การคาดคะเนความสูงของบุคคลจากระยะก้าวเดิน

Main Article Content

อรทัย เขียวพุ่ม
ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี
ปิยาภา จันทร์มล

บทคัดย่อ

รอยรองเท้าหรือร่องรอยการก้าวเดินเป็นหลักฐานโดดเด่น และมีรูปแบบที่ชัดเจนซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่มักปรากฏในสถานที่เกิดเหตุ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดคะเนความสูงจากระยะก้าวเดินของการเดินแบบปกติ ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของบุคคลกับระยะก้าวเดินคำนวณได้จากการใช้สถิติ Karl Pearson’s correlation analysis ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการวัดระยะก้าวเดินและความสูงของกลุ่มประชากรตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวน 200 คน มีช่วงอายุระหว่าง 15 – 35 ปี โดยใช้วิธีมาตรฐาน จากการทดลองพบว่าในกลุ่มตัวอย่างเพศชายมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 176.43 ± 5.58 เซนติเมตร และเพศหญิงจะมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 164.21 ± 5.89 เซนติเมตร จากการวัดระยะก้าวเดินของเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 60.25 ± 11.57 เซนติเมตร และ 56.52 ± 5.45 เซนติเมตรตามลำดับ ในกรณีของเพศชายพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับระยะก้าวอยู่ในระดับดี (r=0.9027) มีสมการความสัมพันธ์ คือ y=150.07+0.4355x เมื่อ y แทนความสูง และ x แทนระยะก้าวเดิน ตัวแปรทั้งสองจะวัดในหน่วยเซนติเมตร ในขณะที่เพศหญิงมีความสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับระยะก้าวอยู่ในระดับที่ดีมาก (r= 0.9542) และมีสมการคาดคะเน y=105.93+1.0311x ซึ่งสมการที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้คาดคะเนความสูงจากระยะก้าวเดินได้ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้

Article Details

How to Cite
เขียวพุ่ม อ., ชูสกุลเกรียง ศ., ศุภลักษณ์นารี ศ., & จันทร์มล ป. (2020). การคาดคะเนความสูงของบุคคลจากระยะก้าวเดิน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 13(1), 30–37. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal2rmutto/article/view/242528
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อรทัย เขียวพุ่ม, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปิยาภา จันทร์มล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

Chooluck S. and W. Jankangram. 2017. Reviewed History of Forensic Science. KKU. Sci. J. 45(3) : 675-689. (in Thai)

Dangieen D. 2011. Estimation of stature from step length while walking. Master’s degree in forensic science program. Graduate school. Silpakorn University. (in Thai)

Jasuja O.P., J. Singh, and M. Jain. 1997. Estimation of stature from stride length while walking fast. Forensic Sci. Int. 86: 181-186.

Kowkerd W. 2011. Estimation of stature and sex from footprint in Thailand: a case study of Uttaradit and Phrae province. Master’s degree in forensic science program. Graduate school. Silpakorn University. (in Thai)

Neves B. F., P. G. Arnold, S. Nasir, W. Wang, C. MacDonald, I. Christie and J. R. Abboud. 2018. Establishing state of motion through two-dimensional foot and shoeprint analysis: A pilot study. Forensic Sci. Int. 284: 176-183

Ozden H., Y. Balci, C., A. Turgut and M Ertugrul. 2005. Stature and sex estimate using foot and shoe dimensions. Forensic Sci. Int. 147: 181-184.

Raju G. M., V. Vijayanath and M.R. Anitha. 2012. Estimation of Stature from Shoe Print Length While Walking In Females. J Indian Acad Forensic Med 34: 288-291

Reel S., S. Rouse, W. Vernon and P. Doherty. 2012. Estimation of stature from static and dynamic footprints. Forensic Sci. Int. 219: 283.e1–283.e5

Wuttirakrungsan A., S. Duangchit. 2010. Forensic anthropology application for stature estimation from footprints in the North and lower Northern part of Thailand. Journal of Forensic Medicine. 3(1): 5-14. (in Thai)

Zeybek G, I. Ergur and Z. Demiroglu. 2008. Stature and gender estimation using foot measurements. Forensic Sci. Int. 181 (1-3): 54e1-5.