การพยากรณ์ความสูงของบุคคลจากระยะก้าวเดินปกติและเดินเขย่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงและระยะก้าวเดินปกติและเดินเขย่ง และสร้างสมการพยากรณ์ความสูงจากระยะก้าวเดินปกติและเดินเขย่ง และ 2) วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระยะก้าวเดินปกติและระยะก้าวเดินเขย่ง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 173 คน เก็บข้อมูลโดยทำการวัดระยะก้าวเดินปกติและเดินเขย่ง และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะก้าวเดินปกติในกลุ่มตัวอย่าง มีค่า r=0.953 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 90.8 มีสมการเป็น y=110.241+0.978x เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ในเพศหญิง มีค่า r=0.975 ในเพศชาย มีค่า r=0.948 และระยะก้าวเดินเขย่งในกลุ่มตัวอย่าง มีค่า r=0.880 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 77.5 มีสมการเป็น y=114.738+0.880x เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ในเพศหญิง มีค่า r=0.811 ในเพศชาย มีค่า r=0.852 และ 2) ในกลุ่มตัวอย่าง ระยะก้าวเดินเขย่งมีค่าเฉลี่ยมากกว่าระยะก้าวเดินปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยค่าเฉลี่ยของระยะก้าวเดินปกติ =55.736 ระยะก้าวเดินเขย่ง =56.848 และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ในเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยของระยะก้าวเดินปกติ =52.598 ระยะก้าวเดินเขย่ง =53.381 ในเพศชาย มีค่าเฉลี่ยของระยะก้าวเดินปกติ = 59.225 ระยะก้าวเดินเขย่ง =60.692
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Dennis E Hinkle. 1998. Applied Statistics for the Behavior Sciences. New York: Houghton Mifflin.
Kheawpum, O. 2020. Estimation of Stature of Person from Shoe Step Length. Master's degree in forensic science
program. Graduate school. Silpakorn University. (in Thai)
Khonwi, c. 2017. criminal problems in thai society. Saeng Isan Academic Journal. 14. (in Thai)
Matjačić, Z., et al. 2006. Biomechanical characterization and clinical implications of artificially induced toe-walking:
differences between pure soleus, pure gastrocnemius and combination of soleus and gastrocnemius contractures. Journal of Biomechanics, 39(2), 255-266.
Nammungkun, P. 2020. Estimating the Height of a Person From the Length of Normal Gait Pattern. Dusit Thani
College Journal, 16. (in Thai)
Pangsorn, A. 2018. Identification. Retrieved from http://med.swu.ac.th/forensic/images/AP_identification(new)%
_60.pdf. (in Thai). Accessed 12 Feb. 2022.
Perry, J., et al. 2003. Toe walking: Muscular Demands at the Ankle and Knee. Archives of physical medicine and
rehabilitation, 84(1), 7-16.
Ramakant Khazania. 1996. Statistics in a World of Applications. New York, USA: HarperCollins College Publisher.
Sorumlu Yazae. 2019. Height Estimation from the Step Length at Different Walking Speed. Antropoloji, 31-36.
Ugochukwu, E. G., et al. 2021. Estimation of stature from stride length and lower limb length of efiks in calabar
South, Cross River State, South-South Nigeria. Journal of The Anatomical Society of India, 70(4), 216.
Wittayarungroj, P. 2019. The Relationships between Stature and Walking Stride Length for Personal Classification
using the WinFDM Software. Master’s degree in Faculty of Science and Technology. Graduate school. Suansunandha Rajabhat University, (in Thai)