การปรับปรุงผังโรงงานของกระบวนการผลิตเครื่องครัวสเตนเลส ด้วย CORELAP และวิธีกราฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้การออกแบบผังโรงงานใหม่มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงนั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผู้วิจัยได้เลือกศึกษากระบวนการผลิตอุปกรณ์ครัวเรือนจากสเตนเลสของโรงงานขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังพบปัญหาการวางตำแหน่งเครื่องจักรไม่เหมาะสม เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่องกันควรจัดวางในตำแหน่งที่ใกล้กันแต่กลับถูกติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ห่างกันทำให้ใช้เวลานานในการขนย้าย ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงตาม นอกจากนี้จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังไม่ดี การแข่งขันในตลาดสูง โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต งานวิจัยนี้ต้องการออกแบบและปรับปรุงผังโรงงานดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการวางผังด้วย CORELAP (computerized relationship layout planning) และวิธีกราฟ (graph–based method) จากนั้นนำมาเปรียบเทียบด้วยด้วยค่าคะแนนรวมความสัมพันธ์ (adjacency based scoring) พบว่ามีคะแนนสูงสุดเท่ากัน ดังนั้นผู้วิจัยเลือกผังโรงงานรูปแบบ CORELAP เนื่องจากระยะทางการขนย้ายรวมแบบ rectilinear น้อยกว่าและมีพื้นที่เหลือมากกว่าผังโรงงานรูปแบบวิธีกราฟ สามารถลดระยะทางการขนย้ายโดยรวมเปรียบเทียบกับผังปัจจุบันจากเดิม 97.50 เมตร เหลือเป็น 60 เมตร หรือลดลงร้อยละ 38.50 ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของการขนย้ายวัสดุหรือต้นทุนการผลิตนั่นเอง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นฉบับและของวารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ เนื้อหาบทความในวารสารเป็นแนวคิดของผู้แต่ง มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะกรรมการการจัดทำวารสาร และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
References
Boonmee, C., Pichailar, K., & Matpan, S. (2022). Factory layout improvement for wood furniture manufacturing. Thai Industrial Engineering Network Journal, 8(1), 39-51. (in Thai)
Boonrak, N., Cheewaworanontree, Y., & Tantibadaro, V. (2021). A selection of plant layouts with analytical hierarchy process: A case study of transformer manufacturing process. Journal of Energy and Environment Technology, 8(2), 68-78. (in Thai)
Chainavakul, A., Muangwai, A., & Khanongnuch, T. (2019). Efficiency improvement of material flow by using plant layout improvement. Industrial Technology and Engineering Pibulsongkram Rajabhat University Journal, 1(2), 12-19. (in Thai)
Chantrasa, R. (2021). Multi-criteria for plant layout evaluation using analytic hierarchy process combined with goal programming model: A case study of an automotive part industry. Thai Industrial Engineering Network Journal, 6(2), 28-41. (in Thai)
Homsri, P. (2021). A plant layout improvement to increasing productivity: A case study downlight manufacturer. Journal of Engineering and Digital Technology, 9(2), 25-36. (in Thai)
Klomjit, P. (2012). Industrial plant design for safety and productivity. Bangkok: SE-Education. (in Thai)
Lertwichitpan, M. (2006). Stress corrosion cracking of welded AISI 304 austenitic stainless steel. The Journal of Industrial Technology, 2(Special Issue: the 60th Anniversary Celebration of His Majesty’s Accession to the Throne), 101-106. (in Thai)
Niemsakul, J. (2019). Storage layout arrangement in warehouse: A case study of tire manufacturing company. Sripatum Chonburi Journal, 15(4), 67-77. (in Thai)
Pakdeewanich, C., & Thongprom, S. (2020). Inspection process improvement for automotive parts: A case study of chassis. Industrial Technology and Engineering Pibulsongkram Rajabhat University Journal, 2(2), 37-51. (in Thai)
Pinchaimoon, A., Jinta-amornchai, K., & Sirirak, N. (2021). Plant layout and design of noodle factory. Thai Industrial Engineering Network Journal, 7(2), 13-20. (in Thai)
Treesat, S. (2011). Plant layout and design. Bangkok: S. Asia-place. (in Thai)
Yongthaimetal. (2013). Knowledge of stainless steel. Retrieved 26 October 2022, from https://www.yongthaimetal.com/ (in Thai)