การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเบียร์จากเมล็ดข้าวโพดงอก และความเป็นไปได้ในการใช้เบียร์และสิ่งที่ได้จากกระบวนการผลิตเบียร์ข้าวโพดเป็นอาหารเสริมในการผลิตโคเนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารเมล็ดข้าวโพดจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ นครสวรรค์ 3, คาร์กิล 339, แปซิฟิก 339 และเคพี 102พบว่าข้าวโพดสายพันธุ์คาร์กิลล์ 919 มีคุณสมบัติในการนำไปผลิตมอลต์ดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์ความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเยื่อใย เท่ากับ 45.40%, 3.02%, 11.07%, 4.96%, 33.06% และ 2.48% ตามลำดับ และเมื่อนำไปทำการผลิตเบียร์จากสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตพบว่าในกากเบียร์มีเปอร์เซ็นต์เถ้า โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เยื่อใย และพลังงานรวม เท่ากับ 0.90%, 13.11%, 76.46%, 2.70%, 2.98% และ 4,439.36 (kcal/kg) ตามลำดับ ในขณะที่กากยีสต์มีปริมาณโภชนะ เท่ากับ 2.24%, 17.40%, 59.85%, 11.62%, 2.23% และ 4,712.80 (kcal/kg) ตามลำดับ และในเบียร์ข้าวโพดเพาะงอกพบว่ามีเปอร์เซ็นต์โปรตีน ไขมัน แอลกอฮอล์ และน้ำตาลทั้งหมด เท่ากับ 0.64%, 3.51%, 1.80% (v/v) และ 27.00 (g/L) ตามลำดับ จากค่าโภชนะข้างต้นพบว่าสามารถนำกากเบียร์ไปใช้เป็นอาหารข้นพลังงานสำหรับโคเนื้อ กากยีสต์สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของวัตถุดิบในอาหารสัตว์ และเบียร์ข้าวโพดเพาะงอกจัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มเบียร์ที่มีดีกรีต่ำไม่ส่งผลอันตรายต่อสัตว์
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว