การพัฒนาระบบค้นหาเป้าหมายปืนใหญ่ด้วยเสียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบค้นหาตำแหน่งเป้าหมายจากแหล่งกำเนิดเสียงปืนใหญ่ เพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการรบของหน่วยทหารปืนใหญ่ การพัฒนาระบบค้นหาตำแหน่งของปืนใหญ่ด้วยเสียงเป็นวิธีการค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่ฝ่ายข้าศึกด้วยวิธีเชิงรับ (passive attack) หลักการคืออาศัยการรับเสียงการยิงปืนใหญ่ของฝ่ายข้าศึกและนำมาคำนวณโดยใช้วิธีหาความต่างของเวลาการรับสัญญาณ (time difference of arrivals : TDOA) ซึ่งเป็นวิธีการประมาณค่าความต่างทางเวลาของสัญญาณเสียงที่เดินทางมาถึงตัวรับสัญญาณเสียงแต่ละตัว งานวิจัยได้ดำเนินการ 1) พัฒนาเครื่องมือรับสัญญาณเสียงปืนใหญ่จำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยตัวรับสัญญาณเสียง 6 ตัว 2) พัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณผ่านวิทยุสื่อสารย่านความถี่ วี เอช เอฟ (VHF) และ 3) พัฒนาโปรแกรมคำนวณหาพิกัดเสียงปืนใหญ่ และมีการเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณด้วยการใช้ผลการวัดทางอุตุนิยมวิทยาจากเครื่องมือตรวจอากาศร่วมด้วย
ผลของการวิจัย จากการทดสอบระบบค้นหาเป้าหมายปืนใหญ่ด้วยเสียง ในพื้นที่ทดสอบคือสนามยิงปืนใหญ่ของศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งในสนามทดสอบมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่แนวราบมีเขาความสูงไม่เกิน 440 เมตร ล้อมรอบ ระบบสามารถให้ความถูกต้องแม่นยำอยู่ในระดับที่ดี เกิดความผิดพลาดของการคำนวณพิกัดตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงปืนใหญ่อยู่ในระยะผิดพลาดไม่เกิน 600 เมตร และระบบสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ครอบคลุมระยะทางการรับสัญญาณเสียงปืนใหญ่ไปทางด้านหน้า 10 ตารางกิโลเมตร และผลของการประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ผลว่าระบบมีความสมบูรณ์และน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ดี
Article Details
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นฉบับและของวารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ เนื้อหาบทความในวารสารเป็นแนวคิดของผู้แต่ง มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะกรรมการการจัดทำวารสาร และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
References
เชิดพงษ์ จอมเดช, และอาษา ประทีปเสน. (2549). หัวตรวจสอบอุคูสติกอีมิสชั่นแบบเรโซแนนซ์ โดยใช้เพียโซอิเล็กทริกเซรามิกส์ผลึกเดีย (คุณลักษณะและคุณสมบัติในการตรวจสอบ). วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 29(4), 483-498.
ชมพล อามระดิษ. (2550). การปรับโครงสร้างระบบการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ศึกษาเฉพาะกรณี กองทัพภาคที่ 1 (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นราเทพ พฤกษหิรัญ. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเรดาร์ SAR (Synthetic aperture radar). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
Baluta, S., & Andrei, G. (2012). Determining the coordinates of a hostile gunfire by using the sound ranging method. In Proceeding of the International Conference of Scientific Paper AFASES (pp. 637-640). Brasov, Romania: Association for research and education.
Fear, E. C., Meaney, P. M., & Stuchly, M. A. (2003). Microwaves for breast cancer detection?. IEEE Potentials, 22(1), 12-18.
Gillette, M. D., & Silverman, H. F. (2008). A linear closed-form algorithm for source localization from time-differences of arrival. IEEE Signal Processing Letters, 15, 1-4.
Potluri, S. (2002). Hyperbolic position location estimator with TDOAS from four stations (Master’s thesis). New Jersey Institute of Technology, USA.
Schermerhorn, E. (2015). Sound source localization using a 2D acoustic vector sensor (Research report). Netherlands: University of Twente.
Sterling, C. H. (2008). Military communications: from ancient times to the 21st century. California: Santa Barbara.
Talbot-Smith, M. (2000). Sound engineer’s pocket book (2nd Ed.). USA: Focal Press.
Wu, S. F., & Zhu, N. (2013). Passive sonic detection and ranging for locating sound sources. J Acoust Soc Am., 133(6), 4054-4064.