เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับเพื่อรับการพิจารณาก่อนตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของกองบรรณาธิการ ดังนี้
    1. ส่งต้นฉบับบทความ
    2. ส่งแบบเสนอต้นฉบับ
    3. ตรวจสอบ Format ต้นฉบับให้ถูกต้องตามที่วารสารกำหนด
    หากไม่ถูกต้องตามกำหนดวารสารจะไม่รับพิจารณา โดยสามารถศึกษาได้จาก เอกสาร คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
  • เป็นบทความซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน มีความน่าสนใจ และไม่ล้าสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • กรุณาให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านไว้
    ใน 'ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comment for Editor)' และกดบันทึกรวมถึงหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ในช่องทางดังกล่าว
  • การทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์ ทางวารสารจะติดต่อและแจ้งข้อความต่าง ๆ ผ่านอีเมลของท่านที่ได้กรอกเข้าสู่ระบบเป็นหลัก เพื่อให้เข้ามารับ-ส่ง ข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์วารสารฯ

    ** ดังนั้นขอให้ตรวจสอบกล่องจดหมายของท่านว่าได้รับอีเมลของวารสารฯ หรือไม่ และหากไม่ได้รับอีเมลใด ๆ หลังจากส่งบทความนี้ (บางครั้งอาจตกอยู่ใน spam mail) กรุณาติดต่อที่ ubuscij@ubu.ac.th
  • วารสารฯ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งบทความ
    บทความละ 3,000 บาท (ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ)
       

 ดาวน์โหลดเอกสาร
ดาวน์โหลดเทมเพลตของวารสารฯ ได้ที่นี่ >>> Template
1. คำแนะนำผู้เขียน
2. แบบเสนอต้นฉบับ
3. แบบพิจารณาและชี้แจงการแก้ไข (สำหรับผู้เขียนที่ผ่านสู่กระบวนการพิจารณาของวารสาร และสำหรับผู้ประเมิน)

ค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป)
บทความละ 3,000 บาท 
(ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อทำการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป)

การชำระค่าธรรมเนียม 
        
กองบรรณาธิการกำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ผ่านทางบัญชีธนาคารเท่านั้น
               เลขที่บัญชี 393 0 18588 1 
               ชื่อบัญชี  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
               ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ 
               ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
          หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบหรืออีเมล ubuscij@ubu.ac.th 
          เพื่อกองบรรณาธิการจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

* หมายเหตุ : การชำระค่าธรรมเนียมในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น ไม่ได้ถือว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสมอไป เพราะจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการก่อน ซึ่งบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน จึงจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้เขียนได้ว่าบทความผ่านการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้เขียน ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือไม่ก็ตาม

ข้อตกลงในการส่งบทความเพื่อการตีพิมพ์ ดังนี้
1. บทความที่ส่งเพื่อการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ในเวลาเดียวกัน
    1.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการถอนบทความจากการตีพิมพ์ ต้องแจ้งบรรณาธิการโดยตรงให้เร็วที่สุด
3. หากถ้าผู้เขียนไม่แก้ไขบทความตามเวลาที่กำหนด ทางวารสารจะดำเนินการพิจารณาถอนบทความออกจากกระบวนการของวารสาร
4. บทความจะได้รับการตีพิมพ์เมื่อผู้เขียนแก้ไขตามข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาตามขั้นตอนของวารสารเรียบร้อยแล้วท่านจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ และเมื่อบทความตีพิมพ์ท่านสามารถปริ้นบทความได้ทุกหน้า (วารสารงดการตีพิมพ์แบบเล่ม)

การเตรียมต้นฉบับ ความยาวทั้งเรื่อง (รวมเอกสารอ้างอิง) ไม่เกิน 20 หน้ากระดาษ

1.บทความวิจัย (Research Article) พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word เป็นหน้าเดียว
มีความยาวไม่น้อย 10 หน้ากระดาษ A4  (แต่ไม่ควรเกิน 15 หน้ากระดาษ A4)
ในหน้าแรกจัดเป็นคอลัมน์เดียว ประกอบด้วย > ชื่อเรื่อง > ชื่อผู้เขียน (Title) > สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors)
อีเมลผู้เขียน (Contact address of correspondence) > บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 3-5 คำ)
*โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

จากนั้นตามด้วย 'เนื้อเรื่อง' จัดเป็น 2 คอมลัมน์ ประกอบไปด้วยหัวข้อ
- บทนำ (Introduction)
- ขอบเขตการวิจัย
-  กรอบแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
- วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการวิจัย/ทดลอง (Materials and Methods)
- ผลการวิจัย/ทดลอง (Results)
- วิจารณ์/อภิปลายผล (Discussion)
- บทสรุป (Conclusion)
กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
และ เอกสารอ้างอิง 

 2. บทความวิชาการ (Academic Article)
องค์ประกอบของเนื้อเรื่องอาจจะคล้ายคลึงกับบทความวิจัยแต่ไม่มีเนื้อหาของ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทดลองผลการวิจัย หรือผลการทดลอง เป็นต้น
เพื่อความสะดวกในการแก้ไข ควรใช้โปรแกรม Microsoft Word for Windows พิมพ์บนกระดาษ A4 โดยตั้งหน้ากระดาษ

การกำหนดจัดรูปแบบตัวอักษร
ภาษาไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วยฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 13 พอยต์ ตามรายละเอียดนี้

ตั้งค่าหน้ากระดาษ A4
ขอบกระดาษด้านบน-ล่าง                   2.54 ซม.
ขอบกระดาษด้านซ้ายและขวา            2.54 ซม.
ระยะห่างระหว่างคอลัมน์                     1 ซม.
เว้นหัวกระดาษและท้ายกระดาษ         1.25 ซม.

 

การนำเสนอรูปภาพและตาราง

การนำเสนอรูปภาพให้ใช้คำว่า “Figure(s) ” ตามด้วยตัวเลขลำดับที่ของรูปภาพ การนำเสนอตาราง ให้ใช้คำว่า “Table(s)” ตามด้วยตัวเลขลำดับที่ของตารางนำเสนอข้อมูลตารางควรออกแบบให้เหมาะสม จากนั้นทำการแทรกตารางจัดรูปแบบ “ไม่มีเส้นตั้งและเส้นขอบภายใน ขอบบนและขอบล่างเป็นเส้นเดี่ยว” จะต้องมีความกว้างเพียงพอที่จะลงในหนึ่งคอลัมน์ได้*ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษารายละเอียดในภาพอาจยอมให้มีความกว้างได้เต็มหน้ากระดาษ (จัดเฉพาะรูปแบบของรูปภาพเป็น 1 คอลัมน์) โดยสามารถมองเห็นรายละเอียดและอ่านตัวหนังสือในภาพได้ชัดเจนทั้งนี้ คำบรรยายในภาพและใต้รูปภาพใช้เป็นภาษาอังกฤษ คำบรรยายนี้รวมกันแล้วมีความยาวไม่เกิน 1 บรรทัด หรืออย่างมากที่สุดไม่เกิน 2 บรรทัด

 

เอกสารอ้างอิง (TH SarabunPSK 13 ตัวหนา)

พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ขนาด 13 ตัวไม่หนา Line spacing 1.0 จัดชิดขวา

การเขียนอ้างอิงส่วนท้าย (Reference list) จะต้องเรียงตามลำดับบทความที่เขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่อง

**เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษา อังกฤษ และให้เพิ่มคำว่า (in Thai) ไว้ตอนท้ายการอ้างอิง

ให้ใช้การอ้างอิงแบบ IEEE คือทุกเรื่องที่ปรากฏในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีการอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่เขียนโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

- เขียนเรียงลำดับหมายเลขที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง

- เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย ให้เพิ่ม (in Thai) ไว้ตอนท้ายการอ้างอิง

- เขียนชื่อผู้ร่วมแต่งบทความ ไม่เกิน 3 คน ให้เขียนเรียงทุกคน และคั่นด้วย จุลภาค (,) คนสุดท้ายให้เชื่อมด้วย “and”

- ในกรณีที่ร่วมแต่งบทความเกิน 3 คน ให้เขียนเฉพาะชื่อผู้เขียนคนแรกและตามด้วย “and et al.”

Journal article

[1] Aydogan, A. and Gurol, M.D. 2006. Application of gaseous ozone for inactivation of Bacillus subtilis spores. Journal of the Air & Waste Management Association. 56(2): 179-185.

[2] Bamroongwong, S. and et al. 1991. Scanning electron microscopic study of the splenic vascular casts of common tree shrew (Tupaia glis). Anatomy and Embryology. 184(3): 301-304.

[3] Koolkalya, S., Matchakuea, U. and Jutagate, T. 2016. Catch status and trend analysis of Brachyuran fisheries in the Gulf of Thailand. Burapha Science Journal. 22(1): 240-252. (in Thai)

[4] Kanawong, N. and et al. 2020. Examination of antibacterial efficiency of ozone generator. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 22(3): 45-52. (in Thai)

Book

[5] Wyatt, D.K. 1984. Thailand: a Short History. New Haven: Yale University Press.

[6] Suvarnaraksha, A. 2013. Ichthyology. Chiangmai: Maejo University Press. (in Thai)

Edited Book Chapter

[7] Wambugu, F. 2002. Why Africa needs agricultural biotech? In: M. Ruse and D. Castle (eds.) Genetically Modified Foods: Debating Biotechnology, NY: Prometheus Books.

[8] Sukosol, T. 1980. Antigen and antibody In: Sarasombat S. (ed.) Immunology, Bangkok, K-T Printing. (in Thai)

Conference Proceedings

[9] Jagacinski, N. and Gongjin, Z. 1990. Agricultural sacrifice and village culture of Dai people. In: Proceedings of the 4th International Conference on Thai Studies, 11-13 May 1990. Kunming, China.

[10] Ployyod, Y. and Porntrai, S. 2016. Chromosome simulation: activity for teaching mitotic cell division. In: Proceedings of the 10th National Research Conference of Ubon Ratchathani University, 7-8 July 2016. Ubon Ratchathani, Thailand. (in Thai)

Thesis / Dissertation

[11] Hanmanop, S. 2010. The therapeutic effects of white Kwao Krua Pueraria mirifica Airy, Shaw & Suvatabandhu on ovariectomy-induced osteoporotic rats. M.Sc. Thesis, Chulalongkorn University. (in Thai)

[12] Sidthilaw, S. 1996. Impact force and kinematic analysis of roundhouse kicks in Thai boxing. PhD Dissertation, Department of Biomechanics, Oregon State University.

Websites

[13] Buis, A. and Lynch, P. 2016. NASA releases new eye-popping view of carbon dioxide. https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=6701. Accessed 14 January 2017.

[14] Pantoom, J. 2008. Food from corn. https://www.ku.ac.th/agri/cornn/corn.html. Accessed 14 February 2017. (in Thai)

 

หมายเหตุ

สำหรับบทความวิจัยภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบเดียวกับบทความวิจัยภาษไทย เพียงแต่

  1.  บทนำ เปลี่ยนเป็น 1. Introduction
  2. วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการวิจัย เปลี่ยนเป็น 2. Materials and methods ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย เปลี่ยนเป็น 3. Results and discussion
  3. บทสรุป ให้เปลี่ยนเป็น 4. Conclusion
  4. กิตติกรรมประกาศ เปลี่ยนเป็น 5. Acknowledgements
  5. การมีส่วนร่วมในบทความ เปลี่ยนเป็น 6. Authors’ contribution
  6. เอกสารอ้างอิง เปลี่ยนเป็น 6. References

สำหรับบทความวิชาการให้ใช้รูปแบบเดียวกับบทความวิจัย เพียงแต่ให้คงหัวข้อ บทนำ บทสรุป กิตติกรรมประกาศ และ เอกสารอ้างอิง ไว้

โดยเนื้อหาภายในบทความให้มีหัวข้อได้ตามความเหมาะสม หัวข้อทุกหัวข้อให้มีหมายเลขหน้าหัวข้อเช่นเดียวกับในบทความวิจัย