2023 Mar 3]. Available from: https://www.nephrothai.org.

Chongthanakorn K. Survival rate of renal replacement therapy patients in Charoenkrung Pracharak hospital. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine. 2018;62(1):9-20.

Kim H, Kim KH, Park K, Kang S-W, Yoo T-H, Ahn SV, et al. A population-based approach indicates an overall higher patient mortality with peritoneal dialysis compared to hemodialysis in Korea. Kidney Int. 2014;86(5):991-1000.

Guzman-Ventura W, Caballero-Alvarado J. Survival of patients on chronic hemodialysis versus chronic peritoneal dialysis. Rev Peru Med Exp Salud Publica. 2022;39:161-9.

Malone HE, Nicholl H, Coyne I. Fundamentals of estimating sample size. Nurse Res. 2016;23(5):21-5.

Srina J, Adisuksodsai D. Survival rate and factor affect mortality in peritoneal dialysis patients, Chumphea hospital. Nakhonphanom Hospital Journal. 2019;6(2):36-45.

Xue J, Li H, Zhou Q, Wen S, Zhou Q, Chen W. Comparison of peritoneal dialysis with hemodialysis on survival of diabetic patients with end-stage kidney disease: a meta-analysis of cohort studies. Ren Fail. 2019;41(1):521-31.

Ngaoratsamee J, Sroisong S. Nursing Care for End Stage Renal Disease Patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis. Journal of nursing and health sciences. 2021;15(1):28-41.

Itarat P. Nursing care of end stage renal failure with infected continuous ambulatory peritoneal dialysis patient: case study 2 case. Mahasarakham Hospital Journal 2018;15(2):95-110.

Isla RAT, Mapiye D, Swanepoel CR, Rozumyk N, Hubahib JE, Okpechi IG. Continuous ambulatory peritoneal dialysis in Limpopo province, South Africa: predictors of patient and technique survival. Perit Dial Int. 2014;34(5):518-25.

Vathesatogkit P, Batty GD, Woodward M. Socioeconomic disadvantage and disease-specific mortality in Asia: systematic review with meta-analysis of population-based cohort studies. J Epidemiol Community Health. 2014;68(4):375-83.

รูป 1 แผนผังการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18