ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

บุญทิวา ชาติชำนิ
สมศักดิ์ ระยัน
สุกัญญา คำหล้า
อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 ถึง เดือนตุลาคม 2557 พบแมลงน้ำ4 อันดับ 8 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Dytiscidae Baetiscidae Belostomatidae Hydrometridae Nepidae Coenagrionidae Gomphidae และ Libellulidae ความชุกชุมของแมลงน้ำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100.94 ± 108.01 ตัวต่อตารางเมตร ความหลากชนิดและ ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ± 1.53 และ 0.94 ± 0.25 ตามลำดับ โดยความชุกชุมและ ความหลากชนิดของแมลงน้ำในฤดูกาลที่สำรวจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) จากการวิเคราะห์ องค์ประกอบหลัก การกระจายตัวของแมลงน้ำแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พบการกระจายตัวของแมลงน้ำเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ 1 เป็นแมลงน้ำที่แพร่กระจายช่วงฤดูหนาวในสถานีที่ 1 ได้แก่ ด้วงน้ำ(DYSP) แมลงดาเล็ก (BESP) จิงโจ้น้ำ(GESP) และตัวอ่อนแมลงปอเข็ม (ARSP) โดยมีลักษณะการแพร่กระจายไปในทิศทางเดียวกับความชุกชุม และกลุ่มที่ 2 เป็นแมลงน้ำที่มีการแพร่กระจายในช่วงฤดูร้อนในสถานีที่ 5 ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน (LISP) ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน (HASP) มวนน้ำหางยาว (RASP) และตัวอ่อนแมลงชีปะขาว (EPSP) โดยมีลักษณะการแพร่กระจายสัมพันธ์ไปในทิศทาง เดียวกับความหลากชนิด ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ อุณหภูมิของน้ำและค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ

Article Details

How to Cite
ชาติชำนิ บ. . . ., ระยัน ส. . . . . ., คำหล้า ส. . . . . ., & รังสิวิวัฒน์ อ. . . . . . (2020). ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร . วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 13(2), 58–67. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal2rmutto/article/view/248435
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

บุญทิวา ชาติชำนิ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร 47160

 

สมศักดิ์ ระยัน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร 47160

 

สุกัญญา คำหล้า, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร 47160

 

อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร 47160

 

References

[1]Abel, P.D. 1989. Water pollution biology. Ellis Horwood, Chichester, England.
[2]APHA. AWWA. WEF. 1998. Standard Method for the Examination for Water and Watsewater. 20th ed. Washington, DC. American Public Health Association.
[3]Chaisri, K., Kunpradid, T., Peerapornpisal, Y. and Phalaraksh, C. 2009. Distribution of Aquatic Insects in Lao River, Chiang Rai Province. Journal of Fisheries Technology Research. 3(1): 161-172. (in Thai)
[4]Clarke, K.R. and Warwick. R.M. 1994. Change in Marine Communities; an approach to statistical analysis and interpretation. Plymouth, Plymouth Marine Laboratory.
[5]Dudgeon, D. 1999. Tropical Asian stream: Zoobenthods, Ecology and conservation. Hong Kong University Press. Hong Kong.
[6]McCafferty, W.P. and Provonsha, A.V. 1981. Aquatics entomology. Boston. Jones and Bartlett Publishers Inc. Boston.
[7]Meteorological Department. 2020. Climate of Thailand. [online]. http://www.tmd.go.th/info/info.php? FileID=53. Accessed 15 May 2020.
[8]Minewang, N., Phayakkha, A. and Prommi, T. 2012. An application of aquatic insects as bioindicators of water quality in Mae Tao creek, Mae Sot District, Tak Province. SDU Res. J. 5(2): 113-123. (in Thai)
[9]Ngamsnae, P. 2011. Monitoring and bio-indicators for assessment of freshwater ecosystems. Department of Fisheries. Faculty of Agriculture. Ubon Ratchathani University. (in Thai)
[10]Pennak, R. W. 1953. Fresh Water Invertebrate of The United States. Library of Congress Catalog Card Number : 52-12522.
[11]Prommi, T. 2011. Biodiversity and community structure of aquatic insects in permanent freshwater. Veridian E-Journal SU. 4: 917-930. (in Thai)
[12]Rattanaboontha, J. and Sangpradub, N. 2010. Species diversity and distribution of Odonate larvae in Pong River. KKU Res J. (Graduate Studies) 10 (3): 1-6. (in Thai)
[13]R Development Core Team. 2009. R: A language and environment for statistical computing. Vienna, Austria: R Foundation for Statistical Computing.
[14]Richards, C., Host, G.H. and Arthur, A.W. 1993. Identification of Predominant Environmental Factors Structuring Stream Macroinvertebrate Communities Within a Large Agricultural Catchment. Freshwater Biology. 29: 285-294.
[15]Sangpradub, N. 2005. Document for teaching 311780 aquatic insects. Department of Biology, Faculty of Science, Khon Kaen University. (in Thai)
[16]Sangpradub, N., Inmoung, Y. Hanjavanit, C. and Inmoung, U. 1998. A Correlation study between freshwater benthic macroinvertebrate fauna and environmental quality factor in Nam Pong basin Thailand part III. A research report to the Thailand research fund. (in Thai)
[17]Sangpradub, N. and Boonsoong, B. 2006. Identification of Freshwater Invertebrate of the Mekong River and its Tributaries. Mekong River Commission, Vientiane.
[18]Slavevska-Stamenkovic, V., Stafilov, T., Smiljkov, S., Paunovic, M. and Hristovski, S. 2009. Quality of water of Mantovo reservoir (Republic of Macedonia). Arch.Biol. Sci., Belgrade. 61(3): 501-512.
[19]Soontornprasit, K. 2012. Use of Aquatic Insects as Bioindicators of Water quality in Kwan Phayao, Phayao Province. Journal of Community Development Research. 5: 15-24. (in Thai)
[20]Soontornprasit, K. Valunpion, S. and Pithakpol, S. 2013. Biodiversity of aquatic insect in Ing river. Khon Kaen Agr. J. 41 (Suppl1): 142-148. (in Thai)
[21]Thanee, I. 2014. Use of Benthic Macroinvertebrates for Biological Monitoring. SDU Res. J. 7: 125-138. (in Thai)
[22]Yule, C. M. and Sen, Y. M. 2004. Freshwater invertebrates of the Malaysian region. Aura productions Sdn. Bhd. Selangor, Malaysia.