ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลากดเหลืองในลำน้ำก่ำ โดยใช้เทคนิค RAPD

Main Article Content

อนาวิล พรหมเทพ
สุธี วงศ์มณีประทีป
วาสนา ไพรสิงห์ขรณ์
สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลากดเหลืองในลำน้ำก่ำ  ทั้งหมด              5 ประชากรย่อย ได้แก่ ประตูน้ำสุรัสวดี  (A)  ประตูน้ำบ้านหนองบึง (B)  ประตูน้ำบ้านนาคู่ (C) ประตูน้ำบ้านนาขาม (D) และประตูน้ำน้ำก่ำตอนล่างที่จะไหลลงไปสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม  (E)  ด้วยไพรเมอร์ทั้งหมด  9  ไพรเมอร์      คือ OPB-07, OPB-10, OPC-02, OPC-05, OPC-11, OPC-13, OPC-15,  OPC-16 และ UBC122 พบขนาดของแถบ ดีเอ็นเอ        อยู่ระหว่าง 200-2,500 คู่เบส  พบแถบ ดีเอ็นเอ  ทั้งหมด  97  แถบ มี  95  แถบ  เป็น Polymorphic band อยู่ระหว่างร้อยละ  46.39–81.44  ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม  (H)  มีค่าอยู่ระหว่าง  0.18-0.32  ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรม  (GST)  และค่าการถ่ายเทยีน (Nm)  รวมทั้งหมดทุกประชากรมีค่าเท่ากับ 0.29 และ 1.22 ตามลำดับ และค่าระยะห่างทางพันธุกรรม (D) มีค่าระหว่าง 0.132-0.341 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วย   วิธี UPGMA  พบว่า ประชากรปลากดเหลืองในลำน้ำก่ำ      แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 คือประชากรประตูน้ำสุรัสวดี (A) ส่วนกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ประชากรประตูน้ำบ้านหนองบึง (B) ประชากรประตูน้ำบ้านนาคู่ (C) ประชากรประตูน้ำบ้านนาขาม (D) และประชากรประตูน้ำน้ำก่ำตอนล่างที่จะไหลลงไปสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม (E) ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการคัดพันธุ์ การจัดการ และการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของกลุ่มประชากรปลากดเหลืองในลำน้ำก่ำต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อนาวิล พรหมเทพ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์

สุธี วงศ์มณีประทีป, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์

วาสนา ไพรสิงห์ขรณ์ , มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์

สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์

References

Amatyakul, C., Benjakarn, M., Sriwattana, W., Sumanochitphon, S., Sriphattharaprasit, P., Jeso, S.,Sihiranwong, A., Sihirunwong, S., Kasisuwan, S., & Leelawiwat, W. (1995). Yellow catfish. Bangkok: Inland Fisheries Division Department of Fisheries, Ministry of Agriculture and Cooperatives Publishers. (in Thai)

Bala, B., Mallik, M., Saclain, S., & Islam, M.S., (2017). Genetic variation in wild and hatchery populations of giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) revealed by randomly amplified polymorphic DNA markers. J Genet Eng Biotechnol, 15(1), 23-30.

Hanpongkittikul A. (2017). Management of Watergate to Enhance Fisheries In the Nam Kam River System, Thailand. (Doctoral Thesis). University of Hull. England.

Kasiswan, S., Ruangkul, J., & Chesoh, S. (2000). Effect of Salinity on Growth and Survival Rate of Green Catfish, Mystus filamentus, Juvenile during Nursing Period. Pattani: Pattani Inland Fisheries Development Center Publishers. (in Thai)

Klinbunga, S., Ampayup, P., Tassanakajon, A.., Jarayabhand, P., & Yoosukh, W., (2000). Development of species-specific markers of tropical oyster (Crassostrea belcheri) in Thailand. Marine Biotechnology, 2,476-484.

Kumla, S. (2011). Select of Yellow catfish (Mystus nemurus) Broodstock by Using RAPD, ISSR and Microsatellite. (Doctoral Thesis) Khon Kaen University. Khon Kaen. (in Thai)

Kumla S., Doolgindachbaporn S., Sudmoon R., & Sattayasai N. (2012). Genetic variation, population structure and identification of yellow catfish, Mystus nemurus (C&V) in Thailand using RAPD, ISSR and SCAR marker. Molecular Biology Report. 39, 501-510.

Kumla, S., Rayan, S., & Chartchumni, B. (2016). Genetic diversity of Yellow Catfish, Mystus nemurus (C&V), in Nam Oun Dam, Sakon Nakhon Province. Research Journal. 9 (1). (in Thai)

Leesanga, S, Siraj, S.S., Daud, S.K., Tan, S.G. & Harmin S.A. (2004). Intraspecific polymorphism in Mystus nemurus (C&V) detected by RAPD-PCR fingerprinting. Pertanika Journal Tropical Agriculture Science 27, 11-20.

Mahboob, S., Al-Ghanim, K.A., Al-Misned, F., Al-Balawi, H.F.A., Ashraf, A., & Al-Mulmim, M.A.A. (2019). Genetic diversity in tilapia populations in a freshwater reservoir assayed by randomly amplified polymorphic DNA markers. Saudi J Biol Sci, 26(2), 363-367.