การศึกษาประสิทธิภาพของสนามไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ต่อการลดความชื้นมะคาเดเมียทั้งกะลา

Main Article Content

ชิดชนก มากจันทร์
สุธี ลี้จงเพิ่มพูน
ฉวีวรรณ บุญเรือง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสนามไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับต่อการลดความชื้นมะคาเดเมียทั้งกะลาที่ความเข้มสนามไฟฟ้าแบบสม่ำเสมอตั้งแต่ 0-3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร สร้างโดยแหล่งจ่ายแรงดันสูงกระแสตรง พิกัด 0-10 กิโลโวลต์ และแหล่งจ่ายแรงดันสูงกระแสสลับ พิกัด 0-10 กิโลโวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ โดยมีฉนวนกั้นการเบรกดาวน์ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการลดความชื้นมะคาเดเมียทั้งกะลาต่อสนามไฟฟ้าทั้งสองชนิด กำหนดให้อัตราการไหลของอากาศคงที่ที่ 1 ลิตรต่อนาที ที่เวลา 20, 40 และ 60 นาที ผลของความชื้นมะคาเดเมียที่เปลี่ยนแปลงวัดได้จากเครื่องชั่งน้ำหนักความละเอียด 0.0001 กรัม ± 3 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า ที่ความเข้มสนามไฟฟ้าแบบสม่ำเสมอกระแสสลับ 3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร ที่เวลา 60 นาที สามารถลดความชื้นได้ดีที่สุดคือ 1.36 กรัม ซึ่งมากกว่าสนามไฟฟ้าแบบสม่ำเสมอ ร้อยละ 14.28 ที่ความเข้มสนามไฟฟ้ากระแสสลับ 3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร ที่เวลา 20-40 นาที มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของความชื้นต่อเวลาที่ดีที่สุดในการทดลองคือ ร้อยละ 36.52 ซึ่งมากกว่าสนามไฟฟ้ากระแสตรงร้อยละ 0.23 และที่เวลา 60 นาที อัตราการเปลี่ยนแปลงของความชื้นต่อเวลาของค่าสนามไฟฟ้ากระแสตรงคือ ร้อยละ 20.37 และสนามไฟฟ้ากระแสสลับคือ ร้อยละ 20.51

Article Details

How to Cite
มากจันทร์ ช., ลี้จงเพิ่มพูน ส., & บุญเรือง ฉ. (2019). การศึกษาประสิทธิภาพของสนามไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ต่อการลดความชื้นมะคาเดเมียทั้งกะลา. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 7(1), 52–62. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/111872
บท
บทความวิจัย

References

จำลอง ดาวเรือง. (2552). ด้วยน้ำพระทัยแด่งานวิจัยมะคาเดเมีย. เชียงใหม่: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ศูนย์เกษตรหลวงเชียงใหม่.

ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, สนอง อมฤกษ์, ประพัฒน์ ทองจันทร์, และปรีชา ชมเชียงคำ. (2554). ศึกษาการอบแห้งมะคาเดเมียด้วยเครื่องอบแห้งแบบสลับทิศทางลมร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 42(1), 563-566.

ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. (2555). เทคโนโลยีการทำแห้งแบบผสมผสาน: การนำมาใช้เพื่อถนอมผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อความร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 35(2), 269-283.

ทรงชัย วิริยะอำไพวงศ์, ณัฐอาภา ดิษรัก, และละมุล วิเศษ. (2552). การศึกษาสมบัติทางกายภาพของแครอทอบแห้งด้วยอากาศร้อนร่วมกับสนามไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 40(3), 473-476.

วินิต ชินสุวรรณ, และ สุเนตร โม่งปราณี. (2539). การออกแบบและพัฒนาเครื่องกะเทาะเมล็ดมะคาเดเมีย แบบใช้แรงงานคน. วารสารวิจัย มข,1(2), 1-10.

สำรวย สังข์สะอาด. (2547). วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธี ลี้จงเพิ่มพูน, และศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล. (2553). การศึกษาผลของสนามไฟฟ้าในการลดก๊าซมลพิษจากไอเสียรถยนต์. ใน การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 33 (น. 305-308). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมบัติ คงวิทยา. (2557). มะคาเดเมีย. BLPD newsletter, 6(64), 5.

เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์, และจำลอง ดาวเรือง. (2548). ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวมะคาเดเมีย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Cao, W., Nishiyama, Y., Koide, S., & Lu, Z. (2004). Drying enhancement of rough rice by an electric field. Biosystem Engineering, 87(4), 445-451.

Jongjaipak, T., Wiriyaumpaiwong, S., & Laohavanich, J. (2014). Electric field enhancement of macadamia drying. Journal of Food, Agriculture & Environment, 12(2), 114-117.

Phusampao, C., Nilnont, W., & Janjai, S. (2014). Performance of a greenhouse solar dryer for drying macadamia nuts. In International Conference and Utility Exhibition 2014 on Green Energy for Sustainable Development (pp. 44). Pattaya: Asian Institute of Technology.

Lebovka, N. I., L., Shynkaryk, N. V., & Vorobiev, E. (2007). Pulsed electric field enhanced drying of potato tissue. Journal of Food Engineering, 78(2), 606-613.

Robinson, J. A., Bergougnou, M. A., Cairns, W. L., Castle, G. S. P., & Inculet, I. I. (1998). Breakdown of air over a water surface stressed by a perpendicular alternating electric field. In IEEE Industry Applications Conference, Thirty-Third IAS Annual Meeting (pp. 1820-1827). St. Louis, USA: IEEE.

Wang, Y., Zhang, Li., Johnson, J., Gao, M., Tang, J., Powers, J. R., & Wang, S. (2014). Developing hot air-assisted radio frequency drying for in-shell macadamia nuts. Food Bioprocess Technol, 7(1), 278-288.