การคัดเลือกและประสิทธิภาพของแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินในพื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ทัย กาบบัว

บทคัดย่อ

แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (Phosphate solubilizing bacteria; PSB) มีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสให้กับพืชและยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วยการสร้างกรดอินทรีย์และฮอร์โมนพืชบางชนิด รวมทั้งการปลดปล่อยแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชอีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินในพื้นที่ปลูกข้าวของตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยอาหารคัดเลือกสูตร Pikovskaya’s agar (PVK) และทดสอบประสิทธิภาพการละลายฟอสเฟตของแบคทีเรียที่แยกได้ในอาหารเหลว Pikovskaya’s broth ด้วยวิธี Vanadomolybdo phosphoric acid colorimetric ผลการวิจัยพบว่าสามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีลักษณะวงใสรอบโคโลนี (clear zone) บนอาหารแข็ง PVK ได้ทั้งสิ้น 10 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท PSB1-PSB10 โดยไอโซเลท PSB1, PSB2, PSB3, PSB4, PSB5, PSB6, PSB7, PSB8, PSB9 และ PSB10 สามารถละลายฟอสเฟตได้ปริมาณเท่ากับ 1.66, 1.49, 2.00, 3.29, 1.56, 1.22, 1.76, 1.21, 2.88 และ 2.19 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และจากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้นของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ พบว่าแบคทีเรียทั้ง 10 ไอโซเลท เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้แบคทีเรีย PSB ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะต้นข้าวต่อไป ซึ่งแบคทีเรีย PSB ที่คัดแยกได้นี้น่าจะมีศักยภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
Articles

References

ไตรธานี เยี่ยมอ่อน, นันทวัน ฤทธิ์เดช, ประสิทธิ์ ใจศิล, โสภณ บุญลือ. การส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยด้วยแบคทีเรียละลายฟอสเฟตในสภาพเรือนทดลอง. แก่นเกษตร 2556;40:185-93.

Johnston AE, Steen I. Understanding phosphorus and its use in agriculture. Brussels: European Fertilizer Manufacturers Association 2002.

ธัญณ์ชนก เขียวคำ, พิชญ์นันท์ กังแฮ, วิภา หอมหวน, วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. ผลของแบคทีเรียต่อการละลายฟอสเฟตและประสิทธิภาพการผลิตฮอร์โมน IAA โดยคัดแยกจากดินบริเวณรากข้าวในพื้นที่นาในเขตภาคเหนือตอนบน. การประชุมวิชาการงานเกษตรนเรศวร ครั้งที่ 14; 1-2 พฤศจิกายน 2559; มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; 2559. หน้า 8-13.

สุภาพร จันรุ่งเรือง, เบญจมาส รสโสภา, กรรณิการ์ สัจจาพันธ์. ผลของแบคทีเรียละลายฟอสเฟต Burkholderia sp. สายพันธุ์ Rs01 ต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรีย์ 2. วิทยาสารกำแพงแสน 2553;8:1-14.

เมธานี หอมทอง, วันเพ็ญ แก้วพุก, สุกัญญา แย้มสรวล, อนัญญา ทองสิม. ผลของระบบเกษตรกรรมต่อความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์ในดินในพื้นที่ปลูกผักจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2561;14:1-11.

Rodrı́guez H, Fraga R. Phosphate solubilizing bacteria and their role in plant growth promotion. Biotechnol Adv 1999;17:319-39.

Prasanna A, Deepa V, Murthy PB, Deecaraman M, Sridhar R, Dhandapani P. Insoluble phosphate solubilization by bacterial strains isolated from rice rhizosphere soils from southern India. Int J Soil Sci 2011;6:134-41.

Dash N, Pahari A, Dangar TK. Functional characterization of phosphate solubilizing bacteria of coastal rice soils of Odisha, India. Oryza 2017;54:208-19.

เกตน์ณนิภา วันชัย, สมาพร เรืองสังข์. ผลของแบคทีเรียละลายฟอสเฟตที่ตรึงอยู่บนขี้เถ้าแกลบต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ กข47. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2557;45 ฉบับพิเศษ 2;513-6.

พิชญ์นันท์ กังแฮ, สุทธกานต์ ใจกาวิล, อภิวัฒน์ หาญธนพงศ์, สาธิต ปิ่นมณี, วิภา หอมหวน. ความหลากหลายและประสิทธิภาพของแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินบริเวณรากข้าวในพื้นที่นาภาคเหนือตอนบน; การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 35; 26-28 มิถุนายน 2561; โรงแรมแซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท. จันทบุรี; 2561. หน้า 61-73.

Stephen J, Shabanamol S, Rishad KS, Jisha MS. Growth enhancement of rice (Oryza sativa) by phosphate solubilizing Gluconacetobacter sp. (MTCC 8368) and Burkholderia sp. (MTCC 8369) under greenhouse conditions. 3 Biotech 2015;5:831-7.

กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. คู่มือการเก็บตัวอย่างดินและน้ำเพื่อวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ควิกปริ๊นท์ ออฟเซ็ท; 2548.

Pradhan S, Pokhrel MR. Spectrophotometric determination of phosphate in sugarcane juice, fertilizer, detergent and water samples by molybdenum blue method. Sci world J 2013;11:58-62.

Zheng BX, Zhang DP, Wang Y, Hao XL, Wadaan MAM, Hozzein WN, et al. Responses to soil pH gradients of inorganic phosphate solubilizing bacteria community. Sci Rep 2019;9:1-8.

สมคิด ดีจริง, อนุตตรีย์ บุญต่อ. การคัดเลือกและการจำแนกชนิดแบคทีเรียเอนโดไฟท์จากดินปลูกข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์. วารสารเกษตร 2562;35:49-60.

ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน. การคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายฟอสเฟตจากรากพืชของข้าวหอมมะลิแดง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2557.

เกตน์ณนิภา วันชัย. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นที่ตรึงอยู่บนวัสดุชนิดต่าง ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพดินนาข้าวที่เกิดอุทกภัย กรณีศึกษา: อ. บางบาล จ. พระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2556.

สุพัตรา รักษ์วงษ์. การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียละลายฟอสเฟตประสิทธิภาพสูงจากดินรอบรากข้าวไร่ที่ปลูกในตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2558.

วิไลวรรณ ไชยศร. การคัดเลือกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินและสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญและการละลายฟอสเฟต. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2560;36:11-24.

Zaidi A, Khan M, Ahemad M, Oves M. Plant growth promotion by phosphate solubilizing bacteria. Acta Microbiol Immunol Hung 2019;56:263-84.

Kundu BS, Nehra K, Yadav R, Tomar M. Biodiversity of phosphate solubilizing bacteria in rhizosphere of chickpea, mustard and wheat grown in different regions of Haryana. Indian J Microbiol 2009;49:120-7.

Pande A, Pandey P, Mehra S, Singh M, Kaushik S. Phenotypic and genotypic characterization of phosphate solubilizing bacteria and their efficiency on the growth of maize. J Genet Eng Biotechnol 2017;15:379-91.

Dandessa C, Bacha K. Review on role of phosphate solubilizing microorganisms in sustainable agriculture. Int J Curr Res Acad Rev 2018;6:48-55.