สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเฟิร์นชายผ้าสีดาสายผ้าม่าน (Platycerium coronarium) ในสภาพธรรมชาติ

Main Article Content

ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์

Abstract

นำต้นอ่อนเฟิร์นชายผ้าสีดาสายผ้าม่าน ที่ได้จากการเพาะสปอร์ในสภาพปลอดเชื้อบนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อสูตร MS (Murashige & Skoog) มาทดลองปลูกในโรงเรือนเป็นระยะเวลา 6 เดือน บนวัสดุธรรมชาติคือ ขี้เลื้อย ขุยมะพร้าว พีทมอส เพียงอย่างเดียว และส่วนผสมของ ขี้เลื้อยและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ขี้เลื้อยและพีทมอส อัตราส่วน 1:1 พีทมอสและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 หัวชายผ้าสีดาสับหยาบและพีทมอส 1:1 กาบมะพร้าวสับหยาบและพีทมอส 1:1 และ พีทมอส ขุยมะพร้าว ขี้เลื้อย อัตราส่วน 1:1:1 พบว่าขนาดของใบกาบหุ้มต้นเฟิร์นชายผ้าสีดาสายผ้าม่านมีขนาดเพิ่มขึ้น มากที่สุดในวัสดุปลูกผสมระหว่าง พีทมอส ขุยมะพร้าว และขี้เลื้อย อัตราส่วน 1:1:1 มีขนาดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.00.1.06 เซนติเมตร ซึ่งแตกต่างจากวัสดุธรรมชาติอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อต้นกล้าเฟิร์นเจริญจนใบกาบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร นำมาทดลองปลูกติดกับต้นไม้ ได้แก่ ตะเคียน กระถินเทพา ยางพารา เงาะ ทุเรียน กฤษณา ที่ระดับความสูง 3 และ 5 เมตร พบว่า การเจริญของต้นกล้าเฟิร์นชายผ้าสีดาเจริญได้ดีทีสุดคือต้นอ่อนเฟิร์นที่เกาะต้นเงาะ ซึ่งการเจริญของเฟิร์นชายผ้าสีดาในสภาพธรรมชาติจะเกาะอยู่ที่คาคบไม้ที่สูงที่ได้รับแสงเพียงพอ มีความชื่นเหมาะสม

 

The optimum conditions for growth of Platycerium coronarium in the natural conditions

The plantlets of Platycerium coronarium were from spores which grown under the aseptic condition (Murashige & Skoog) were cultured in the greenhouse for 6 monthson various growing natural materials included sawdust, coconut dust, and peat moss, the mixed with the following ratios; coconut dust with peat moss: 1:1, sawdust with coconut dust: 1:1, sawdust with peat moss: 1:1, chopped fern roots with peat moss: 1:1, chopped coir with peat moss: 1:1 and peat moss t with coconut, dust with sawdus: 1:1:1. Plantlets grown in the mixture of peat moss, coconut dust and sawdust at ratio 1:1:1 werethe most significance in base fronds size at 2.00.1.06 centimeters in average. When the base fronds explants had 10 centimeters diameter, they were grown on the Iron wood, Kra Thin Te Pha, Agarwood, Rambutan, Durain and Para wood at level 3 and 5 meters height. The results found that the explants of Platycerium coronarium grew well on the Rambutan. The growth of Platycerium coronarium in the nature was perched on the high tree to get enough light and optimum moisture.

Article Details

How to Cite
ทิลารักษ์ ป. (2015). สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเฟิร์นชายผ้าสีดาสายผ้าม่าน (Platycerium coronarium) ในสภาพธรรมชาติ. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL, 3(1), 28–33. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/99303
Section
Research Article