การตรวจพิสูจน์คราบเลือดบนผ้าที่ผ่านการซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าต่างชนิดด้วยวิธีทดสอบ Kastle-Meyer

Main Article Content

ธารารัตน์ แจ่มจำรัส*
นพรุจ ศักดิ์ศิริ

บทคัดย่อ

คราบเลือดบนเสื้อผ้าถือเป็นวัตถุพยานที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการสืบสวนสอบสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีฆาตกรรม การพบคราบเลือดบนเสื้อผ้าผู้ต้องสงสัยสามารถเชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยเข้ากับผู้เสียหาย และสถานที่เกิดเหตุ จนกระทั่งนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้ แต่ในบางครั้งผู้ก่อเหตุจงใจปกปิดการกระทำความผิดโดยการนำเสื้อผ้าเปื้อนคราบเลือดไปซักทำความสะอาด ทำให้ไม่สามารถมองเห็นคราบเลือดบนเสื้อผ้าได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้เก็บรวบรวมวัตถุพยานมองข้ามพยานหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ไป งานวิจัยนี้จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบ Kastle-Meyer บนผ้าเปื้อนคราบเลือดที่ผ่านการซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าต่างชนิด และระยะเวลาหลังซักที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าชนิดของผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ต่างกันมีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบ Kastle-Meyer ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยผ้าที่ซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว และผลิตภัณฑ์ซักผ้าพลังออกซิเจนมีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าผสมอนุภาคซิลเวอร์นาโน ผลิตภัณฑ์ซักผ้าสูตรมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ซักผ้าขจัดคราบ ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นผลจากความแตกต่างในการขจัดคราบของผลิตภัณฑ์ซักผ้าแต่ละชนิด ในขณะที่ชนิดของผ้าที่แตกต่างกัน (ผ้าฝ้าย 100% ผ้าโพลีเอสเตอร์ 100% และผ้าโพลีเอสเตอร์ 65% ผสมผ้าฝ้าย 35%) และระยะเวลาหลังซักที่แตกต่างกัน (0, 1, 3, 5, 7, 9, 14, 21 และ 28 วัน) มีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบไม่แตกต่างกัน โดยงานวิจัยนี้สามารถช่วยในการวิเคราะห์คราบเลือดหรือคราบที่คาดว่าเป็นคราบเลือดบนเสื้อผ้าที่ผ่านการซักในสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการสืบสวนสอบสวน

Article Details

บท
Articles

References

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สถิติฐานความผิดคดีอาญา (คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานทั่วประเทศ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: สืบค้นจาก https://bit.ly/3uhKp4H.

Hofmann M, Adamec J, Anslinger K, Bayer B, Graw M, Peschel O, et al. Detectability of bloodstains after machine washing. Int J Legal Med 2019;133:1-14.

Cox M. A study of the sensitivity and specificity of four presumptive tests for blood. J Forensic Sci 1991;36:1503-11.

สวรส ปุริมโน. การตรวจวัดคราบโลหิตด้วยวิธีฟีนอล์ฟธาลีน เตตระเมทิลเบนซิดีน ลูมินอล และบูลสตาร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

Sapan TÜ, Erdogan IT, Atasoy S. Human identification from washed blood stains. Bull Natl Res Cent 2021;45:148.

วิภาวรรณ บุญช่วยเหลือ, ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง, ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี. การตรวจคราบเลือดของมนุษย์ด้วยวิธีลูมินอล ฟีนอล์ฟธาลีนและฟูลออเรซซีน บนผ้าชนิดต่าง ๆ. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2560;14:70-7.

Daud SMSM, Sundram S. Identification of bloodstains on different fabrics after washing with commonly used detergent in Malaysia. JMAS 2019;17:57-65.

Gefrides LA, Welch KE. Serology and DNA. In: Mozayani A, Noziglia C, editors. The forensic laboratory handbook: procedures and practice. New Jersey: Humana Press; 2006. p. 1-33.

Castelló A, Francès F, Corella D, Verdú F. Active oxygen doctors the evidence. Natur wissenschaften 2009;96:303-7.

Howard D, Chaseling J, Wright K. Detection of blood on clothing laundered with sodium percarbonate. FSI 2019;302.

Edler C, Gehl A, Kohwagner J, Walther M, Krebs O, Augustin C, et al. Blood Trace Evidence on Washed Textiles - a systematic approach. Int J Legal Med 2017;131:1179-89.

นวลแข ปาลิวนิช. ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2556.

Zeronian SH, Inglesby MK. Bleaching of cellulose by hydrogen peroxide. Cellulose 1995;2:265-72.

Fukuzaki S. Mechanism of action of sodium hypochlorite in cleaning and disinfection process. Biocontrol Science 2006;11:147-57.

Edler C, Krebs O, Gehl A, Palatzke K, Tiedemann N, Schröder AS, et al. The effect of bleaching agents on the DNA analysis of bloodstains on different floor coverings. Int J Legal Med 2020;134:921-7.

Siemianowicz K, Likus W. The risk of silver nanoparticles to the human body. In: Cao H, editor. Silver nanoparticles for antibacterial devices: biocompatibility and toxicity. Boca Raton, Florida: CRC Press; 2017. p.193-210.

Roto R, Marcelina M, Aprilita N, Mudasir M, Natsir T, Mellisani B. Investigation on the Effect of Addition of Fe3+ Ion into the Colloidal AgNPs in PVA Solution and Understanding Its Reaction Mechanism. Indonesian J Chem 2017;17:439.

Nakanishi H, Ohmori T, Yoneyama K, Hara M, Takada A, Saito K. Bloodstain examination and DNA typing from hand-washed bloodstains on clothes. Legal Medicine. 2020;47:101758.

อรอนงค์ ปันทา, กัลยาณี มั่นเกษวิทย์, ณัฐกมล ชโยทัย, พีรพงษ์ บุญฤกษ์. การตรวจสอบคราบโลหิตของมนุษย์บนผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยผสมด้วยวิธีบลูสตาร์. วารสารวิชาการอาชญวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ 2565;8:17-29.