การวิเคราะห์ค่าตัวแปรที่มีผลต่อค่าความผันแปรของความต้านทาน ในกระบวนการขัดหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการขัดหัวอ่าน (Lapping Process) คือ กระบวนการขัดแท่งหัวอ่าน (Bar) บนแผ่นขัดหัวอ่าน (Lapping Plate) โดยจะขัดเอาส่วนที่เคลือบบนแท่งหัวอ่านออกตามความหนาที่กำหนด โดยในกระบวนการนี้จะใช้ค่าความผันแปรของความต้านทาน (SH_Sigma) เป็นตัวกำหนดคุณภาพซึ่งค่าความผันแปรของความต้านทาน จะมีความสัมพันธ์กับความต้านทานของหัวอ่านแต่ละหัวอ่านในแท่งหัวอ่านนั้นซึ่งถ้าค่าความผันแปรของความต้านทาน มีค่ามากกว่าที่กำหนด จะถือว่าเป็นของเสียโดยในกระบวนการผลิตปัจจุบันพบว่า มีของเสียเกิดขึ้นอยู่ 6% ซึ่งนำมาสู่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น บทความนี้จะได้นำเสนอการระบุปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดค่าความผันแปรของความต้านทาน ที่สูงเกินค่าที่ยอมรับได้ ซึ่งผลการทดลองพบว่า ค่าปัจจัยหลักของค่าความสมดุลของแขนหัวอ่าน และอันตรกิริยาของค่าความสมดุลของแขนหัวอ่าน กับการส่ายของหัวเครื่องขัด และอันตรกิริยาของค่าความสมดุลของแขนหัวอ่าน กับค่าการยึดจับของตัวจับยึดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าความผันแปรของความต้านทาน
Factor Analysis Affecting Stripe Height Sigma (SH_Sigma) in the Lapping Process Slider Bar of Hard Disk Drives
This study investigated the establishment of the parameters that influence the high value of stripe height sigma (SH_Sigma) to optimize parameters for control. SH_Sigma was measured to control the quality of the lapping process which involved a lapping bar on a lapping plate close to a target and the connection of the signal of feedback resistance for lapping control. Since a value of SH_Sigma relates with the resistance value, a high value of SH_Sigma naturally establishes a defective part. Furthermore, the current process has a 6% defective rate which causes high production costs. Results showed that interactions between load cell and oscillation and between load cell and clamp force affected SH_Sigma.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว