การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เหมาะสมด้วยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

Main Article Content

นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดของโรงงานกรณีศึกษาด้วยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซีภายใต้เกณฑ์การตัดสินใจหลัก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือในการส่งมอบ ด้านการประกันคุณภาพการบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความเอาใจใส่ลูกค้า ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและด้านต้นทุนโดยการพิจารณาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความเหมาะสมจากน้ำหนักความสำคัญที่คำนวณได้โดยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซีด้วยวิธีการวิเคราะห์ขอบเขตระดับความเป็นไปได้ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ที่มีความคลุมเครือและความไม่แน่นอนผลการศึกษาพบว่าให้ผู้บริการโลจิสติกส์รายที่ 3 เป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากที่สุด (0.251) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ตัดสินใจได้ให้ความสำคัญกับเกณฑ์การตัดสินใจหลักโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการประกันคุณภาพการบริการ (0.229) ด้านต้นทุน (0.205) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (0.198) ด้านความเอาใจใส่ลูกค้า (0.170) ด้านความน่าเชื่อถือในการส่งมอบ (0.150) และด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (0.047) ตามลำดับผลจากการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นแนวทางให้โรงงานกรณีศึกษามีเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบและผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถนำผลจากการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการได้อีกด้วย

Article Details

How to Cite
คูหาทองสัมฤทธิ์ น. (2018). การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เหมาะสมด้วยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 6(2), 182–193. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/101238
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ ชาคริตส์ ณ วัฒนประเสริฐ. (2558). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์. (2557). การสร้างเกณฑ์มาตรฐานการประเมินศักยภาพของเส้นทางการขนส่งสินค้าทางรถไฟ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์. (2560). การเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสม โดยการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 11(1), 137-150.

ประจวบ กล่อมจิตร. (2556). โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน: การออกแบบและการจัดการเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ปราโมทย์ ลือนาม. (2556). การจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ด้วยกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี: แนวความคิดและการประยุกต์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 1-12.

อาสาฬ์หะ จันทน์คร, และปราโมทย์ ลือนาม. (2558). การคัดเลือกเครือข่ายสังคมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 81-92.

Ayhan, M. B. (2013). A fuzzy AHP approach for supplier selection problem: a case study in a gear motor company. IJMVSC, 4(3), 11-23.

Banomyong, R., & Supatn, N. (2011). Selecting logistics providers in Thailand: a shippers' perspective. European Journal of Marketing, 45(3), 419-437.

Chan, F. T. S., Kumar, N., Tiwari, M. K., Lau, H. C. W., & Choy, K. L. (2008). Global supplier selection: a fuzzy AHP approach. International Journal of Production Research, 46(1), 3825-3857.

Chang, D. Y. (1996). Applications of the extent analysis method on fuzzy AHP. European Journal of Operational Research, 95(3), 649-655.

Erensal, Y. C., Oncan, T., & Demircan, M. L. (2006). Determining key capabilities in technology management using fuzzy analytic hierarchy process: A case study of Turkey. Information Sciences, 95(3), 2755-2770.

Junior, F. R. L., Osiro, L., & Carpinetti, L. C. R. (2014). A comparison between Fuzzy AHP and Fuzzy TOPSIS methods to supplier selection. Applied Soft Computing, 21(1), 194-209.

Kahraman, C., Cebbi, U., & Ulukan, Z. (2003). Multi-criteria supplier selection using fuzzy AHP. Logistics Information Management, 16(6), 382-394.

Kumar, P., & Singh, R. K. (2012). A fuzzy AHP and TOPSIS methodology to evaluate 3PL in a supply chain. Journal of Modelling in Management, 7(3), 287-303.

Saaty, T. L. (1980). The analytic hierarchy process. New York: McGraw-Hill.

Saaty, T. L. (1990). How to make a decision: The analytic hierarchy process. European Journal of Operational Research, 48(1), 9-26.

Soh, S. (2010). A decision model for evaluating third-party logistics providers using fuzzy analytic hierarchy process. African Journal of Business Management, 4(3), 339-349.

Tian, J., & Yan, Z. F. (2013). Fuzzy analytic hierarchy process for risk assessment to general assembling of satellite. Journal of Applied Research and Technology, 4(3), 339-349.

Wu, F. G., Lee, Y. J., & Lin, M. C. (2004). Using the fuzzy analytic hierarchy process on optimum spatial allocation. International Journal of Industrial Ergonomic, 33(6), 553-569.