การปนเปื้อนและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนเฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซน ด้วยวิธีทางชีวภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซนเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีนที่พบปนเปื้อนทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งบริเวณที่มีการทำเกษตรกรรม และบริเวณที่เป็นแหล่งผลิตสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีนมาก่อนไอโซเมอร์ที่พบปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมักเป็นแกมมา-และเบตา-เฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซน โดยเป็นไอโซเมอร์ที่มีฤทธิ์กำจัดแมลงและคงทนต่อการย่อยสลาย ตามลำดับ การฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนด้วยเฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซนมีความจำเป็นเพื่อลดการปนเปื้อนของสารดังกล่าว เฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซนถูกย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์และสะสมได้ในชีวมวลของพืช จึงมีแนวคิดในการคัดแยกจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายสารดังกล่าว รวมทั้งมีการนำจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้มาศึกษาความสามารถในการย่อยสลายเฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซนในสภาพดินที่จำลองการปนเปื้อน นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อยสลายโดยนำพืชมาใช้ในการบำบัดร่วมด้วย เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้ในการฟื้นฟูสภาพดินต่อไป
Contamination by and Bioremediation of Hexachlorocyclohexane
Hexachlorocyclohexane is an organochlorine insecticide widely distributed in agricultural and industrial organochlorine production areas. Gamma-hexachlorocyclohexane, the insecticide isomer, and beta-hexachlorocyclohexane, the most persistent isomer, are generally found in contaminated areas. Remediation of these sites is important to reduce the toxic effects on living organisms. Hexachlorocyclohexane was degraded by microorganisms and accumulated in plant biomass. Isolation of these hexachlorocyclohexane-degrading microorganisms from the contaminated sites and cleaning up of the soil was useful. Further investigations involving plantings were completed to increase the efficiency of the hexachlorocyclohexane-degrading microorganisms and to optimize the effects of hexachlorocyclohexane remediation.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว