การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลม

Main Article Content

สินีนาถ สุขทนารักษ์
เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา
วัฒนา อัจฉริยะโพธา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลม โดยขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาอัตราส่วนของน้ำส้มซ่าที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ อัตราส่วนน้ำส้มซ่าร้อยละ 15 ร้อยละ 30 และร้อยละ 45 ต่อน้ำหนักน้ำเปล่า ผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนของน้ำส้มซ่าที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (oBrix) ค่า pH และปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ โดยน้ำส้มซ่าที่มีความเป็นกรดสูง (อัตราส่วนน้ำส้มซ่าที่ร้อยละ 45 ต่อน้ำหนักน้ำเปล่า) เม็ดเจลเกิดการเซทตัวเป็นทรงกลมได้ไม่ดีนัก โดยผู้ทดสอบให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสเม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลมในอัตราส่วนน้ำส้มซ่าร้อยละ 30 มากที่สุด เมื่อนำเม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลมมาวัดค่าความแข็ง (hardness) และค่าสี พบว่า เม็ดเจลน้ำสมซ่าทรงกลมมีค่าความแข็งลดลงเมื่อเม็ดเจลมีความเป็นกรดสูง แต่ไม่ส่งผลต่อค่าสี หลังจากนั้นศึกษาความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทที่เหมาะสมต่อการเกิดเจลของน้ำส้มซ่าทรงกลมทั้งหมด 3 ระดับ คือ ความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทที่ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 1 และร้อยละ 1.5 ผลการทดลอง พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสที่เม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลมที่มีความเข้มข้นแคลเซียมแลคเตทที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 มากที่สุด ซึ่งความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อค่า hardness ของเม็ดเจลน้ำส้มซ่า โดยยิ่งเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมแลคเตทมากขึ้น เม็ดเจลมีค่า hardness สูงขึ้น และความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมแลคเตทไม่ส่งผลต่อค่าสี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สินีนาถ สุขทนารักษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

วัฒนา อัจฉริยะโพธา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

References

AOAC. (1998). Assocuation of Official Analytical Chemists. 16th ed. Washington D.C. : Virginia. AOAC, Inc.

Aschariyaphotha, w., Suktanarak, s. & Aschariyaphotha, B. (2021). Preliminary study on antioxidant in bitter orange (Citrus aurantium L.) juice cultivates in green farm at Khlong Ha subdistrict, Khlong Luang district, Pathum Thani province. Agricultural Science Journal, 52(1): 205-208.

Kampeawet, P. & Vatthanakul, S. (2018). Producing Passion Fruit Beads by Reverse Spherification Technique. Thai Science and Technology Journal, 26(8): 1381-1393.

Mohamed S. Mohy Eldin, Elbadawy A. Kamoun, Mamdouh A. Sofan, Smaher M. Elbayomi. (2015).L-Arginine grafted alginate hydrogel beads: A novel pH-sensitive system for specific protein delivery. Arabian Journal of Chemistry, 8: 355-365.

Suktanarak, S., Ruksian, S., Poolrit W. & Khramkiew, N. (2018). Development of Sacga Inchi Tea usinf Spherification Technique. In Proceeding of Academics Science & Technology Conference (pp. AS-357-AS-361). Samut Prakan: Huachiew Chalermprakiet University.

Suktanarak, s., Kanjunsri, N., Suwantuppa, s. & Waiyapoka, B. (2021). Producing bubble dragon fruit peel with juice using reverse spherification tecqnique. Rajamangala University of Technology Tawan-ok Research Journal, 14(1): 25-31.

Watcharananant, W., Puttongsiri, T. & Huangrak, K. (2020). Aroma compounds in Citrus aurantium var. aurantium peel from different extraction methods. King Mongkut’s Agricultural Journal, 38(1); 16-23.