องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติการต้านออกซิเดชันของปลาร้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี การย่อยสลายของโปรตีน และสมบัติการต้านออกซิเดชันของปลาร้า 2 ชนิด จาก 3 แหล่งผลิต (I, II, III) ในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่า ปลาร้าทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ปลาร้าต่วง (type A) และปลาร้าแกง (type B) มีปริมาณโปรตีน ไขมัน และเถ้า ร้อยละ 17.17-22.59 3.5-12.68 และ 59.29-69.11 ของน้ำหนักตัวอย่างแห้ง ตามลำดับ ค่าพีเอชของปลาร้า type A มีค่าระหว่าง 6.64-7.14 และปลาร้า type B มีค่าระหว่าง 5.28-5.43 โดยค่าพีเอชดังกล่าวสอดคล้องกับปริมาณกรดทั้งหมดในตัวอย่าง ค่า DPPH radical scavenging activity ของปลาร้า type A จากแหล่งผลิต I มีค่าสูงกว่าตัวอย่างอื่น (P<0.05) ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับผลการย่อยสลายโปรตีน ได้แก่ ปริมาณโอลิโกเพปไทด์ที่ละลายได้ในกรดไตรคลอโรอะซิติก ปริมาณด่างที่ระเหยได้ทั้งหมด และปริมาณแอลฟาอะมิโน ค่า ABTS radical scavenging activity และ reducing power ของปลาร้า type B มีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างอื่น (P< 0.05) อย่างไรก็ตามตัวอย่างปลาร้า type A ทุกตัวอย่างมีค่า metal chelating activity สูงมากกว่าร้อยละ 96 ขณะที่ปลาร้า type B มีค่าดังกล่าวอยู่ระหว่างร้อยละ 16.90-23.38
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว