การพัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบ

Main Article Content

วิภาวดี พันธ์หนองหว้า
ศกลวรรณ หวังเป็น
กฤษติกา คุตะวรรณ

บทคัดย่อ

เม็ดไข่มุกที่นิยมใส่ในชานมไข่มุกโดยทั่วไปผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแป้งมันม่วงญี่ปุ่น ซึ่งอุดมด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเม็ดไข่มุก ในการทดสอบเบื้องต้นพบว่าสูตรของเม็ดไข่มุกแป้งมันสำปะหลังที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์สี การทดสอบทางประสาทสัมผัส และการวิเคราะห์เนื้อสัมผัส คือ สูตรที่ประกอบด้วย แป้งมันสำปะหลัง 90 กรัม น้ำตาลสีรำ 45 กรัม และน้ำ 60 กรัม ดังนั้นจึงใช้สูตรของเม็ดไข่มุกแป้งมันสำปะหลังดังกล่าวเป็นสูตรควบคุม (สูตร F1) สำหรับการพัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบ ในการศึกษานี้ได้พัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบขึ้น 3 สูตร คือ S1, S2 และ S3 โดยมีการใช้แป้งมันม่วงญี่ปุ่นทดแทนแป้งมันสำปะหลังในอัตราร้อยละ 10, 20 และ 30 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สี การทดสอบทางประสาทสัมผัส การวิเคราะห์เนื้อสัมผัส การหาค่าน้ำหนักที่ได้หลังการต้ม และการหาค่าปริมาณของแข็งที่สูญเสียระหว่างการต้ม พบว่าสูตร S1 เป็นสูตรที่ให้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงนำสูตรดังกล่าว (สูตร S1) และสูตรควบคุม (สูตร F1) ไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ผลการทดลองพบว่าสูตร S1 มีปริมาณแอนโทไซยานินที่สูงกว่าสูตรควบคุม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำแป้งมันม่วงญี่ปุ่นมาทดแทนแป้งมันสำปะหลังบางส่วนในการผลิตเม็ดไข่มุกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับเม็ดไข่มุก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิภาวดี พันธ์หนองหว้า, เทคโนโลยีการอาหาร

เทคโนโลยีการอาหาร

References

Jubril, I., Muazu, J. and Mohammed, G.T. 2012. Effects of phosphate modified and pregelatinized sweet potato starches on disintegrant property of paracetamol tablet formulations. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 2(2): 32-36.

Yadav, B.S., Guleria, P. and Yadav, R.B. 2013. Hydrothermal modification of Indian water chestnut starch: Influence of heat-moisture treatment and annealing on the physiochemical, gelatinization and pasting characteristics. LWT-Food Science and Technology. 53: 211-217.

Liao, L. and et al. 2019. Structural properties of sweet potato starch and its vermicelli quality as affected by heat-moisture treatment. International Journal of Food Properties. 22(1): 1122-1133.

Rueangsuksud, P. and Punnongwa, W. 2022. Physicochemical properties and antioxidant activity of Japanese purple sweet potato starch modified by acid and heat treatments. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 24(2): 72-80. (in Thai)

Leelawat, B., Tilokkul, R. and Baikhunakon, M. 2020. Development of Kaimook from purple rice. Thai Science and Technology Journal. 28(3): 455-465. (in Thai)

Charoenphun, N. 2018. Development of cookie products from sweet potato. Journal of Food Technology, Siam University. 13(1): 32-43. (in Thai)

Muadiad, K. 2018. Product development of dried gluten-free pasta from Sangyod rice flour. UTK Research Journal. 12(2): 91-102. (in Thai)

Seawan, N. and et al. 2014. Antioxidant capacities, phenolic, anthocyanin and proanthocyanidin contents of pigmented rice extracts obtained by microwave-assisted method. Suranaree Journal of Science and Technology. 21(4): 301-306.

Thaipong, K. and et al. 2006. Comparison of DPPH, FRAP, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. Journal of Food Composition and Analysis. 19(7): 669-675.

Julino, B.O. and et al. 1981. International cooperative testing on the amylose content of milled rice. Starch. 33(5): 157-162.

Association Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th edition. Gaithersburg, MD: AOAC International.

Belitz, H.D., Grosch, W. and Schieberle. P. 2009. Food Chemistry. 4th edition. Berlin: Springer.

Dong, S. and et al. 2011. Chemical and antioxidant properties of casein peptide and its glucose Maillard reaction products in fish oil-in-water emulsions. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 59(24): 13311-13317.

Punnongwa, W. and et al. 2022. Application of mild-subcritical alkaline water extraction: optimum condition for phenolic antioxidant extracted from cold-pressed defatted KDML 105 rice bran and its phenolic profile. Food Research. 6(1): 120-131.