การเปรียบเทียบการทำงานโปรแกรม R และโปรแกรม SPSS กรณีการจำแนกประเภทข้อมูลเงินยืมทดรองจ่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้แนวความคิดการทำเหมืองข้อมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์ใช้งานโปรแกรม R ในการวิเคราะห์ปัจจัยจากฐานข้อมูลเงินยืมทดรองจ่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเปรียบเทียบกับ SPSS ภายใต้แนวความคิดการทำเหมืองข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลเงินยืมจากฐานข้อมูลและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบและผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการของการทำเหมืองข้อมูลด้วยวิธีการกรองข้อมูล เตรียมข้อมูล จากนั้นทำการสร้างโมเดลจำแนกการยืมคืนเงินยืมทดรองจ่ายโดยใช้โปรแกรม R และ SPSS และวิเคราะห์เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพของโปรแกรม
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรม R มีความยืดหยุ่นของรูปแบบไฟล์ข้อมูลที่นำเข้ามากกว่าโปรแกรม SPSS โปรแกรม R มีการจัดการข้อมูลที่รวดเร็ว ใช้งานง่ายไม่ต่างกับ SPSS โปรแกรม R ให้ผลวิเคราะห์ที่กระชับตรงตามความต้องการของผู้ใช้มีความน่าเชื่อถือและให้ผลวิเคราะห์ที่เป็นรูปแบบกราฟิกที่สวยงามมีความทันสมัย ผู้ใช้งานสามารถเขียนพัฒนาโปรแกรมเพิ่มได้อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรม เหมาะสำหรับการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยของสถานศึกษาและองค์กรที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ส่วนโปรแกรม SPSS เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติขั้นต้นและผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมากนัก นอกจากนั้นจากการวิจัยสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ช่วยแก้ปัญหาเงินนอน การยืมเงินเกินกว่าการใช้จ่ายจริงและลดความเสี่ยงในการสูญเงินของระบบเงินยืมทดรองจ่าย อีกทั้งยังช่วยเป็นแนวทางในการปรับปรุงและกำหนดนโยบายเงินยืมทดรองจ่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เข้มงวดมากขึ้นโดยออกเป็นประกาศฉบับที่ 1269/2556 ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้ยอดการค้างชาระเงินยืมทดรองจ่ายลดลงเหลือประมาณ 10 ล้านบาทจากยอดโดยประมาณ 400 ล้านบาท ก่อนนำแนวปฏิบัติออกใช้งาน
Comparison of R Project with SPSS Program for Data Classification of Khon Kaen University Borrowed Money Database under the Concept of Data Mining
This research aimed to apply R Project in the factor analysis of Khon Kaen University’s borrowed money database by comparison with SPSS program under the concept of data mining. Data collection was done by use of the borrowed money database and interviews with administrators and operators of the university. A model of the university’s borrowed money data was constructed by the use of R Project and SPSS and its efficiency was analyzed. The results showed that R Project is able to analyze more types of input data than SPSS, it can execute data faster, it is easier for users, and its results can fit what users claim and are 17 trustworthy. R Project results have excellent graphics and are easy to understand. Also, it is an open-source free software that allows users to add additional functionality by defining new functions corresponding to requirements. R Project is suitable for support and researchers can use it for their own investigations with no payment, except costs involved in learning. It was found that SPSS is suitable for analyzing basic statistics and users do not need the same amount of knowledge about programming language that R Project demands. It is anticipated that Khon Kaen University can apply the results of this research to solve the problems of stagnant money and borrowing more money than the actual expenditure, and reduce the risk of losing money in the form of borrowed money. The study helped the university as a guide to the improvement and establishment of a strict and efficient borrowed money policy (declaration No.1269/2556). As a result of this declaration, the total unpaid borrowed money was reduced to about 10 million baht from 400 million baht.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว