ลักษณะของมอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียน

Main Article Content

สุมภา เทิดขวัญชัย
น้อมจิตต์ สุธีบุตร
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
นพพร สกุลยืนยงสุข
เชาวลิต อุปฐาก
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานที่เหมาะสมของมอสซาเรลล่าชีส 2) ศึกษาปริมาณเนื้อทุเรียนเสริมที่เหมาะสมในมอสซาเรลล่าชีสจากสูตรพื้นฐานที่คัดเลือก และ 3) ศึกษาลักษณะทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของมอสซาเรลล่าชีสสูตรพื้นฐานและมอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียน จากการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคของมอสซาเรลล่าชีสสูตรพื้นฐานจำนวน 3 สูตร พบว่าผู้ประเมินให้การยอมรับสูตรที่ 2 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 7.20, 7.70, 7.60, 7.80, 7.55 และ 7.80 ตามลำดับ จากนั้นนำเนื้อทุเรียนมาเสริมในสูตรพื้นฐานสูตรที่ 2 ในปริมาณที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0 (สูตรควบคุม) ร้อยละ 5 ร้อยละ 10 และร้อยละ 15 ของน้ำหนักน้ำนมวัวดิบ ผลการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคพบว่า มอสซาเรลล่าชีสที่เสริมทุเรียนร้อยละ 10 ของน้ำหนักน้ำนมวัวดิบ มีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 8.00, 8.05, 7.95, 7.90, 8.03 และ 8.23 ตามลำดับ ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของมอสซาเรลล่าชีสสูตรพื้นฐาน และมอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียน   ร้อยละ 10 พบว่ามอสซาเรลล่าชีสสูตรพื้นฐานมีค่าสีด้านความสว่าง (L*) และเนื้อสัมผัส (ความยืดตัว) ต่ำกว่า แต่มีค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ที่มีค่าสูงกว่ามอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียนร้อยละ 10 สำหรับคุณภาพทางทางเคมี พบว่ามอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียนร้อยละ 10 มีค่าพลังงาน ปริมาณโปรตีน ไขมัน และเถ้าน้อยกว่า แต่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและความชื้นมากกว่ามอสซาเรลล่าชีสสูตรพื้นฐาน สำหรับคุณภาพทางจุลินทรีย์ พบว่าทั้ง 2 สูตรมีปริมาณจุลินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 209 พ.ศ. 2543 ว่าด้วยกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ของอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

Article Details

How to Cite
เทิดขวัญชัย ส., สุธีบุตร น., กี่อาริโย ช., สกุลยืนยงสุข น., อุปฐาก เ., & โสตรโยม ธ. (2024). ลักษณะของมอสซาเรลล่าชีสเสริมเนื้อทุเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 33(2), 90–103. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/260039
บท
บทความวิจัย

References

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2565. แหล่งข้อมูล : https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2566/commodity2565.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. 2564. สินค้าส่งออกสำคัญของไทยตามโครงสร้างสินค้าส่งออกทั่วโลก. แหล่งข้อมูล : http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=1&Lang=Th. ค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566.

กระทรวงสาธารณสุข. 2543. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 209) พ.ศ. 2543 เรื่อง เนยแข็ง. แหล่งข้อมูล : https://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/TH_91.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566.

Cheese Science Toolkit. 2017. Coagulation. Available at: https://www.cheesescience.org/coagulation.html. Retrieved 2 July 2024.

ช้อนกลาง. 2562. 11 ประเภทชีส ที่คนรักชีสต้องรู้จัก. แหล่งข้อมูล : https://www.chonklang.com/th/บทความ/11+ประเภทชีส+ที่คนรักชีสต้องรู้จัก-29/. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565.

Ahmed, S. et.al. 2008. Effects of acidification on physic-chemical characteristics of buffalo milk, a comparison with cow's milk. Food Chemistry, 106(1), 11-17. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2007.04.021.

MS RoamAround. 2564. Easy Mozzarella recipe no rennet มอสซาเรลล่าชีส แค่ส่วนผสม 3 อย่างก็ยืดได้แล้ว กับคุณพ่อบ้านฝรั่ง. แหล่งข้อมูล : https:// www.youtube.com/watch?v=JXxFE76eXZs. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565.

แม่บ้านตุรกี Asli in Kitchen. 2563. ทำเองได้ง่ายๆ 15 นาทีเสร็จ สูตรมอสซาเรล่าชีส ยืดๆเยิ้มๆ โฮมเมดจ้า Homemade mozzarella 2 ingredients. แหล่งข้อมูล : https://www.youtube.com/watch?v=mn7xeeCM8wY. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565.

Encanto' Channel. 2563. วิธีทำมอสซาเรลล่าชีส โฮมเมดแบบง่ายๆ ชีสยืดๆ, How to make Homemade Mozzarella Cheese. แหล่งข้อมูล : https://www.youtube.com/ watch?v=3DEVRRuxPkA&t=0s. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565.

AOAC. 2019. Association of Official Chemists, Official Methods of Analysis. 21th ed., Washington, D.C.

Sullivan, D.M. and Carpenter, D.E. 1993. Method of Analysis for Nutrition Labeling. AOAC International, Arlington.

อศิรา เฟื่องฟูชาติ. 2567. กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของชีส. แหล่งข้อมูล : https://www.mtec.or.th/mat_sci_design_acti/cheese/. ค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567.

บุศรินทร์ ชนะคช, สุเจตน์ ชื่นชม และศศิธร นาคทอง. 2563. การศึกษาระดับเอนไซม์เรนเนทที่เหมาะสมต่อการผลิตมอสซาเรลล่าชีสจากน้ำนมโคและน้ำนมแพะ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 3(2), 81-86. [Bussarin Chanakot, Sujate Chaunchom and Sasitorn Nakthong. 2020. Study on Optimum Rennet Enzyme Level on Mozzarella Cheese from Cow Milk and Goat Milk. Journal of Agricultural Science and Management, 3(2), 81-86. (in Thai)]

Ørskov, K.E., Christensen, L.B., Wiking, L., Hannibal, T., and Hammershøj, M. 2023. Detecting interactions between starch and casein in imitation cheese by FTIR and Raman spectroscopy. Food Chemistry Advances, 2, 100322. https://doi.org/10.1016/j.focha.2023.100322.

Butt, N.A., Ali, T.M., and Hasnain, A. 2020. Development of rice starch‐based casein and fat mimetics and its application in imitation mozzarella cheese. Journal of Food Processing and Preservation, 44(12), e14928. https://doi.org/10.1111/jfpp.14928.

สุชานาถ ทิพย์จันทร์. 2565. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีสเลียนแบบรสมะม่วงน้ำดอกไม้. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. [Suchanart Thippayajan. 2022. Product development of cheese analogue Mangifera indica L. “Nam Dok Mai” flavor. M.H.E. This thesis, Home Economics Technology Program, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)]

นิธิยา รัตนาปนนท์. 2557. เคมีนมและผลิตภัณฑ์นม. พิมพ์ครั้งที่ 1, โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. [Nithiya Rattanapanon. 2014. Cheese in milk and product chemistry. 1st ed., Odeon Store, Bangkok. (in Thai)]