พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ภคิน ไชยช่วย

ผู้แต่ง

  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0000-0002-9288-9286
  • ปิยะณัฐฎ์ จันทวารีย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3) แบบวัดการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก 4) แบบวัดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก 5) แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพช่องปาก 6) แบบวัดทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพช่องปาก และ 7) แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือเท่ากับ 1.00, 0.94, 0.96, 0.94, 0.95, 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นของความรู้ (KR - 20) เท่ากับ 0.97 ส่วนแบบวัดที่ 3 ถึง 7 ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.84, 0.76, 0.82, 0.77 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ chi-square และ Fisher's exact test ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.97, S.D. = 0.57) ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (M = 10.19, S.D. = 2.70) การรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง(M = 3.31, S.D. = 0.68)ความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.05,S.D. = 0.59) แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.12,S.D. = 0.58) ทัศนคติและความเชื่อการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง (M = 3.85,S.D. = 0.53 2) ปัจจัยความสัมพันธ์ พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และการได้รับอินซูลิน ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก และทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ส่วนความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก แรงสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มอายุของผู้ป่วยเบาหวาน การมีความรู้ความเข้าใจสุขภาพช่องปาก การรับรู้ถึงปัญหาช่องปาก และการมีทัศนคติ ความเชื่อที่ดี ย่อมมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดี

References

Ashoori, F., Karimi, M., Mokarami, H., & Seif, M. (2020). Using health belief model to predict oral health behaviors in girl students: A structural equation modeling. Pediatric Dental Journal, 30(1), 24 - 32. https://www.sciencedirect.com/journal/pediatric-dental-journal

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). Prentice Hall.

Bhatia, M. R., Malhotra, A., Bansal, U., Singh, J. V., & Kumar, A. (2023). Using the Endsley model to evaluate simulation-based situation awareness training for medical and nursing students in India: a qualitative analysis. Simulation in Healthcare, 18(4), 247 - 254. http://doi.org/10. 1097/SIH.000000000 0000677

Bloom, B. S. (1956, January 25). Taxonomy of Educational Objectives. https://teaching.uic.edu /blooms-taxonomy-of-educational-objectives/

Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation. McGaw-Hill.

Busabong, T., Kajonkiattisakul, S., Nammontri, O., & Butkhot, J. (2020). Attitudes, self-efficacy and oral health care behaviors of monks in the district. Phu Wiang District Khon Kaen Province. Dental care journal, 31(2), 77 - 89.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Report On the Situation of NCDs, Diabetes, and High Blood Pressure. and Related Risk Factors 2019, Graphic Font and Design.

Gibson, E. J., & Pick, A. D. (2000). An ecological approach to perceptual learning and development. Oxford University Press.

Jirawatkul, A. (2015). Scientific statistics. Health for research. Witthayapat Publisher.

Kaewkhantee, D. (2003). Knowledge about diabetes and oral health. Thai Dental Public Health Journal, 8(1-2), 78 - 93. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/213035

Kongsri, S., & & Sri Sa-at, S. (2018). Components of health literacy in oral health care of the elderly. Khon Kaen Province. Dental care journal. 29(2), 55 - 68. https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/TDNJ/article/view/149945

Maleelai, K., Jaimon, J., Nakharangsu, P., Panlao, A., Boonsu, T., & Panabut, N. (2022). Factors Related to Oral Health Care Behavior of the Elderly at Sa Saming Sub-District, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Health Science of Thailand, 31(3), 437 – 446. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12328

Munthep, P. (2009). Oral hygiene care of type 2 diabetes mellitus patients in Samran Primary Care Unit Maung District Khonkaen Province [Master 's thesis]. Khon Kaen University. https://shorturl.asia/BycL2

Niyomthai, M., & Kumson, S. (2021). Factors affecting dental health behavior of type 2 diabetic patients who receive services at Plak Raet Subdistrict Health Promoting Hospital, Bang Rakam District, Phitsanulok Province. Thai Science and Technology Journal. 29(1), 168 - 179. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/220805

Phukrod, N, (2010). Oral Health care Behavior of People in Yala Province [Master 's thesis]. Yala Rajabhat University. https://shorturl.asia/Vl8ni

Saenwong, A. (2016). Relationship between knowledge, attitude, and oral health care practices of diabetic patients. Who come to receive chronic disease clinic services in Nong Kung Subdistrict Health Promoting Hospital, Non-Khun District, Sisaket Province. (Research Report). NonKhun District Public Health Office.

Sena, T., & Phoam, A. (2018). Knowledge and attitude associated with dental health care behavior among type II diabetes mellitus patients at Sirattana hospital, Sisaket province. Journal of Health Science and Community Public Health, 1(1), 106–117. https://he01.tci-thaijo.org/ index.php/jhscph/article/view/197791

Sridawruang, C., Worawong, C., Sriyasak, A., Howharn, C., & Manassatchakun, P. (2020). Relationships between Knowledge, Attitude, and Behavior toward Food Consumption and Physical Exercises among Rural Overweight Middle-Aged Adults. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(35), 464 – 482. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ RHPC9Journal/article/view/245362

Thamrongvongsawas, T. (2020). The Relationship between Dental Health Care Behaviors of Guardians and Dental Caries of Preschool Children in Pak Thong Chai District. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(33), 071–087. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ RHPC9Journal/article/view/242408

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14