การจัดกลุ่มพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารความต้องการรัฐสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย

Main Article Content

อานิษา ราศรี
วุฒิชัย เชยชม
ปวีณ์สุดา ฉิมพาลี
ณัชชา กุลจิราธนโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการจัดกลุ่มข้อมูลการเปิดรับข้อมูลข่าวสารรัฐสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทยโดยใช้ขั้นตอนวิธีเคมีน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้สูงอายุ โดยใช้ข้อมูลจากสำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,314 คน โดยพิจารณาจำนวนกลุ่มที่เหมาะสมจากวิธี Elbow ซึ่งผลของการวิเคราะห์การจัดกลุ่มจากการสำรวจพฤติกรรมดังกล่าวของกลุ่มผู้สูงอายุได้จำนวนกลุ่มที่เหมาะสม คือ จำนวน 3 กลุ่ม และ 4 กลุ่ม ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำผลวิเคราะห์มาใช้เป็นแนวทางในการแนะนำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารรัฐสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ราศรี อ., เชยชม ว. ., ฉิมพาลี ป., & กุลจิราธนโชติ ณ. (2024). การจัดกลุ่มพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารความต้องการรัฐสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 33(2), 77–89. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/261416
บท
บทความวิจัย

References

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. 2565. รัฐสวัสดิการ : การนำไปปฏิบัติในบริบทสังคมไทยเพื่อความครอบคลุมทางสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(3), 20-37. [Nipapan Jensantikul. 2022. Welfare State: Implementation in the Thai Social Context for Social Inclusion. Journal of Humanities and Social Sciences Mahamakut Buddhist University Isan Campus, 3(3), 20-37. (in Thai)]

Maimon, O. and Rokach, L. 2010. Data mining and knowledge discovery handbook. 2nd ed., Springer, New York.

Syakur, M.A., Khotimah, B.K., Rochman, E.M.S. and Satoto, B.D. 2018. Integration k-means clustering method and elbow method for identification of the best customer profile cluster. IOP conference series: materials science and engineering, 336, 1-6, https://doi.org/10.1088/1757-899X/336/1/012017.

ทิพยา ถินสูงเนิน, มาโนช ถินสูงเนิน, กิตติศักดิ์ เกิดประสพ และนิตยา เกิดประสพ. 2561. การตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกลุ่มข้อมูลอนุกรมเวลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 127-147. [Tippaya Thinsungnoen, Manoch Thinsungnoen, Kittisak Kerdprasop and Nittaya Kerdprasop. 2018. The Consideration of Proper Time-serier Clustering. Journal of Science and Technology Ubon Ratchathani University, 20(2), 127-147. (in Thai)]

Cui, M. 2020. Introduction to the k-means clustering algorithm based on the elbow method. Accounting, Auditing and Finance, 1(1), 5-8, https://dx.doi.org/10.23977/accaf.2020.010102.

Duarte-Duarte, J.B., Talero-Sarmiento, L.H. and Rodríguez-Padilla, D.C. 2021. Methodological proposal for the identification of tourist routes in a particular region through clustering techniques. Heliyon, 7(4), 1-9, https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2021.e06655.

ณรรฐคุณ วิรุฬห์ศรี, ลัทธพล โชครัตน์ประภา, ณัฐณิชา ศรีสมาน และพรทิพย์ เดชพิชัย. 2565. การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มลูกค้าโดยใช้พฤติกรรมการซื้อเชิงลึก : กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 31(1), 103-119. [Nathakhun Wiroonsri, Latthapol Chokratprapa, Natnicha Srisamarn and Porntip Dechpichai. 2022. Clustering Customers Using Their In-Depth Buying Behavior: A Pet Food Manufacturing Company Case Study. Journal of Science Ladkrabang, 31(1), 103-119. (in Thai)]

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. 2564. การวิเคราะห์ปัจจัยและจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวตามภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรีเพื่อเลือกตลาดเป้าหมายที่ตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(1), 123-148. [Vuttichat Soonthonsmai. 2022. A Factor and Cluster Analysis of Chon Buri Destination for Market Targeting with Tourists’ Revisit Intention. Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 29(1), 123-148. (in Thai)]

เจนจิรา สุกใส และนิภาพร ชนะมาร. 2566. การจัดกลุ่มข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดกลุ่ม. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 3(1), 18-31. [Janejira Suksai and Nipaporn Chanamarn. 2023. Clustering of Household Economic Data Using K-Means Clustering Techniques. Journal of Science, Engineering and Technology Loei Rajabhat University, 3(1), 18-31. (in Thai)]

สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์. 2566. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การพัฒนาการสื่อสารจากความต้องการรัฐสวัสดิการของกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้มีรายได้น้อย). แหล่งข้อมูล : https://plan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/15/iid/173214. ค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566.

ภคภูมิ สารพัฒน์. 2563. อีกขั้นของ k-means algorithm ที่สามารถแบ่งกลุ่มข้อมูลได้ทุกประเภท. แหล่งข้อมูล : https://bigdata.go.th/big-data-101/k-means-algorithm-for-clustering-large-data-sets-with-categorical-values/. ค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566.

เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน. 2564. การหาค่า k ของ Kmeans ด้วยวิธี Elbow Method. แหล่งข้อมูล : https://chetnetisrisaan.medium.com/. ค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566.