เครื่องบอกป้ายรถประจำทางสาย 203 สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยใช้ GPS ระบุพิกัด

Main Article Content

ประกาศิต ตันติอลงการ
คธาหัตถ์ สิทธิโฮ่ง
วีระชาติ บุญหมั่น
เอกชัย แซ่โซ้ง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างเครื่องบอกป้ายรถประจำทางสาย 203 สำหรับผู้พิการทางสายตาโดยใช้ GPS ระบุพิกัด 2) เพื่อศึกษาความแม่นยำในการบอกชื่อป้ายรถประจำทางและความชัดเจนของเสียง 3) เพื่อศึกษาระยะทางในการตรวจสอบค่าพิกัดป้ายรถประจำทางของ GPS 4) เพื่อศึกษาความเร็วที่เหมาะสมในการขับผ่านป้ายรถประจำทางแล้ว GPS ยังคงตรวจสอบได้ งานวิจัยนีเลือกแบบแผนการทดลองประเภท Pre-experiment design แบบ One short case study

ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องบอกป้ายรถประจำทางที่สร้างขึน เป็นพลาสติกกล่องสี่เหลี่ยมมีความกว้าง ยาว และสูงคือ 5, 11 และ 2 เซนติเมตร ตามลำดับ มีน้ำหนัก 130 กรัม สามารถพกพาได้สะดวกและน้ำหนักเบา 2) เมื่อใช้รถส่วนบุคคลจอดตรงจุดป้ายรถประจำทางเครื่องสามารถบอกชื่อป้ายรถประจำทางได้ถูกต้องแม่นยำ เสียงชัดเจน ทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบว่าป้ายรถประจำทางที่จะถึงคือป้ายใดและป้ายถัดไปคือป้ายใด โดยฟังเสียงจากโมดูล MP3 ซึ่งมีไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEGA8 เป็นตัวประมวลผลค่าพิกัดที่รับจากโมดูล GPS สามารถปรับสวิตช์เป็นขาไปหรือขากลับได้ ขาไปจากท่าน้ำ นนทบุรีถึงสนามหลวงมี 32 ป้ายและขากลับมี 29 ป้าย มีเสียงบอกก่อนถึงป้ายระยะทางประมาณ 10 เมตรแล้วจะบอกชื่อป้ายถัดไป ปรับระดับเสียงได้ 8 ระดับ มีหูฟัง 2 ข้างเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากสิ่งรอบข้าง 3) ในกรณีที่รถประจำทางจอดเลยห่างจากป้ายรถประจำทางเกินกว่า 10 เมตร เครื่องจะไม่สามารถบอกชื่อป้ายนั้นได้ 4) ความเร็วที่รถประจำทางขับผ่านป้ายรถประจำทางแล้ว GPS ยังคงตรวจสอบได้ต้องไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

Announcement Machine of the Bus Stops Route 203 of the Visually Impaired Using GPS Positioning.

The purposes of the research were 1) to establish the Announcement Machine of the bus stops route 203 of the visually impairedusing GPS Positioning; 2) to investigate the accuracy of telling the bus stop names with distinctly sound; 3) to study the distance detection of GPS of the bus stop and: 4) to explore the proper speed passing with using GPS. The research was designed to use the pre-experiment design, and one short case study for investigation.

The results showed that 1) the Announcement Machine of the Bus stop Route 203 of the Visually Impairedusing GPS Positioning was made from the plastic box sized 5x11x2 cm3, and weight 130 grams whichwas handy and light; 2) after testingat the bus stopby the private car, the machine could point the positions exactly with clear voice, and the visually impairedpeople could know the names of the bus stops and also know the next bus stop through listening from the MP3 modules which processed the signal from the GPS module using ATMEGA8 microcontroller. The machine could switch the inbound and outbound of the bus. From Nontaburi quayside to Phra Meru ground, the inbound included 32 bus stops and outbound included 29 bus stops. The machine informed the names of bus stop about 10 meters before reaching and next bus stop later. The voice could be adjusted into 8 levels, ear phones were used for listening; 3) In case of far from bus stop than 10 meters, the machine thus could not tell the names of bus stop and; 4) the maximum speed of the bus that GPS could detect must not be over than 60 kilometers per hour.

Article Details

How to Cite
ตันติอลงการ ป., สิทธิโฮ่ง ค., บุญหมั่น ว., & แซ่โซ้ง เ. (2014). เครื่องบอกป้ายรถประจำทางสาย 203 สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยใช้ GPS ระบุพิกัด. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL, 2(2), 153–164. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/99246
Section
Research Article