การออกแบบชุดโต๊ะอเนกประสงค์ที่ใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตา

Main Article Content

สุวินัย อินทรศักดิ์
ยิ่งยง รุ่งฟ้า
พิสิทธิ์ ควรอนันต์

บทคัดย่อ

 


ปัจจุบันผู้พิการทางสายตาในสังคมไทยยังไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตและมีความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากการศึกษาศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย พบว่าผู้พิการทางสายตาที่พักอาศัยอยู่เป็นห้องพักที่มีขนาดเล็ก มีเพียงที่นอนกับโต๊ะ โดยเฉพาะโต๊ะมีความสำคัญต่อการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ได้แก่ การใช้โต๊ะในการรับประทานอาหาร การใช้โต๊ะฝึกการอ่านอักษรเบลล์ และการใช้โต๊ะในการเก็บอุปกรณ์ในการดำเนินชีวิต สำหรับโต๊ะที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันยังไม่ได้ออกแบบมาให้มีลักษณะเฉพาะกับผู้พิการทางสายตาจึงทำให้ไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรมดังกล่าวและยังส่งผลต่ออันตรายในการใช้โต๊ะที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะ จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาและออกแบบชุดโต๊ะอเนกประสงค์ ที่ใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบชุดโต๊ะอเนกประสงค์ที่ใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตาโดยนำไปทดสอบมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยทำการทดสอบแรงสถิตกระทำในแนวดิ่ง และยังนำไปประเมินความพึงพอใจทางด้านการใช้งาน วิธีการศึกษาทำการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความต้องการในการออกแบบจากผู้พิการทางสายตา แนวคิดทฤษฎีที่ข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตา แนวคิดในการออกแบบ ตลอดจนการสังเกตพฤติการณ์ในการใช้โต๊ะในการกิจวัตรประจำวันของผู้พิการทางสายตา และการสัมภาษณ์ปัญหาความต้องการในการออกแบบโต๊ะจากผู้พิการทางสายตา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้พิการทางสายตาประเภทคนตาบอดสนิท เพศชาย และหญิง ในการคัดเลือกแบบเจาะจง 30 คนที่อาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งผลการวิจัยมีประเด็นดังนี้ ผลการออกแบบชุดโต๊ะอเนกประสงค์ที่ใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตารูปแบบออกแบบให้สามารถถอดประกอบและพับได้ เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการผลิตโครงสร้างและวัสดุที่นำมาประกอบให้มีความแข็งแรงซึ่งรูปแบบโต๊ะอเนกประสงค์สำหรับผู้พิการทางสายตาประกอบไปด้วย เก้าอี้ที่มีรูปทรงที่มีความสอดคล้องกับโต๊ะ มีระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจป้องกันการเดินชนของผู้พิการทางสายตา มีลิ้นชักและชั้นวางของราวกับติดตั้งราวกันสิ่งของล้น ที่อยู่ด้านบนของพื้นโต๊ะ มีปลั๊กไฟพร้อมสวิตซ์ตัดไฟเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า มีวิธีการใช้งานที่เป็นอักษรเบลล์ ตลอดจนมีการติดพื้นผิวสัมผัสตามจุดต่างๆเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้งานได้สะดวก ส่วนผลการทดสอบความแข็งแรงและความทนทานของโต๊ะอเนกประสงค์สำหรับผู้พิการทางสายตา ใช้วิธีการทดสอบโดยการใช้แรงสถิตกระทำในแนวดิ่ง การใช้แรงกด 1200 นิวตัน จำนวน 3 จุด จุดละ 10 ครั้งพบว่าผ่านการทดสอบเสถียรภาพและความแข็งแรงทนทานผ่านตามมาตรฐาน มอก. 1494-2541 และการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้พบว่าพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุวินัย อินทรศักดิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน  คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ยิ่งยง รุ่งฟ้า, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 

พิสิทธิ์ ควรอนันต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 

References

Chanprasert, P. (2017). Elderly people, self-reliance. Office of Knowledge Creation and Management. Bangkok: Department of Health, Ministry of Public Health. (in Thai)

Department of Promotion and Development of Quality of Life for Persons with Disabilities. (2007). Promotion and development of quality of life of persons with disabilities act 2007. Retrieved from https://dep.go.th/th/home. (in Thai)

Gurdal Dursin, A. (2021). Information and education design for the visually impaired and blind. Department of Visual Arts Education. Faculty of Education, Abant İzzet Baysal University, Bolu, Turkey.

Jarinthong, K. (2019). Project to design and develop a multi-purpose woodworking laboratory table. Journal of Nmccon, 20, 264-271. (in Thai)

Kruenet, S. (2016). Improving the quality of life. Bangkok: Liang Chiang Publishing House. (in Thai) Ministry of Education. (2009). Specifying the types and criteria for persons with disabilities in education. Retrieved from https://th.wikisource.org/ (in Thai)

Nitiruangjarat, K. (2018). Improving the quality of life of the visually impaired according to the 4 principles of the Khao Suan Kwang Blind Association. Khao Suan Kwang District. (Research report) Khon Kaen Province: Research report, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (in Thai)

Ministry of Industry. (1998). Industrial Standards Institute. Retrieved from https://www.kpp-local.go.th/ (in Thai)

Panyindee, S. (2018). The way of life of blind musicians in Thai society: a case study of Bangkok. Journal of Krasatadham, 12, 100-119.

Saributr, U. (2007). Furniture design. Bangkok: Odeon Store Publishing.

WHO. (2007). The World Health Organization Quality of Life, p. 607. (Cited in Butler and Ciarrochi,2007).