ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัว Nymphaea ‘Aurora’

Main Article Content

เยาวมาลย์ นามใหม่
เสาวณีย์ บัวโทน
พนารัตน์ ทองเพิ่ม

บทคัดย่อ

บัวเป็นพรรณไม้น้ำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มไม้น้ำ เนื่องจากดอกมีความสวยงาม จัดเป็นพืชน้ำที่มีมูลค่ามากที่สุด บัว Nymphaea ‘Aurora’ เป็นบัวฝรั่งลูกผสม ดอกมีขนาดเล็ก และให้ดอกดก เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชถูกนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ได้ลักษณะที่ตรงตามพันธุ์และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมของเหง้าและยอดอ่อน ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการชักนำให้เกิดยอด ราก และการชักนำให้เกิดแคลลัส ในสภาวะปลอดเชื้อบนอาหารสังเคราะห์สูตร MS (Murashige and Skoog, 1962) แบบกึ่งแข็ง และแบบอาหารเหลวด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงระบบไบโอรีเอคเตอร์แบบท่วมชั่วคราว (Temporary Immersion Bioreactor System, TIBs)  พบว่า วิธีการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนเหง้าด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 20 นาที ตามด้วยสารละลายเมอคิวริกคลอไรด์ 0.2 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 นาที เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีอัตราการปลอดเชื้อร้อยละ 100 และอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 86.67 ต้นอ่อนจากชิ้นส่วนเหง้าสามารถชักนำยอดและใบได้ดีกว่าส่วนยอดอ่อน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม BAP ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับ IAA  ความเข้มข้น 5 ไมโครโมลาร์ ด้วยระบบไบโอรีเอคเตอร์แบบท่วมชั่วคราว พบว่า สามารถชักนำยอดได้มากกว่าวิธีการเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์แบบกึ่งแข็ง  เกิดยอดและใบได้มากสุด จำนวน 1.78 ยอด 14.00 ใบ ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ สำหรับผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการชักนำให้เกิดราก พบว่า อาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ สามารถชักนำรากสูงสุด 16.22 ราก และผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการชักนำแคลลัสในการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และราก บนอาหารสังเคราะห์สูตร MS แบบกึ่งแข็ง ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 6 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.5 ไมโครโมลาร์ พบว่า เนื้อเยื่อส่วนใบ และส่วนราก มีเนื้อเยื่อลักษณะพองขยายขนาดใหญ่ขึ้นแต่ไม่พัฒนาเป็นแคลลัส

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เยาวมาลย์ นามใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว 

เสาวณีย์ บัวโทน, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต

พนารัตน์ ทองเพิ่ม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาชีววิทยา 

References

Blidar, C. F., Tripon, I. M., & Ilea, C. (2017). In vitro conservation of genetic resources of Nymphaea lotus var. thermalis (DC.) Tuzs., an endangered plant species. Romanian Biotechnological Letters, 22, 1-13.

Hossain, M. A., Shamim Kabir A. H. M., Jahan T. A., & Hasan M. N. (2008). Micropopagation of Stevia. Int. J. Sustain. Crop Prod, 3(3), 1-9.

Masaki, N., Yensoon, S., & Te-chato, S. (2016). Effects of growth regulators on in vitro callus and shoot induction of Hawortia. Songklanakarin Journal of Plant Science, 3(Suppl.2), M02/76-82. (in Thai)

Noimai, Y. (2012). Micropropagation of Nymphaea Hybrid ‘Chalong kwan’ (Master Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani.

Ramakrishna, N., Lacey J., & Smith J. E. (1991). Effect of surface sterilization, fumigation and gamma irradiation on the microflora and germination of barley seeds. Int J Food Microbiol, 13(1), 47-54.

Rodloy, A. (2020). Marketing and Production Management of Aquatic Plants in Thailand for Exported and Sustainable Use of Resources (research report). Bangkok: Inland Aquaculture Research and Development Division, Department of Fisheries, Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Sanguandikul, S., Chansin, N., Donchanthong, R., Suwannathat, T., Khieonaak, N., Prasertlap, S., & Rodbutr, N. (2018). Development of ornamental waterlily by crossing subgenus (research report). Rajamangala University of Technology Tawan-Ok. 1-39. (in Thai)

Smith J., & Johnson, A. (2020). Mechanisms of microbial sterilization using mercuric chloride. Journal of Microbiology, 25(3), 123-135.

Sunian, E. (2004). Development of Sterilisation Procedures and in vitro studies of Nymphaea lotus. (Master thesis). Faculty of Agriculture University Putra. Malaysia.

Teanchartsakul, N., Laohavisuti, N., & Seesanong, S. (2019). Temporary Immersion Bioreactor for Micropropagation of Anubias barteri ‘Broad leaf’. King Mongkut’s Agricultural Journal, 37(1), 23-31. (in Thai)

Thanonkaew, P., Thanonkaew, S., & Sucharitkul, K. (2007). Application of biotechnology for the production of flavonoids from snow lotus. Academic Service Center Journal, 15(1-2), 14-20. (in Thai)

Thongpoem, P., Noimai, Y., & Thanomchat, P. (2020). In Vitro, Tissue culture of Nymphoides indica (L.) Kuntze for conservation (research report). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

Trang, N. T. Q., Hong H. T. K., Huong V T. M., & Long D. T. (2021). In vitro Propagation of Red Lotus (Nelumbo nucifera Gaertn) -An Aquatic Edible Plant in Vietnam. Agricultural Science Digest, 41(Special Issue), 129-136.