ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาหลังประทับลายนิ้วมือกับจุดลักษณะสำคัญพิเศษของ รอยลายนิ้วมือแฝงบนถุงพลาสติกซิปล็อค ด้วยวิธีการปัดผงฝุ่นดำ และ Cyanoacrylate

Main Article Content

กมลรส ลีลิตธรรม
นพรุจ ศักดิ์สิริ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝงบนถุงพลาสติกซิปล็อคด้วยวิธีผงฝุ่นดำ และ Cyanoacrylate 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาหลังประทับลายนิ้วมือกับจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝงด้วยวิธีผงฝุ่นดำ และ Cyanoacrylate และสร้างสมการพยากรณ์ระยะเวลากับจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝง โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการทดลอง Static-Group Comparison ด้วยการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนถุงพลาสติกซิปล็อคที่ระยะเวลาหลังประทับลายนิ้วมือที่ 0,1,2,3,4,5,6,7,14,21 และ 28 วัน โดยวิธีการตรวจเก็บจำนวน 2 วิธี ได้แก่ วิธีการปัดผงฝุ่นดำ และ Cyanoacrylate ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น


        ผลการวิจัยพบว่า 1) การเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนถุงพลาสติกซิปล็อคด้วยวิธีการปัดผงฝุ่นดำสามารถตรวจเก็บจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษได้มากกว่า Cyanoacrylate อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากวิธีการปัดผงฝุ่นดำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 53.64 จุด และจาก Cyanoacrylate มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.00 จุด 2) การเก็บด้วยวิธีการปัดผงฝุ่นดำ ที่ 0-28 วัน มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก(r = 0.990) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 98.0 มีสมการเป็น y = 30.535 – 0.415x  ในส่วนCyanoacrylate ที่ 0-28 วัน มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูง (r= 0.894) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 80.0 มีสมการเป็น y = 54.437 – 1.503x และเมื่อทำการแยกวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกที่ 0-14 วัน มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก (r= 0.941) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 88.5 มีสมการเป็น y = 19.261 – 0.313x ในส่วนหลังที่ 14-28 วัน มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก (r= 0.998) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 99.6 มีสมการเป็นy = 91.230 – 3.098x

Article Details

How to Cite
ลีลิตธรรม ก., & ศักดิ์สิริ น. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาหลังประทับลายนิ้วมือกับจุดลักษณะสำคัญพิเศษของ รอยลายนิ้วมือแฝงบนถุงพลาสติกซิปล็อค ด้วยวิธีการปัดผงฝุ่นดำ และ Cyanoacrylate. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2565(2), 19–28. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal2rmutto/article/view/254218
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กมลรส ลีลิตธรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

นพรุจ ศักดิ์สิริ, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คณะสังคมศาสตร์

References

Adelila, S. 2018. Comparison between latent fingerprint identification using black powder and cyanoacrylate glue. Asian Journal of Chemistry, 30(12), 2615-2620.

Aroonsangthong, A. 2020. The Comparative Study of the Appearance of Latent Fingerprint on Leather by Using Superglue Method, Faculty of Forensic Science, Royal Police Cadet Academy. (in Thai)

Cadd, S. 2015. Fingerprint composition and aging: A literature review. Science & Justice, 55(4),219-238.

Hinkle, D.E. 1998. Correlation: A measure of relationship. Applied statistics for the behavioral sciences, 4(1), 105-131.

Pahade, N.K. 2015. A literature on development of latent fingerprint by small particle reagent. The International Journal of Science and Techno ledge, 3(5), 105.

Paramakul, E. 2018. The Experimental Study of Latent Fingerprints’Stability on Black Garbage bag (Thin type) by Superglue Fuming and Rhodamine-6G Dyeing, Master of Science Program in Forensic Science graduate School, Suansunandha Rajabhat University. (in Thai)

Wongsongja, N. 2019. Comparison of stability latent fingerprint on plastic. International Academic Multidisciplinary Research Conference in Amsterdam 2019.

Yamashita, B. 2010. Fingerprint Sourcebook-Chapter 7: Latent Print Development. In: US Dept. of Justice, Office of Justice Programs, National Institute of Justice.