ผลของการฉีดพ่นไคโตซานต่อศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพขาดน้ำ ที่ระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน

Main Article Content

สุชาดา บุญเลิศนิรันดร์
ระวีวรรณ สุวรรณศร
ประพฤติ พรหมสมบรูณ์
กิตติ บุญเลิศนิรันดร์

Abstract

ไคโตซาน (โพลิเมอร์ธรรมชาติ) สามารถใช้เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้พืชที่อยู่ในสภาวะเครียดจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไคโตซานต่อศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพขาดน้ำและหาระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่อ่อนแอต่อการขาดน้ำมากที่สุดซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลง วางแผนการทดลองแบบ Split plot ทำ 5 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยหลักคือ การ ขาดน้ำที่ ระยะต้นกล้า ระยะแตกกอ ระยะสร้างรวงอ่อน ระยะออกรวง และ ไม่ขาดน้ำ โดยจัดปัจจัยหลักแบบสุ่มในบล็อคสมบรูณ์ (RCBD) ปัจจัยรองคือ การฉีดพ่นไคโตซานและการไม่ฉีดพ่นไคโตซาน ทำการทดลองที่โรงเรือนแบบเปิดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม 2555 ผลการทดลองพบว่า การขาดน้ำที่ระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่แตกต่างกันมีผลทำให้ ความเขียวใบ การสะสมน้ำหนักแห้ง จำนวนหน่อต่อต้น ผลผลิตและดัชนีเก็บเกี่ยว ของข้าวแตกต่างกันทางสถิติ การขาดน้ำที่ระยะการเจริญเติบโตช่วงแรกๆ (ระยะ ต้นกล้า และระยะแตกกอ) ได้รับผลกระทบในทางลบต่อความสูง ความเขียว น้ำหนักแห้งและจำนวนหน่อต่อต้น มากกว่าการขาดน้ำเมื่อเข้าสู่ระยะออกดอก ในขณะที่ผลผลิตข้าวและประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายสารอาหาร (ดัชนีเก็บเกี่ยว) จะได้รับผลกระทบในทางลบเมื่อเกิดการขาดน้ำที่ระยะติดดอกออกผล (ระยะสร้างรวงอ่อน และระยะออกรวง) และพบว่าการฉีดพ่นไคโตซานมีผล ทำให้ความเขียวของใบและจำนวนหน่อต่อต้นของข้าวแตกต่างกันทางสถิติกับการไม่ฉีดพ่นไคโตซาน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการใช้ไคโตซานกับการขาดน้ำที่ระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันต่อทุกๆลักษณะที่ทำการศึกษา

 

Effect of chitosan spraying on rice yield potential under drought stress at various growth stages

Chitosan, natural biopolymer, can be applied to trigger immune system in many plant species under abiotic stress. The objectives of this project were to 1) study effect of chitosan on rice yield potential under drought stress condition and 2) determine the most susceptible growth stage to drought resulted in yield loss. The experimental design was a split plot design and the main plot was arranged in randomized complete block with five replications. Main plot was five drought periods, including at seedling, tillering, panicle initiation, heading stage and no drought and subplot was chitosan spraying and no chitosan spraying. It was conducted at an opened greenhouse of Rajamangala University of Technology Suvarnnabhumi, during June to October 2012. The results indicated that drought stress at different growth stages showed statistically significant differences on leaf greenness, dry matter accumulation, grain yield, tiller number per plant and harvest index, however it tended that drought stress at vegetative stage (seedling and tillering stage) had more negative effects on agronomic traits (plant height, leaf greenness, dry matter, tiller number per plant) than at reproductive stage. Grain yield and translocation of assimilates (harvest index) were negatively affected by drought stress at reproductive stage (panicle initiation and heading stage). Foliar application of chitosan significantly affected leaf greenness and tiller number per plant. But the interaction between rice growth stage and chitosan application did not show any significant difference in all traits under drought stress.

Article Details

How to Cite
บุญเลิศนิรันดร์ ส., สุวรรณศร ร., พรหมสมบรูณ์ ป., & บุญเลิศนิรันดร์ ก. (2013). ผลของการฉีดพ่นไคโตซานต่อศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพขาดน้ำ ที่ระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL, 1(1), 30–40. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/98182
Section
Research Article