ความเป็นไปได้ในการเก็บประจุไฟฟ้าด้วยโครงสร้างลักษณะพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายค้นหาความเป็นไปได้ในการสร้างเซลล์เก็บประจุไฟฟ้าจากตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก ด้วยวิธีการจัดเรียงตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกในโครงสร้างที่มีทิศทางเฉพาะภายใต้สนามแม่เหล็ก นำ 16 ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกต่อขนานกันบนตัวนำโลหะ จำนวน 4 ชุด และจัดวางแต่ละชุดให้ทำมุม 54.74 องศากับแนวดิ่งภายใต้สนามแม่เหล็กประดิษฐ์ โดยใช้แผ่นสังกะสีเป็นตัวพยุงโครงสร้างนี้ปล่อยไว้เป็นเวลา 13 สัปดาห์ ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกบนโครงสร้างลักษณะพิเศษนี้สามารถเก็บประจุไฟฟ้าในอากาศได้ โดยวัดค่าความต่างศักย์ได้เท่ากับ 0.24 โวลต์ โครงสร้างเปรียบเทียบ ซึ่งเป็น 4 ชุดตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกที่วางในแนวราบภายใต้สนามแม่เหล็กประดิษฐ์วัดความต่างศักย์ได้เพียง 0.02 โวลต์เท่านั้น การเก็บประจุของโครงสร้างลักษณะพิเศษนี้เก็บได้มากกว่าโครงสร้างเปรียบเทียบถึง 10 เท่า
The Possibility of Special Structure for Storage of Electric Charge
This research work was conducted to find out a possibility of how to produce an electrical cell from electrolytic capacitors by a specific arrangement in magnetic field. A group of 16 capacitors was arranged in parallel on a metal strip. Four sets of metal strip and 4 pieces of zinc in a form of triangular sheet were prepared. Four triangular sheets were attached together to form a pyramid shape with 4 metal strips were held all the edges of the triangular sheets. It needs a specific of angle 54.74 degrees of sloping edges to vertical. It was placed in a magnetic field and left for 13 weeks. This specific structure was filled with electric charges in electrolytic capacitors. The storage of electric charge was measured as electrical potential. The voltage of the specific structure was found to be 0.24 volts. Normally, electrolytic capacitor could collect a few electric charges under magnetic field. By leaving the blank structure for 13 weeks, collected voltage was only 0.02 volts. However, the specific structure could store the electric charges more than 10 times of the blank.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว