ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติเรื่องการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ ต่ออัตราการเกิดปลายเข็มอุดตัน งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษเฉพาะทาง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ขัดอโมงค์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อธิษฐาน สุมาลย์เจริญ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมพิลา ศิริปัน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อมรพรรณ วรรณวิไลย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ยุพาวรรณ สิงห์สุภา พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เพชรา นำปูนศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การล้างและหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ, การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนหลอดเลือดดำ, ปลายเข็มอุดตัน

บทคัดย่อ

การอุดตันบริเวณปลายเข็มเป็นปัญหาที่สำคัญของการคาเข็มฉีดยาชนิดล๊อคด้วย injection port การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อศึกษาผลของการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำของพยาบาล ต่ออัตราการปฏิบัติและอัตราการเกิดปลายเข็มอุดตันก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติเรื่องการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำของพยาบาล ในงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษเฉพาะทาง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2564  – 28 กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการคาเข็มฉีดยาชนิด  ล๊อคด้วย injection port เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ แบบวัดความรู้เรื่องการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ และแบบบันทึกการเกิดปลายเข็มอุดตัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบการปฏิบัติและอัตราการเกิดปลายเข็มอุดตันก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติ โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และเปรียบเทียบคะแนนความรู้ของพยาบาล ก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติโดยใช้สถิติ  t test Wilcoxon Matched- Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า หลังการส่งเสริมการปฏิบัติเรื่องการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ คะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การปฏิบัติหลังการส่งเสริม เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 74.66  เป็น ร้อยละ 95.33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และอัตราการเกิดปลายเข็มอุดตันลดลงจากร้อยละ 6.90  เป็น ร้อยละ 3.67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการคาเข็มฉีดยาชนิดล๊อคด้วย injection port โดยวิธีการล้างและการหล่อสายสวนหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการเกิดปลายเข็มอุดตัน ต้องใช้หลายกลยุทธ์ ร่วมกับมีการนิเทศและติดตามการปฏิบัติของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : การล้างและหล่อสายสวนหลอดเลือดดำ, การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนหลอดเลือดดำ, ปลายเข็มอุดตัน

References

Hadaway L. Flushing to reduce central catheter occlusions. Nursing. 2000; 30(10): 74. doi:10.1097/00152193-200030100-00037.

Gorski L, Hadaway L, Hagle M, McGoldrick M, Orr M, Doellman D. Infusion therapy standards of practice. JIN. 2016; 39(1S): 159.

Infusion Nurse Network of Thailand (INNT). Nursing guidelines for patients receiving intravenous fluids.1st ed. Bangkok: Pre-one; 2018.1-50.

Ferroni A, Gaudin F, Guiffant G, et al. Pulsative flushing as a strategy to prevent bacterial colonization of vascular access devices. Med Devices (Auckl). 2014; 7: 379-383. Published 2014 Nov 7. doi:10.2147/MDER.S71217.

Kongvivegkhachornkij W, Pookboonmee R. A research utilization project: using evidence-based for development of clinical nursing practice guideline for prevention of blood clotting in peripheral intravenous lock in pediatric patients. Rama Nurs J. 2004; 12(3): 239-254.

Moureau NL. Safe patient care when using vascular access devices. Br J Nurs. 2013; 22(1): 14–21.

Bunce M. Troubleshooting central lines. RN. 2003; 66(12): 28-33.

Keogh S, Flynn J, Marsh N, Mihala G, Davies K, Rickard C. Varied flushing frequency and volume to prevent peripheral intravenous catheter failure: a pilot, factorial randomised controlled trial in adult medical-surgical hospital patients. Trials. 2016; 17(1): 348. doi:10.1186/s13063-016-1470-6.

Sona C, Prentice D, Schallom L. National survey of central venous catheter flushing in the intensive care unit. Critical Care Nurse. 2012; 32(1): 12–19. doi: 10.4037/ccn2012296.

The RCN IV Therapy Forum. Standards for Infusion Therapy. 3rd ed. London: Royal College of Nursing; 2010: 94s. [ISBN 978-1-906633-19-6].

Slovensky DJ, Paustian PE. Training the adult learner in health care organizations. In: Spath PL, (Eds). Guide to effective staff development in health care organizations. New York: The Jossey-Bass; 2002: 100-4.

Picheansathian W, Dumrongkullachat D, Wongsaen R, Kaveevon T, Koonna A, Netsawang P. Promoting evidence-based practices among nursing the management of peripheral intravascular devices. Nursing Jurnal. 2014; 41:71-87.

Prompriang P, Chitreecheur J, Boonchuang P. Effects of evidence-based practice promotion for infection prevention on knowledge and practices among nurses and incidence of peripheral intravenous infection in a community hospital. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 7 [cited 2024 Feb. 19]; 24(3): 31. Available from:https://he02.tcithaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2574.

Prompitakkul J, Eungaraam W, Juangpanich U, Simajareuk K, Tangtrakul S, Buranapiyawong L. Development of clinical nursing practice guideline : prevention blood clotted of intravenous peripheral normal saline lock. Journal of Nursing Science & Health. 2010; 33(1): 62-68.

Sripromma P, Sukthongsa D. Caring for patients with bloodstream infections from insertion of a central venous catheter: a case study. VNJ. 2019; 21(2): 88-98.

Hadaway, Lynn.Flushing vascular access catheters: risks for infection transmission. Infection Control Resource. 2007: 1-8.

Goossens, G. A. Review Article: Flushing and locking of venous catheters: available evidence and evidence deficit. JNPR. 2015: 1-12.

Zhu L, Liu H, Wang R, Yu Y, Zheng F, Yin J. Mechanism of pulsatile flushing technique for saline injection via a peripheral intravenous catheter. Clinical Biomechanics. 2020; 80: 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30