ผลของวัสดุประสานเรซิ่นผสมโฟมพอลิสไตรีนเพื่อขึ้นรูปแผ่นใยไม้อัดจากเปลือกของลำต้นทานตะวัน

Main Article Content

บุปผชาติ ต่อบุญสูง
กฤษฎา ทุ่มวิเศษ
นนนที คิดเห็น
วันธนา ศิลปวิลาวัณย์

บทคัดย่อ

แผ่นใยไม้อัดจากเปลือกของลำต้นทานตะวันใช้วัสดุประสานจากเรซิ่นผสมกับโฟมพอลิสไตรีน ซึ่งใช้เปลือกของลำต้นทานตะวันสับย่อย 300 กรัม กดอัดด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิก 147.10 เมกะปาสคาล (MPa) และทำให้แห้งในบรรยากาศเป็นเวลา 3 วัน วัสดุประสานปริมาณ 400 มิลลิลิตร ทำจากอัตราส่วนของเรซิ่นต่อโฟมพอลิสไตรีน คือ 100/0, 90/10, 80/20, 70/30, 60/40 และ 50/50 โดยน้ำหนัก (%wt) พบว่าอัตราส่วนของเรซิ่นต่อโฟมพอลิสไตรีนใน 100/0, 90/10, 80/20 และ 70/30 %wt สามารถสร้างเป็นแผ่นใยไม้อัดได้ สมบัติทางกายภาพวิเคราะห์จากค่าความหนาแน่นและเปอร์เซ็นต์ของการดูดซึมน้ำ สมบัติเชิงกลใช้ค่าความต้านทานแรงดัด และสมบัติทางความร้อนใช้การทดสอบค่าการนำความร้อน พบว่าเมื่อเพิ่มโฟมพอลิสไตรีนทำให้แผ่นใยไม้อัดมีค่าความหนาแน่นลดลง เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานแรงดัดลดลง และการนำความร้อนลดลง ค่าการนำความร้อนแสดงอยู่ในช่วง 0.1538 - 0.1176 วัตต์ต่อเมตร.เคลวิน (W/m.K) ดังนั้นแผ่นใยไม้อัดจากเปลือกของลำต้นทานตะวันที่เตรียมโดยใช้เรซิ่น 100 %wt เป็นตัวประสานแสดงสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลได้สูงสุด ในทางกลับกันสมบัติด้านการเป็นฉนวนความร้อนต่ำกว่าแผ่นใยไม้อัดซึ่งมีส่วนผสมของโฟมพอลิสไตรีน อย่างไรก็ตามการขึ้นรูปแผ่นใยไม้อัดซึ่งผสมตัวประสานอัตราส่วน 90/10 %wt นั้นผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม JIS A 5905:2003 ประเภท Type 5 และแสดงสมบัติของฉนวนความร้อนได้ดีกว่าการใช้เรซิ่น 100 %wt เป็นตัวประสาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวรัตน์ เหลืองไตรรัตน์, จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. 2557. การศึกษาแนวทางการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมกระดาษ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(1), 41-55. [Navarat Luangtrirat, Chaturong Louhapensang and Songwut Egwutvongsa. 2014. A study on the processing waste from the paper industry. Art and Architecture Journal Naresuan University, 5(1), 41-55. (in Thai)]

นิตยา พัดเกาะ. 2558. การผลิตและศึกษาคุณสมบัติแผ่นฉนวนผนังเบาจากเส้นใยชานอ้อยเพื่อใช้ในงานสถาปัตยกรรม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 11-20. [Nittaya Padkoh. 2015. The production and study property of Insulation wall light board from bagasse fiber for using in architecture work. Journal of Engineering, RMUTT, 13(2), 11-20. (in Thai)]

อนุภา สกุลพาณิชย์. 2559. การพัฒนาฉนวนกันความร้อนสู่อาคารจากซังข้าวโพดและน้ำยางธรรมชาติ. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 1688-1702. [Anupa Sakulpanich. 2016. The development of building thermal insulation from corncob and natural rubber latex. Veridian E – Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 9(1), 1688-1702. (in Thai)]

ชาตรี หอมเขียว, สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์, วรพงค์ บุญช่วยแทน, พศิกา แก้วผอม และธัญญมาศ ทองขาวเผือก. 2560. สมบัติทางกล ทางกายภาพ และทางความร้อนของแผ่นใยไม้อัดที่ไม่มีตัวประสานจากผงแกลบและผงฟางข้าว. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 13(3), 85-100. [Chatree Homkhiew, Surasit Rawangwong, Worapong Boonchouytan, Pasika Kaewpom, and Tanyamas Thongkaowphueak. 2017. Mechanical, physical and thermal properties of binderless fiberboard from rice husk flour and rice straw flour. The Journal of Industrial Technology, 13(3), 85-100. (in Thai)]

อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ และฉันทนา เล็กใจซื่อ. 2560. สมบัติเชิงความร้อนของแผ่นฉนวนความร้อนจากต้นปุด (Etlingera littoralis Gieseke). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 102-108. [Usavadee Tuntiwaranuruk and Chantana Lekjaisue. 2017. Thermal properties for thermal insulation from earth ginger (Etlingera littoralis Gieseke). King Mongkut's Agricultural Journal, 35(1), 102-108. (in Thai)]

จารุณี เข็มพิลา, ชญานิศ นามไพร, และอลิษา แก้วใส. 2562. การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากใบตะไคร้และฟางข้าว. วารสารวิชาการปทุมวัน, 9(24), 1-15. [Jarunee Khempila, Chayanis Namprai and Alisa Kaewsai. 2019. Production of particleboard from lemongrass leaves and rice straws. Pathumwan Academic Journal, 9(24), 1-15. (in Thai)]

วนารัตน์ กรอิสรานุกูล, นวลวรรณ ทวยเจริญ, และสุญาดา โสรธร. 2562. การพัฒนาแผ่นไม้ปาร์ติเกิลจากแกนกัญชงเพื่อเป็นผนังตกแต่งภายในอาคาร. วารสารวิชาการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอาคาร, 3(3), 78-96. [Wanarat Konisranukul, Nuanwan Tuaycharoen and Suyada Soratron. 2019. Development particleboard for interior wall panel building from hemp woody core. Journal of Building Energy & Environment, 3(3), 78-96. (in Thai)]

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์, อัญชลี แท่นนิล, อัญชิสา วงศ์สิลารัตน์ และโสภณา อภิชิตสกุลชัย. 2552. บทบาทของเส้นใยธรรมชาติต่อสมบัติของเส้นใยไม้อัดผสมระหว่างโฟมพอลิสไตรีนกับเส้นใย. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วิทยาศาสตร์), 41(2), 43-55. [Malinee Chaisupakitsin, Aunchalee Tannil, Aunchisa Wongsilarat and Sopana Apitchitsakulchai. 2009. Role of natural fibers on properties of fiberboards made from polystyrene foam and fibers, Journal of The National Research Council of Thailand (Science), 41(2), 43-55. (in Thai)]

บุญญารัตน์ พิมพรม, ปีย์วรา แดงนา และปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์. 2560. การพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย, ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. [Boonyarat Pimprom, Peewara Dengna and Panjai Saueprasearsit. 2017. Development of thermal insulation from rice straw. The Proceedings of 13th Mahasarakham University Research Conference, Mahasarakham University, Mahasarakham. (in Thai)]

เอกพจน์ สมนาม, ธัญลักษณ์ ทนปรางค์, และบุปผชาติ ต่อบุญสูง. 2562. สมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงกล และสมบัติเชิงความร้อน ของแผ่นใยไม้อัดที่ทำจากฟางข้าวผสมขี้เลื่อย. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน, ครั้งที่ 7, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี. [Ekapot Somnam, Thanyalak Thonprang and Buppachat Toboonsung. 2019. Physical, mechanical and thermal properties of fiberboard prepared from rice straw mixing sawdust. The Proceedings of 7th Academic Science and Technology Conference, Rangsit University, Pathum Thani. (in Thai)]

Japanese Industrial Standards Committee, Standards Board, Technical Committee on Architecture. 2003. Japanese Industrial Standard (JIS A 5905:2003). Japanese Standards Association, Japan.