เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความของท่านไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • ท่านได้รับทราบและยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ใน “คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ” ที่ทางกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ ได้กำหนดขึ้นเรียบร้อยแล้ว
  • ท่านยินดีให้กองบรรณาธิการมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาหากไม่จัดรูปแบบตามที่กำหนด
  • ท่านยินยอมให้ทางวารสารมีสิทธิในการเลือกสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิโดยอิสระเพื่อพิจารณาต้นฉบับที่ท่าน (และผู้แต่งร่วม) ส่งมา
  • ท่านยินยอมให้กองบรรณาธิการสามารถตรวจแก้ไขต้นฉบับดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร
  • ท่านยินยอมว่าบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ ถือเป็นสิทธิของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • หากท่านมีความประสงค์ในการยกเลิกการพิจารณาบทความซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิท่านยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการตามกระบวนการของวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ ตามที่จ่ายจริง

1. ผู้ที่รับผิดชอบส่งบทความ (Corresponding author) สมัครสมาชิกผ่านระบบ ThaiJo วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ  https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/
2. เรื่องที่ลงตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการรอพิจารณาจากวารสารอื่น รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์จบในฉบับ พิมพ์หน้าเดียว (ไม่ต้องจัดสองคอลัมน์) ด้วยกระดาษสีขาวขนาด A4 (หรือ 8.5 × 11 นิ้ว) จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสารทั่วไป เช่น MS Word ส่วนของเนื้อหาต้นฉบับภาษาไทยและต้นฉบับภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบอักษร Cordia UPC ขนาด 14 pts. พิมพ์แบบเสมอหน้า-หลัง (justified)
4. ประเภทของผลงาน
4.1 บทความวิจัย (Research article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า มีหัวข้อตามลำดับดังนี้
ชื่อเรื่อง (Title): ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ชื่อ (Author) และหน่วยงาน (Affiliation): ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ (Abstract): บทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องมีความยาวระหว่าง 200-300 คำ
คำสำคัญ (Keywords): ไม่เกิน 7 คำ เรียงลำดับตามความสำคัญ โดยวางไว้ท้ายบทคัดย่อ และคำสำคัญภาษาอังกฤษต้องสอดคล้องกับภาษาไทย
บทนำ (Introduction): นำเสนอความสำคัญ ที่มาของปัญหาวิจัยและสาระสำคัญจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมการตรวจเอกสารบางส่วนไว้ด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้นำเสนอไว้ตอนท้ายของบทนำ
วิธีการศึกษา (Methodology): อธิบายรายละเอียดวิธีการศึกษาให้กระชับและเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย แผนการทดลองที่ใช้ รายละเอียดของหน่วยทดลอง วิธีการทดลอง การบันทึกข้อมูลอย่างชัดเจน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสม พร้อมระบุสถานที่และช่วงเวลาดำเนินการวิจัย
ผลการศึกษา (Results): บรรยายผลการวิจัยที่ศึกษาได้ อาจแสดงในรูปของตารางหรือภาพประกอบ ควรมีคำอธิบายตารางหรือภาพให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการบรรยายซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือภาพประกอบ
อภิปรายผล (Discussion): อธิบายเหตุผลที่ได้จากการศึกษา แสดงความเชื่อมโยงกับสมมติฐานและหลักทฤษฎีหรือแนวคิด ตลอดจนเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนหรือความต่างในสาระสำคัญกับผลการศึกษาของผู้อื่น
สรุป (Conclusion): เป็นการสรุปผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์หรือประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไปในอนาคต
คำขอบคุณ (Acknowledgement) (ถ้ามี): เป็นการแสดงความขอบคุณสำหรับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย และผู้ช่วยเหลืองานวิจัย (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย)
เอกสารอ้างอิง (References): ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามข้อ 7
หมายเหตุ: ผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and discussion): อาจเขียนรวมหรือแยกกันก็ได้ตามความเหมาะสม
4.2 บทความวิชาการ (Academic article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า นำเสนอประเด็นทางวิชาการที่ค้นคว้าได้จากเอกสารวิชาการทั่วไป สามารถสอดแทรกความเห็นของผู้เขียนได้บนพื้นฐานของการอ้างอิงทางวิชาการ รูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง และให้คงสาระสำคัญของบทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และอภิปรายผล
4.3 บทความปริทัศน์ (Review article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า การเรียบเรียงเนื้อหาทางวิชาการที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม (literature review) จากเอกสารงานวิจัยหลาย ๆ เรื่อง (ไม่ควรน้อยกว่า 15 เรื่อง) นำเสนอประเด็น/ ข้อเท็จจริง/ ข้อสรุป จำแนกเป็นหัวข้อให้เหมาะสม ควรสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนบนพื้นฐานของการอ้างอิงทางวิชาการ รูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง และให้คงสาระสำคัญของบทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และอภิปรายผล
4.4 บทความรับเชิญ (Invited article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า รูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง และให้คงสาระสำคัญของบทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และอภิปรายผล
5. การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้ระบบ ชื่อ - ปี (author - date citation system) เช่น Vangpikul, & Wongsak (2016) รายงานว่า... หรือ....(Vangpikul, & Wongsak, 2016) Vangpikul, Wongsak, Boonnoon, Songthong, & Chaitharee (2016) รายงานว่า...หรือ (Vangpikul, Wongsak, Boonnoon, Songthong, & Chaitharee, 2016) กรณีที่ผู้เขียน 6 คนขึ้นไป ให้ใช้ Vangpikul et al. (1980) รายงานว่า…หรือ...(Vangpikul et al., 1980) กรณีที่มีหลายการอ้างอิงในเรื่องเดียวกัน ให้ใช้…(Gardner et al., 1981; Wongsak et al., 1983; Boonnoon, 1985; Johnson, & Anderson, 1999) โดยเรียงตามปีที่พิมพ์
6. ตารางและภาพประกอบ ชื่อ คำอธิบายในตารางและภาพประกอบให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด การใส่หมายเหตุ (footnote) ของตารางให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงคำอธิบาย เช่น 1/, 2/ เป็นต้น ชื่อตารางให้วางอยู่เหนือตาราง เช่น Table 1 Antioxidant activities of …. ส่วนชื่อภาพประกอบให้วางอยู่ใต้ภาพ เช่น Figure 1 Disease levels according to …. การแสดงนัยสำคัญให้ใช้สัญลักษณ์  " * " หรือ " ** " สำหรับ P<0.05 และ P<0.01 ตามลำดับ หน่วยในตาราง (รวมถึงในเนื้อเรื่อง) ให้ใช้ระบบเมตริกซ์และหน่วยวัดให้เขียนชื่อหน่วยเต็ม เช่น กิโลกรัม กิโลเมตร มิลลิกรัม มิลลิลิตร เป็นต้น ตารางไม่ควรมีเส้นแบ่งสดมภ์ (column) ยกเว้นกรณีจำเป็น
7. เอกสารอ้างอิง ที่ใช้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และบรรณานุกรม (Bibliography) ที่ใช้ประกอบและประมวลในการเขียนแต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้อ้างอิงตามรูปแบบ APA (American Psychological Association) โดยผู้เขียนบทความภาษาไทยที่มีรายการอ้างอิงเป็นภาษาไทย ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษาอังกฤษทุกรายการและยังคงรายการอ้างอิงภาษาไทยเดิมไว้ด้วย เพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องในการแปล ตัวอย่างเช่น
มนตรี สังข์ทอง. (2556). การศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ในการวิเคราะห์พหุระดับ เมื่อกลุ่ม
          ตัวอย่างมีขนาดเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 18(1), 116-124.
Sonktong, M. (2013). The study of efficiency of parameter estimation methods in multilevel  
          analysis of small sample groups. Journal of Burapha University, 18(1), 116-124.
7.1 เรียงลำดับเอกสาร โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ และตามจำนวนผู้เขียนกรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี
7.2 การพิมพ์บรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่อง อักษรตัวแรกห่างจากริมกระดาษด้านซ้ายหนึ่งนิ้วครึ่ง บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อไปให้ย่อหน้าโดยเว้น 5 ตัวอักษร นับจากอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง (เริ่มพิมพ์ในระดับตัวอักษรที่ 6)
7.3 การอ้างอิงวารสาร (Journal)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าเริ่มต้น-หน้าสุดท้าย.
Watjanatepin, N., & Boonmee, C. (2015). Testing of the efficiency of the module-grid inverter with
          three different types of PV Modules: In the operation of Thailand. RMUTSB Academic Journal,
          3
(2), 137-147.
7.4 การอ้างอิงตำรา (Text book) และหนังสือ
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
Kelly, A. F. (1988). Seed production of agriculture crops. New York: John Wiley & Sons.
7.5 การอ้างอิงวิทยานิพนธ์ (Thesis)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันการศึกษา,
          สถานที่พิมพ์.
Boonlertnirun, S. (2006). Effects of chitosan on agronomic characters and some physiological
          responses of rice (Oryza sativa L.) cultivar Suphan Buri 1 under drought condition
(Doctoral
          dissertation). Kasetsart University, Bangkok.
7.6 การอ้างอิงเรื่องย่อยในตำราหรือหนังสือทีมีผู้เขียนแยกเรื่องกันเขียน และมีบรรณาธิการ (Chapter in a book)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่องย่อย. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อหนังสือ (เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าที่สิ้นสุด).
          เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
Kubo, T. (2003). Molecular analysis of the honeybee sociality. In T. Kikuchi, N. Azuma & S. Higashi
          (Eds.), Gene, behaviors and evolution of social insects (pp. 3-20). Sapporo: Hokkaido university
           press.
7.7 การอ้างอิงรายงานการวิจัย (Research report)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). เมืองที่พิมพ์: สถาบัน หน่วยงานหรือสำนักพิมพ์.
Theraumpon, N. (2003). Automatic classification of white blood cells in bone marrow images (research
          report). Chiangmai: Chiangmai University.
7.8 การอ้างอิงจากเอกสารประชุมวิชาการ (Proceedings)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน บรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อเรื่องการประชุม (เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าที่สิ้นสุด).
          เมือง สถานทีจัด: หน่วยงานที่จัดหรือสำนักพิมพ์.
Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services export:
          Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.),
          Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia
          Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness
(pp. 8-110).
          Perth: Murdoch University.
7.9 การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online document)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สืบค้น วัน เดือน ปี, จาก URL.
Linardakis, D. K., & Manois, B. I. (2005). Hydroponic culture of strawberries in perlite. Retrieved 21 
           April 2005, from http://www.schundler.com/strawberries.htm
8. การส่งต้นฉบับ ส่งออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/ และผู้เขียนสามารถตรวจสอบสถานะในเว็บไซต์ดังกล่าวได้
9. การตรวจแก้ไขและการยอมรับการตีพิมพ์
9.1 การติดต่อผู้เขียนเพื่อการตรวจแก้ไขหรือตอบรับ/ ปฏิเสธการตีพิมพ์ จะดำเนินการผ่านทางระบบ ThaiJo ผู้เขียนสามารถติดตามสถานภาพของต้นฉบับที่ ส่งได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/
9.2 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้ตรวจอ่าน (ทั้งภายในและภายนอก) อย่างน้อย 3 ท่าน จึงจะยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร
9.3 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งไปลงพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่จำเป็นจะส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้วคืนผู้เขียนเพื่อความเห็นชอบอีกครั้งก่อนพิมพ์
10. ลิขสิทธิ์
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นฉบับและของวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ เนื้อหาบทความในวารสารเป็นแนวคิดของผู้แต่ง มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะกรรมการจัดทำวารสาร และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
11. ยินยอมการตีพิมพ์บทความลงในวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ
ก่อนที่บทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้เขียนที่เป็น corresponding author เสียก่อน
12. เกณฑ์การประเมินบทความ
กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับเพื่อทำการแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อย่างน้อย 3 ท่าน และเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียน/corresponding author จะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ