Antibacterial, Antioxidation, Antiproteolytic, and Cytotoxicity Activity of Stevia rebaudiana Bertoni Leaves

Main Article Content

Sirikorn Kor-arnan
Sakaowrat Paoblake
Torphan Aswachaisuvikom

บทคัดย่อ

This study aimed to evaluate the biological activity of Stevia rebaudiana Bertoni leaves extract using ultrasound assisted extraction (42-45 kHz). The plant material was collected from Chiangmai province and dried plant was extracted with n-hexane, CH2Cl2, and MeOH respectively. The obtained extracts were tested for antioxidation, antiproteolytic, antibacteria and cytotoxicity activity. The n-hexane extract concentration at 0.14 mg/mL was the highest antioxidation activity (65.83%). The CH2Cl2 extract concentration at 0.1 mg/mL had the highest antiproteolytic activity (39.27%). The anti-bacteria static activity on gram positive and gram negative bacteria was determined by the disc diffusion method. Extract concentration at 10 mg/mL of CH2Cl2 inhibited Vibrio parahamalyticus growth (4.33 mm) best. At a concentration of 10 mg/mL, MeOH extract exhibited the highest inhibitory activity against Escherichia coli (4.00 mm) and was found to inhibit Micrococcus luteus best (4.00 mm). The extract concentration at 10 mg/mL of n-hexane extract was the highest effect on Staphyllococcus aureus (6.33 mm) and was the highest inhibition on Bacillus subtilis (5.92 mm). At 50 μg/mL of concentration, this extract had cytotoxicity effect on lung cancer cell (NCI-H187) and kidney cell of green monkeys (Vero cell). The growth inhibition of lung cancer cell line was 98.45% and the cell growth of Vero cell was 14.28%. This study supported the efficient ultrasound to extract the active ingredients. Normal cell of Vero cell was toxic with high level, that should be considered for dose limiting with this application.

 

การศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพของสิ่งสกัดจากใบหญ้าหวาน ที่สกัดด้วยอัลตราซาวนด์ ค่าความถี่ระหว่าง 42 ถึง 45 กิโลเฮิรตซ์ โดยได้เก็บตัวอย่างพืชจากจังหวัดเชียงใหม่และสกัดพืชแห้งด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล ตามลำดับ นำสิ่งสกัดที่ได้มาทดสอบ ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรตีโอไลติก ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและการเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่า สิ่งสกัดด้วยเฮกเซนความเข้มข้น 140 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมากที่สุด (65.83%) สิ่งสกัดไดคลอโรมีเทนเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรตีโอไลติกมากที่สุด (39.27 เปอร์เซนต์) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบด้วยวิธี disc diffusion method พบว่า สิ่งสกัดด้วยตัวทำละลายไดคลอโรมีเทน ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีฤทธิ์ยับยั้ง Vibrio parahamalyticus (4.33 มิลลิเมตร) ได้มากที่สุด สิ่งสกัดจากเมทานอลยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli (4.00 มิลลิเมตร) และ Micrococcus luteus (4.00 มิลลิเมตร) ได้มากที่สุด สิ่งสกัดเฮกเซนยับยั้งการเจริญของ Staphyllococcus aureus (6.33 มิลลิเมตร) และ Bacillus subtilis (5.92 มิลลิเมตร) ได้มากที่สุด และผลการทดสอบฤทธิ์การเป็นพิษต่อเซลล์ของสิ่งสกัดความเข้ม 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งปอด (NCI-H187) และ มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง (Vero cell) มีค่าการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง 98.45 เปอร์เซนต์ และค่าการเจริญของเซลล์ไตมีค่า 14.28 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ การศึกษานี้พบว่า การสกัดสารสำคัญด้วยอัลตราซาวนด์มีประสิทธิภาพและมีค่าการยับยั้งการเจริญของเซลล์ปกติ Vero สูง ซึ่งควรพิจารณาจำกัดปริมาณการใช้สิ่งสกัดเมื่อใช้อัลตราซาวนด์

Article Details

บท
บทความวิจัย