การปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น

Main Article Content

ศศิธร ศรีเฟื่องฟุ้ง
สุธีวัน โล่ห์สุวรรณ
ปฏิภาณ จันลือ
อนงค์ศิริ เสาร์แก้ว
ภูวดล ภู่ศิริ
อุษณีย์ มิ่งวิมล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ศึกษาหาตัวแปรการออกแบบภูมิทัศน์ที่ทำให้สภาพอากาศบริเวณรอบอาคาร ในระดับสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่ (Micro-climate) ที่จะทำให้สภาพอากาศเย็นลง หรือเพื่อให้ใกล้เคียงกับเขตสบายมากขึ้น งานวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่บริเวณหน้าอาคารเทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่งานวิจัยโครงการศึกษาต้นแบบห้องพักพลังงานแสงอาทิตย์ งานวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่โดยรอบที่มีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศเหมือนกัน แต่มีการจัดภูมิทัศน์แตกต่างกัน กำหนดพื้นที่ทำการวิจัย 4 ตำแหน่ง คือ 1. บริเวณเหนือลานคอนกรีต 2. บริเวณเหนือสนามหญ้า 3.บริเวณจัดภูมิทัศน์ต้นไม้แบบป่าโปร่ง ใกล้บ่อน้ำ และ 4. บริเวณจัดภูมิทัศน์ต้นไม้แบบป่าทึบ ใกล้บ่อน้ำ ทำการตรวจสอบอุณหภูมิ และความชื้น โดยติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ UNI-T A12T temperature Humidity Meter ทั้ง 4 จุด เหนือพื้นที่ใช้งานนั้นในระดับ 1.40 เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลาติดต่อกัน 4 วัน จากการทดลองพบว่า ตัวแปรที่ทำให้สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน คือ 1.ผิวพื้นคอนกรีตและหญ้า สะสมความร้อนแตกต่างกัน 2. ร่มเงา พื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่จัดสวนแบบป่าโปร่งและป่าทึบ พื้นผิวอยู่ใต้ร่มไม้ แสงแดดถูกสกัดกั้นจากพุ่มใบ ทำให้ผิวพื้นไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง และ 3. การเพิ่มความเย็นจากการระเหยของน้ำ (Evaporative cooling) ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมที่เย็นที่สุด คือ สภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้บดบังและแสงแดดตกลงกระทบพื้นผิวด้านล่างน้อย และในงานวิจัยนี้ได้ทำการเพิ่มการระเหยของน้ำให้กับบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่าอิทธิพลจากการระเหยของน้ำในบริเวณการจัดภูมิทัศน์แบบป่าโปร่งที่มีพุ่มใบไม่หนาทึบและใกล้บ่อน้ำ พบว่ามีอุณหภูมิเย็นกว่า บริเวณที่มีการจัดภูมิทัศน์แบบป่าทึบพุ่มใบหนาทึบ และยังพบอีกว่า บริเวณอาคารทดลองมีอุณหภูมิอากาศต่ำกว่าบริเวณอากาศ 4 องศาในช่วงร้อนสุดของวัน ด้วยอิทธิพลความเย็นที่เกิดขึ้นเป็นผลให้ความแตกต่างอุณหภูมิระหว่างภายนอกและภายในอาคารทดลองต่างกันประมาณ 4 องศา อิทธิพลดังกล่าวจะทำให้การถ่ายเทความร้อนน้อยกว่าเดิมถึง 32.8% ซึ่งอาจสรุปได้ว่าการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมด้วยการเพิ่มการระเหยของน้ำ สามารถทำให้อุณหภูมิบริเวณนี้มีอุณหภูมิลดลงใกล้เคียงเขตสบายมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศศิธร ศรีเฟื่องฟุ้ง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 

 

สุธีวัน โล่ห์สุวรรณ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 

 

ปฏิภาณ จันลือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

อนงค์ศิริ เสาร์แก้ว, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 

 

ภูวดล ภู่ศิริ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 

 

อุษณีย์ มิ่งวิมล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาสถาปัตยกรรม, สถาบันนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 

 

References

ASHRAE. (1992). ANSI/ASHRAE standard 55-2013, thermal environmental conditions for human occupancy. Atlanta: Author.

ASHRAE. (2004). ANSI/ASHRAE standard 140-2014, standard method of test for the evaluation of building energy analysis computer programs. Atlanta: Author.

Boonyatikarn, S. (2004). Bio-Solar home: It is power by the Sun. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 50-61.

Boonyatikarn, S. (1999). Energy efficient home design technique for better quality of life. Bangkok: Property market Co., ltd, 46-47., 58-62., 95-100.

Boonyatikarn, S. (2002). Integrated Design Approve: Shinawatra University. Bangkok: G M Max Media, 39-55.

Kongsuk, P., Khaosoi, W., Sothong, S., & Losuwan, S. (2022). Techniques for designing energy-saving systems for buildings. Case study of the Business Innovation Center Building, Rajamangala University of Technology Tawanok, Chanthaburi Campus. 14th Electrical Engineering Network Conference: 293-299.

Meteorological Department. (2023). Climate of Chonburi Province. Climate Center Meteorological Development Division. Meteorological Department. http://climate.tmd.go.th/data/province/Chonburi. [Accessed June 17, 2023].

Mirrahimi, S., Mohamed, M. F., & Haw, L. C. (2016). The effect of building envelope on the thermal comfort and energy saving for high-rise buildings in hot–humid climate. 1508-1519. https://doi.org/https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1364032115010254?via%3Dihub

National Institute of Metrology. (2022). Understanding and interpreting temperature measurement and calibration certificates. Bureau of Standards. Bureau of Freight Forwarding Department of Land Transport.