ประสิทธิภาพของสารเมแทโบไลต์ทุติยภูมิจากดาวทราย (Astropecten sp.) ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในปลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการรวบรวมตัวอย่างดาวทราย (Astropecten sp.) จากบริเวณหาดราชมงคล อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง นาไปแช่สกัดด้วยตัวทำละลาย 95 % ethyl alcoholและ hexane ตามลำดับ นำสิ่งสกัดหยาบทั้ง 2 ส่วนที่ผ่านการระเหยแห้ง มาทำการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในปลา 3 ชนิด คือ Streptococcus agalactiae, Aeromonas hydrophila และ Vibrio harveyi โดยประเมินค่า minimal inhibitory concentration (MIC) ด้วยวิธี broth dilution method พบว่าสิ่งสกัดในชั้น hexane มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae, A. hydrophila, และ V. harveyi ได้ดีโดยมีค่า MIC ที่ 48 ชั่วโมงเท่ากับ 1,600, 2,200 และ 2,400 ส่วนในล้านส่วนตามลำดับ ขณะที่สิ่งสกัดหยาบที่สกัดด้วย 95% ethyl alcohol ไม่ให้ผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด และเมื่อนำสิ่งสกัดที่ได้ผลดีจากสิ่งสกัดด้วย hexane มาแยกเพื่อให้ได้สารเมแทโบไลต์กึ่งบริสุทธิ์ด้วยเทคนิค Vacuum Liquid Column Chromatography (VLC) เลือกสารกึ่งบริสุทธิ์ที่ได้ปริมาณมากสุด 3 ลำดับแรก มาทดสอบการยับยั้งเชื้อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี broth dilution method พบว่าสิ่งสกัดกึ่งบริสุทธิ์ Fractionที่ 1 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae, A. hydrophila, และ V. harveyi ได้ดีโดยมีค่า MIC ที่ 48 ชั่วโมงเท่ากับ 1,000, 1,200 และ 1,400 ส่วนในล้านส่วน แสดงให้เห็นว่าทั้งสิ่งสกัดหยาบและสิ่งสกัดกึ่งบริสุทธิ์จากดาวทรายที่สกัดด้วย hexane มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้ดี
Antibacterial Efficiency of Secondary Metabolites from Sand Sea Star (Astropecten sp.) against Pathogenic Fish Bacteria
Samples of sand sea star (Astropecten sp.) were collected from Rajamangala Beach, SiKao District, Trang Province. The samples were soaked in 95% ethyl alcohol and hexane respectively. Crude extracts were dried and assayed for their antibacterial activities. Three species of pathogenic fish bacteria were used as bacterial models, Streptococcus agalactiae, Aeromonas hydrophila, and Vibrio harveyi. The broth dilution method was carried out to determine the minimal inhibitory concentration (MIC). The results showed that within 48 hours, MIC values of hexane extracts for S. agalactiae, A. hydrophila, and V. harveyi were 1,600, 2,000 and 2,200 ppm respectively, while ethanolic extracts provided more than 2,800 ppm. Hexane extracts were further run with the vacuum liquid column chromatography technique (VLC) for semi-purified metabolites. The first three species of metabolites (by weight) were selected to examine their antibacterial efficiency. The best MIC values for S. agalactiae, A. hydrophila, and V. harveyi were 1,000 ppm, 1,200 ppm, and 1,400 ppm respectively. This suggested that hexane extracts and semi-purified metabolites could be used as antibacterial agents.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว