ระบบจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงอ้อยด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

อนุวัฒน์ ใจดี
สุนิพันธ์ ศรีสุพจนานนท์
เปรมกมล ภูมิหล้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงอ้อยด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (เทคโนโลยีไอโอที) โดยทำการออกแบบและติดเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน 3 จุด ที่แปลงพันธุ์อ้อยทดลองขนาดพื้นที่ 1 ไร่ และติดตั้งสถานีตรวจอากาศ 1 จุด เพื่อเก็บค่าอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ แสงแดด ความเร็วลม ทิศทางลม และปริมาณน้ำฝน ไว้ในระบบฐานข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศแปลงอ้อย และนำข้อมูลไปใช้สำหรับการพยากรณ์ผลผลิต ประเมินผลผลิตรายปี เฝ้าระวังโรคระบาดและพายุ และการติดตามสถานะแปลงอ้อย ผลการทดลองพบว่า แปลงทดลองพันธุ์อ้อยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 15.03% และระบบจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงอ้อยด้วยเทคโนโลยีไอโอที สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการจดบันทึกด้วยคน และสามารถส่งข้อมูลได้ตรงเวลาในทุก ๆ ชั่วโมง แต่ในสภาวะที่อากาศไม่ดีหรือแสงแดดไม่เพียงพอส่งผลให้อุปกรณ์และระบบไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและส่งข้อมูลได้ไม่ต่อเนื่อง ผู้วิจัยแนะนำให้เพิ่มเซลล์แบตเตอร์รี่หรือต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าพื้นฐาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต่อเนื่องและนำไปใช้ในการพัฒนาระบบชลประทานอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัช โซวเจริญสุข. 2564. แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2564-2566 : อุตสาหกรรมน้ำตาล. วิจัยกรุงศรี, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), แหล่งข้อมูล : https://www.krungsri.com/th/ research/industry/industryoutlook/agriculture/sugar/io/io-sugar-21. ค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566.

อัมมาร สยามวาลา. 2543. โครงการวิจัยอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ลู่ทางการขยาย การผลิตเพื่อเพิ่มการส่งออก. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. [Ammar Siamwalla. 2000. [Sugar cane and sugar industry research project Expansion avenues production to increase exports. Thailand Development Research Institute: TDRI (in Thai)]

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม. 2563. น้ำจากฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อยหรือไม่. วารสารสี่เสาพลัส, แหล่งข้อมูล : https://www.mitrpholmodernfarm.com/news/2020/09/น้ำจากฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อยหรือไม่. ค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566.

สุดชล วุ้นประเสริฐ, ฐิติพร มะชิโกวา และธีรยุทธ เกิดไทย. 2564. การพัฒนาการให้น้ำระบบน้ำหยดและปุ๋ยในระบบน้ำสำหรับการผลิตอ้อย. โครงการวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช, สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Sodchol Wonprasaid, Thitiporn Machikowa and Teerayoo Girdthai. 2021. Development of Drip Irrigation and Fertigation for Sugar Cane Production. Research Project in The Field of Plant Production Technology, School of Agricultural Technology, Suranaree University of Technology. (in Thai)]

วรินทร ทองใบ และกุมุท สังขศิลา. 2559. ผลของการให้น้ำเสริมและความหนาแน่นท่อนพันธุ์ที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54, 87-94. [Warintorn Thongbai and Kumut Sangkhasila. 2016. Effect of supplemented water and planting density on yield and quality of sugarcane variety Khon Kaen 3. Proceedings of 54th Kasetsart University Annual Conference, 87-94. (in Thai)]

Barapatre, P. and Patel, J. 2019. Development of Internet of Things (IoT) based smart irrigation system for sugarcane crop. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering, 8(9S), 650-654, https://doi.org/10.35940/ijitee.I1104.0789S19.

Dingre, S.K. and Gorantiwar, S.D. 2021. Soil moisture based deficit irrigation management for sugarcane (Saccharum officinarum L.) in semiarid environment. Agricultural Water Management, 245, 1-14, https://doi.org/10.1016/j.agwat.2020.106549.

Jiang, L., Dongxing, Z., Li, Y., Tao, C., Xiantao, H. and Tiancheng, Y. 2022. The research of using common probe sensors on dynamic soil moisture content measurement during furrow opening. Measurement, 192, 1-9, https://doi.org/10.1016/j.measurement.2022.110825.

อาทิตย์ ศรีแก้ว, ประโยชน์ คำสวัสดิ์ และสุดชล วุ้นประเสริฐ. 2556. การพัฒนาระบบชลประทานชาญฉลาดสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ. โครงการวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช, สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Arthit Srikaew, Prayot Kumsawat and Sodchol Wonprasaid. 2013. Development of Smart Irrigation System for Intelligent Farm. Research Project in The Field of Plant Production Technology, School of Agricultural Technology, Suranaree University of Technology. (in Thai)]

Dhansu, P. et al. 2022. Comparative evaluation of growth yield and yield attributing traits in sugarcane (Saccharum officinarum) under different soil moisture regimes. Indian Journal of Agricultural Sciences, 92(8), 14-18, https://doi.org/10.56093/ijas.v92i8.90437.

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี. 2566. DOA together. แหล่งข้อมูล : https://www.doa.go.th/fc/ suphanburi/?page_id=362. ค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566.

ปิยะวัชร ผาสุข และคณะ. 2560. การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในเขตพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการแก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ, 45(1), 1119-1125. [Piyawat Phasook et al. 2017. Varietal trial of sugarcane under rainfed conditions in Kumphawapi district, Udonthani province. Khon Kaen Agriculture Journal Vol.45 Supplement. 45(1), 1119-1125. (in Thai)]

วีระพล พลรักดี และคณะ. 2554. ขอนแก่น 3 พันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการเกษตร, 29(3), 283-301. [Werapon Ponragdee et al. 2011. Khon Kaen 3 a Sugarcane Cultivar for the Northeast. Thai Agricultural Research Journal. 29(3), 283-301. (in Thai)]

Pipitpukdee, S., Attavanich, W. and Bejranonda, S. 2020. Climate change impacts on sugarcane production in Thailand. Atmosphere, 11(4), 1-15, https://doi.org/10.3390/atmos11040408.

An, S.K., Lee, H.B., Kim, J. and Kim, K.S. 2021. Soil moisture sensor-based automated irrigation of Cymbidium under various substrate conditions. Scientia Horticulturae, 286, 1-6, https://doi.org/10.1016/j.scienta.2021.110133.

Sundari, L.K., Rana, M., Ahmed, S.T. and Anitha, K. 2021. Real-Time IoT Based Temperature and NPK Monitoring System Sugarcane-Crop Yield for Increasing. 3rd IEEE International Virtual Conference on Innovations in Power and Advanced Computing Technologies (i-PACT), Kuala Lumpur, Malaysia, 1-5, https://doi.org/10.1109/i-PACT52855.2021.9696564.