การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่จากสารสกัดใบหูเสือ (Coleus amboinicus Lour.) เพื่อล้างสารพิษตกค้างในผัก

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ กงพลี*
พรรณวิภา แพงศรี

บทคัดย่อ

ผักเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ผู้บริโภคจำนวนมากยังกังวลเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในผักซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้ว่าจะมีข้อมูลวิธีการล้างสารพิษตกค้างในผักจากสื่อต่าง ๆ แต่ยังไม่พบข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการล้างด้วยวิธีนั้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาวิธีการนำใบหูเสือ (Coleus amboinicus Lour.) ซึ่งพบสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ฆ่าแมลง กำจัดสารพิษ และไม่ก่อให้เกิดการตกค้างมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ โดยใช้ส่วนผสมของกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก โซเดียมไบคาร์บอเนต ผสมกับสารสกัดใบหูเสือ ในอัตราส่วน 1: 2: 3.44: 1 โดยการหาความเข้มข้นของสารสกัดใบหูเสือที่เหมาะสมพบว่าความเข้มข้นของสารสกัด 90% w/v เหมาะสมที่สุดทำให้มีน้ำหนักต่อเม็ดสูงสุด 6.85±0.01 กรัม ใช้เวลาละลายน้ำ 1.20±0.09 นาที ค่า pH 7.10 และทดสอบประสิทธิภาพการล้างสารพิษตกค้างในผักด้วยชุดทดสอบ TV-KIT ร่วมกับการวัดค่าสีของสารละลายโดย Munsell color system พบว่าผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่จากสารสกัดใบหูเสือ 1 เม็ดละลายในน้ำ 1 ลิตรสามารถกำจัดสารพิษตกค้างในผักตัวอย่างได้ 100% เมื่อเทียบกับการล้างด้วยน้ำเปล่าและล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งสามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในถุงซีลสุญญากาศได้อย่างน้อย 45 วัน การนำสารสกัดใบหูเสือมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่เพื่อล้างสารพิษตกค้างในผัก จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการล้างสารพิษตกค้างในผักก่อนนำไปบริโภค และสะดวกต่อการใช้งาน

Article Details

บท
Articles

References

ปรกชล อู่ทรัพย์. วิกฤตเคมีเกษตร-ความปลอดภัยด้านอาหาร 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://greennews.agency/?p=32457.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;9:50-63.

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. วิธีการล้างและคัดเลือกผักและผลไม้ให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของสารเคมีตกค้าง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/vegetable/.

บุญยาพร สะทองรอด. ศักยภาพของน้ำมันหอมระเหยจากใบหูเสือ (Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.) และใบกระดุมทองเลื้อย (Wedelia trilobata) ป้องกันกำจัดด้วยถั่วเขียว (Callosobruchus maculatus) [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์, ทรงพร จึงมั่นคง. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และปริมาณสารฟีนอลรวมของสารสกัดพืชสมุนไพรไทยบางชนิด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2549;8:76-88.

นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. สมุนไพรพื้นบ้าน . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประชาชน; 2542.

อัชฌา สมนึก. การศึกษาความหลากหลายและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 6; 2561; ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2561.

กชมน ยอดขำ, ธวัชชัย แพซมัด. การพัฒนาตำรับแกรนูลฟองฟู่ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยสร้างสรรค์ ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4; 2554; นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

ปัทมา เสนทอง, ลิเลียน วิวัฒน์, จตุพล โยธาโคตร, สุทธินี เพ็ชรสีทอง, กัญธิชา ศรีธิชา. ประสิทธิภาพของน้ำยาล้างผักต่อชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชและปริมาณฟอร์มาลีนตกค้างในผัก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2561;18:1-10.

ภาณุวัฒน์ แย้มสกุล, ประภาส พัชนี, โกษา ปัญญาโกษา, สมปรียา แสงไฟ, ดวงพร พิชผล. การศึกษาความเข้มข้นของยาสมุนไพรสกัดออลิกาโนในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Escherichia coli ที่แยกได้จากอุจจาระสุกรหลังหย่านมที่มีอาการท้องเสียในฟาร์มเขตเชียงใหม่-ลำพูน ในห้องปฏิบัติการ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43; 2548; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.