จริยธรรมในการตีพิม์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ

             วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพื่อให้การตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาลด้านจริยธรรม
อย่างเคร่งครัด โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่และหลักการปฏิบัติตนที่ดีด้านจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของ
วารสารไว้ให้กับบรรณาธิการ (Editor) ผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไว้ดังต่อไปนี้  

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ

          1. บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความเบื้องต้นให้สอดคล้องกับนโยบายของวารสาร ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) และพิจารณาคุณภาพโดยรวมของบทความก่อนเข้าสู่ระบบการประเมินบทความ
          2. บรรณาธิการต้องมีความเป็นกลางในการคัดเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมิน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
          3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลา
ของการประเมินบทความ เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานอยู่ในหลักจริยธรรมและนโยบายของวารสาร
          4. บรรณาธิการต้องปฏิเสธการรับบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจากแหล่งเผยแพร่อื่น หรือบทความที่เคยผ่านการตีพิมพ์มาก่อน
          5. บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

          1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรอรับการประเมินต้องเป็นผลงานใหม่และไม่เคยผ่านการตีพิมพ์หรือ
อยู่ระหว่างการพิจารณาจากแหล่งเผยแพร่อื่น
          2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ของผู้อื่นและของตนเอง (Self-Plagiarism) และต้องอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในบทความของตนเอง และต้องเขียนเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ
          3. ผู้นิพนธ์ต้องศึกษาการใช้งานของระบบวารสารออนไลน์ (ThaiJo) และคำแนะนำในการส่งต้นฉบับให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำที่วารสารกำหนดทุกประการ
          4. ผู้นิพนธ์จำเป็นต้องนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญตามที่วารสารกำหนด เช่น วิธีการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลให้อยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง โดยจะไม่บิดเบือนข้อมูลจากความเป็นจริง
          5. ผู้นิพนธ์ร่วมในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดำเนินการวิจัยนั้นจริง
          6. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับการตัดสินใจจากบรรณาธิการวารสาร

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

          1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องศึกษาคำแนะนำในการส่งต้นฉบับ เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามหลักการที่วารสารกำหนดไว้
          2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาที่ประเมิน และประเมินบทความภายใต้หลักการและเหตุผล
ทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว
          3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องใช้หลักจริยธรรม ความยุติธรรม และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ตลอดจนไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความที่ตนได้รับเป็นผู้ประเมิน
          4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาประเมินให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด และรับผิดชอบต่อบทความที่รับประเมินโดยไม่เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้
          5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพบว่าบทความที่รับประเมินมีเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญ
จะต้องแจ้งให้บรรณาธิการรับทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
          6. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตรวจสอบว่าบทความที่รับประเมินนั้น มีความซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกบทความอื่นหรือไม่ หากพบว่ามีเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกอย่างมีนัยสำคัญจะต้องแจ้งปฏิเสธรับประเมินบทความให้วารสารรับทราบ