การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทยและศึกษาการประดับตกแต่งเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่ การดำเนินการวิจัยเริ่มต้นจาก 1) ศึกษาข้อมูลภาคเอกสารจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาแนวคิดต่างๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) สร้างแบบสอบถาม 4) สำรวจสถานที่จริง 5) สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เจ้าของบ้านผู้ดูแลอาคาร 6) สังเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 7) สรุปผลและอภิปรายผลเรือนขนมปังที่จะทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ 1) พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ กรุงเทพฯ 2) พระที่นั่งอภิเษกดุสิต กรุงเทพฯ 3) หมู่กุฏิขนมปังขิงวัดสวนพลู กรุงเทพฯ 4) พิพิธภัณฑ์สักทองวัดเทวะราชกุญชร กรุงเทพฯ 5) ตำหนักเพชรวัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ 6) พิพิธภัณฑ์บ้านเอกะนาค กรุงเทพฯ 7) เรือนพระธเนศวรในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 8) บ้านวงศ์บุรี จังหวัดแพร่ 9) คุ้มเจ้าหลวง จังหวัดแพร่ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทยโดยมากนิยมใช้ลวดลายการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยไม้ มีลักษณะลวดลายหงิกงออ่อนหวานกระจุ๋มกระจิ๋มที่เรียกว่า “ลวดลายขนมปังขิง” เป็นฝีมือช่างชั้นสูงระดับคหบดีขึ้นไป มาใช้ในการตกแต่งอาคารที่เป็นลักษณะเรือนพักอาศัย ซึ่งเป็นทั้งในส่วนของอาคารแบบเรือนไม้แบบชั้นเดียวและแบบสองชั้นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนที่เป็นอาคารเดี่ยวและเป็นอาคารเรือนแถว ซึ่งเป็นทั้งแบบเรือนไม้อาคารที่ตกแต่งด้วยลวดลายขนมปังขิงในพระนคร มีอาคารขนมปังขิงที่งดงามที่สุด คือ พระที่นั่งวิมานเมฆในเขตพระราชวังดุสิต ที่กล่าวกันว่าเป็นอาคารเดี่ยวที่ตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สร้างด้วยไม้ 1-2 ชั้น
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทยโดยมากนิยมใช้ลวดลายการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยไม้ มีลักษณะลวดลายหงิกงออ่อนหวานกระจุ๋มกระจิ๋มที่เรียกว่า “ลวดลายขนมปังขิง” เป็นฝีมือช่างชั้นสูงระดับคหบดีขึ้นไป มาใช้ในการตกแต่งอาคารที่เป็นลักษณะเรือนพักอาศัย ซึ่งเป็นทั้งในส่วนของอาคารแบบเรือนไม้แบบชั้นเดียวและแบบสองชั้นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนที่เป็นอาคารเดี่ยวและเป็นอาคารเรือนแถว ซึ่งเป็นทั้งแบบเรือนไม้อาคารที่ตกแต่งด้วยลวดลายขนมปังขิงในพระนคร มีอาคารขนมปังขิงที่งดงามที่สุด คือ พระที่นั่งวิมานเมฆในเขตพระราชวังดุสิต ที่กล่าวกันว่าเป็นอาคารเดี่ยวที่ตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สร้างด้วยไม้ 1-2 ชั้น
This research aims to study the architectural patterns of the gingerbread houses and the decorations of the gingerbread houses in Thailand. Case Study: Bangkok and its Vicinities and Phrae province. The research starts with 1) study details received from related researches 2) study of the concepts received from related documents 3) creation of the questionnaire 4) survey of the actual locations 5) interviews with the officials, the houses’ owners and the house attendants 6) syntheses and the analyses of the data 7) conclusion and the discussion. The Gingerbread houses studied this time include. 1) Vimanmek Mansion, Bangkok 2) Abhisek Dusit Throne Hall, Bangkok 3) Gingerbread Monks’ Cells in Suan Plu Temple, Bangkok 4) Golden Teak Museum, Thewarat Kunchorn Worawiharn Temple, Bangkok 5) Diamond Palace, Bovorn Niwet Wihan Temple, Bangkok 6) Ban Ekanak Museum, Bangkok 7) Ruean Phra Thanesuan, Sanamchan Place, Nakhon Pathom province 8) Baan Wong Buri, Phrae province 9) Khum Jao Luang, Phrae province.
The research result shows that ginger-bread-house architecture in Thailand is mostly designed by wood-twisted pattern. The pattern is soft, pleasant and tiny called “ginger-bread pattern”. This pattern is used for decorating houses for both one-storey and two-storey buildings. Brick-and-mortar buildings are one-storey and row-house buildings made of wood. In Bangkok, the most splendid ginger-bread-house building is Vimanmek Mansion in Dusit Palace. The mansion is a single building decorated by fretwork, it is a large 1-2 storey house.
Article Details
Published manuscript are the rights of their original owners and RMUTSB Academic Journal. The manuscript content belongs to the authors' idea, it is not the opinion of the journal's committee and not the responsibility of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi