การใช้นํ้าหมักชีวภาพเปลือกสับปะรดผสมใบเตยเป็นสารจับตัวยางธรรมชาติ

Main Article Content

สายสมร ลำลอง
สมนภา คำนัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้นํ้าหมักชีวภาพเปลือกสับปะรดผสมใบเตยเป็นสารจับตัวยางธรรมชาติต่อสมบัติของยางแผ่นดิบและสมบัติเชิงกลของยางวัลคาไนซ์เปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิก สำหรับยางคอมปาวด์ที่ศึกษามี 2 สูตร (ที่มีและไม่มีเขม่าดำ) จากการศึกษาพบว่า ชนิดของสารจับตัวนํ้ายางไม่มีผลต่อสมบัติของยางแผ่นดิบ (สี ปริมาณสิ่งระเหย ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน และความหนืดมูนนี) แต่ดัชนีความอ่อนตัวของยางแผ่นที่ใช้กรดฟอร์มิกมีค่าสูงกว่ายางแผ่นที่ใช้นํ้าหมักชีวภาพเปลือกสับปะรดผสมใบเตย สำหรับสมบัติเชิงกลในสูตรเดียวกัน (ความแข็ง การเสียรูปหลังการกด โมดูลัส ความทนทานต่อแรงดึง และการยืดจนขาด) ของยางวัลคาไนซ์ที่ใช้กรดฟอร์มิกและนํ้าหมักชีวภาพเปลือกสับปะรดผสมใบเตยไม่แตกต่างกัน แต่ความทนทานต่อการฉีกขาดของกรดฟอร์มิกมีค่าสูงกว่านํ้าหมักชีวภาพเปลือกสับปะรดผสมใบเตย อย่างไรก็ตาม สูตรที่มีการเติมเขม่าดำสมบัติเชิงกลจะดีกว่าในแง่ของความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด แต่ในแง่ของการเสียรูปหลังการกดและการยืดจนขาดมีค่าตํ่ากว่าสูตรที่ไม่มีการเติมเขม่าดำ

 

Use of Bio-extract of Pineapple Shell mixed with Pandan as a Natural Rubber Coagulant

This work studied the use of bio-extract of pineapple shell mixed with pandan as a natural rubber coagulant affecting raw rubber sheet and vulcanized rubber properties compared to formic acid. For the rubber compound, two formulas (with and without carbon black) were studied. The results showed that types of latex coagulant did not affect the properties of raw rubber sheet (color, volatile matter content, ash content, nitrogen content, and Mooney viscosity) but the plasticity retention index of rubber sheet from formic acid was higher than that of bio-extract of pineapple shell mixed pandan. The mechanical properties for the same formula (in terms of hardness, compression set, modulus, tensile strength, and elongation at break) of vulcanized rubber from formic acid and bio-extract of pineapple shell mixed with pandan did not differ greatly but the tear strength of vulcanized rubber from formic acid was higher than that of bio-extract of pineapple shell mixed with pandan. However, the formula with carbon black had better mechanical properties in terms of hardness, modulus, tensile strength, and tear strength, but was worse in terms of compression set and elongation at break than that of the formula without carbon black.

Article Details

บท
บทความวิจัย