การเตรียมถ่านกัมมันต์จากของเสียประเภทโฟมพอลิยูรีเทนโดยการกระตุ้น ทางเคมีด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนต สำหรับการดูดซับสีย้อม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ได้เตรียมถ่านกัมมันต์จากของเสียประเภทโฟมพอลิยูรีเทนโดยการกระตุ้นทางเคมีด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนต สำหรับการดูดซับสีย้อม วิเคราะห์ปริมาณความชื้น สารระเหย เถ้า และคาร์บอนคงตัว ในวัตถุดิบโฟมพอลิยูรีเทนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โดยประมาณ (proximate analysis) และศึกษาพฤติกรรมการสลายตัวทางความร้อนของโฟมพอลิยูรีเทนในสารกระตุ้นโพแทสเซียมคาร์บอเนตด้วยเทคนิค TGA และศึกษาสภาวะการกระตุ้นที่อัตราส่วนระหว่างสารกระตุ้นต่อวัตถุดิบ (impregnation ratio) เท่ากับ 1.0, 1.5 และ 2.0 อุณหภูมิในการกระตุ้นในช่วง 700-1,000 องศาเซลเซียส วิเคราะห์พื้นที่ผิวจำเพาะของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคการดูดซับและคายซับก๊าซไนโตรเจน (N2 adsorption-desorption) และถ่ายภาพโครงสร้างรูพรุนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นอกจากนั้น ทดสอบการดูดซับสีย้อมและศึกษาจลน์ศาสตร์ของการดูดซับสีย้อมด้วยแบบจำลองจลน์ศาสตร์อันดับหนึ่งเทียมและอันดับสองเทียม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์ด้วยอัตราส่วน 1.0 ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ให้ถ่านกัมมันต์ที่มีพื้นที่ผิวเท่ากับ 1,089 ตารางเมตรต่อกรัมและความสามารถในการดูดซับสีย้อมเป็น 500 มิลลิกรัมต่อกรัม นอกจากนั้น พบว่าแบบจำลองจลน์ศาสตร์อันดับสองเทียมสามารถใช้อธิบายจลน์ศาสตร์ของการดูดซับสีย้อมด้วยถ่านกัมมันต์จากโฟมพอลิยูรีเทนได้ดีกว่าโดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.99
Preparation of polyurethane foam based-activated carbons by k2co3 chemical activation for dye adsorption
Polyurethane based - activated carbons were prepared by the chemical activation using K2CO3 as chemical agent for dye adsorption. Proximate analysis was conducted to determine the amount of moisture, volatile matter, ash and fixed carbon in raw material. The thermal behavior of K2CO3 impregnated polyurethane foam was determined by thermogravimetric analysis (TGA). The impregnation ratios of K2CO3 activation were at 1.0, 1.5 and 2.0 and activation temperature in the range of 700-1,000 oC were employed for preparing the adsorbents. The polyurethane foam basedactivated carbons were then characterized by the N2 adsorption-desorption and the scanning electron microscope (SEM). The adsorption capacities were also investigated. Moreover, the adsorption kinetic was studied by using pseudo-first order and pseudo-second order kinetic models. The results showed that the preparing condition using impregnation ratio of 1.0 and activation temperature of 800 oC yielded the activated carbon with the highest surface area of 1,089 m2/g and the dye adsorption capacities of 500 mg/g. In adsorption kinetic, it was observed that the experimental data were well explained by the pseudo-second order model with R2 of 0.99.
Article Details
Published manuscript are the rights of their original owners and RMUTSB Academic Journal. The manuscript content belongs to the authors' idea, it is not the opinion of the journal's committee and not the responsibility of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi