การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม ในการพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่เป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับบริษัทธุรกิจ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องทราบถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้บริโภค การนำคุณลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มาสร้างเป็นแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ทาให้บริษัทธุรกิจสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ บทความนี้ได้นำเสนอวิธีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ และหาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย โดยพิจารณาจากความชอบที่มีต่อแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนรายละเอียดของผังภาพในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ออกสู่ตลาด
The Application of Conjoint Analysis for Developing New Food Product Concepts
At present, new food product development is considered continuous processes undertaken for business survival and enhancing competitive advantages. The successful development requires understandings on products’ attributes which have influences on consumers’ interests in purchasing new products. Utilizations of the attributes for creating new concept are parts of the product development processes upon which the business accordingly can develop the new products that are consistent to needs of consumers. This study presents applications of Conjoint analysis (CA) to develop new food product concept. The CA was also utilized to identify key attributes having influences on target consumers, through investigating consumers’ preferences on new product concept. Results of CA is metaphorically as the descriptive blueprint for creating and developing new food products to the markets.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว