ผลของพริกแกงไทยและแก่นตะวันต่อการยอมรับของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่า

Main Article Content

วิชชุมา เตชะสิริวิชัย*
ปรีดิอร เพ็ชรใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมพริกแกงไทยต่อการยอมรับในผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวันทั้ง 4 รสชาติ คือ พริกแกงเผ็ด พริกแกงกะหรี่ พริกแกงเขียวหวาน และพริกแกงคั่ว ที่ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของน้ำหนักส่วนผสมไส้เกี๊ยวซ่า ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีการทดสอบความชอบแบบ 9 ระดับ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เสริมรสพริกแกงเผ็ดและรสพริกแกงกะหรี่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุดที่ร้อยละ 15 รสพริกแกงเขียวหวานและรสพริกแกงคั่วได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุดที่ร้อยละ10 จากนั้นศึกษาหาปริมาณผงแก่นตะวันที่ใช้ทดแทนแป้งเกี๊ยวซ่าที่ระดับร้อยละ 0, 2, 4 และ 6 ของส่วนผสมแป้งเกี๊ยวซ่าทั้งหมด ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสการยอมรับของผู้บริโภคด้วยวิธีการทดสอบความชอบแบบ 9 ระดับ ซึ่งพบว่า ผลิตภัณฑ์รสพริกแกงเผ็ด รสพริกแกงกะหรี่ รสพริกแกงเขียวหวานและรสพริกแกงคั่วได้รับคะแนนความชอบปริมาณผงแก่นตะวันทดแทนแป้งเกี๊ยวซ่าที่ร้อยละ 2 ด้านสี รสชาติและความชอบโดยรวมสูงสุด ทั้ง 4 รสพริกแกงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) คุณภาพทางกายภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวันพบว่า รสพริกแกงคั่วมีค่า L* สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรสพริกแกงเผ็ดรสพริกแกงกะหรี่ และรสพริกแกงเขียวหวาน ค่า a* และ ค่า b* รสพริกแกงคั่วมีค่าน้อยกว่ารสพริกแกงเผ็ดรสพริกแกงกะหรี่ และรสพริกแกงเขียวหวาน ค่าปริมาณน้ำอิสระทั้ง 4 รสชาติเท่ากับ 0.97 คุณค่าทางโภชนาการผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวัน 100 กรัม รสพริกแกงเผ็ด รสพริกแกงกะหรี่ รสพริกแกงเขียวหวาน และรสพริกแกงคั่ว ให้พลังงาน 193.90, 207.03, 205.92 และ 223.38 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 7.10, 7.16, 7.31 และ 8.03 กรัม ไขมัน 8.98, 8.91, 12.00 และ 9.30 กรัม คาร์โบไฮเดรต 21.17, 24.55, 17.17 และ 26.89 กรัม ความชื้น 61.62, 58.01, 62.43 และ 54.66 กรัม เถ้า 1.13, 1.37, 1.05 และ 1.12 กรัม ตามลำดับ พบจุลินทรีย์ทั้งหมด CFU/กรัม น้อยกว่า 1x106

Article Details

บท
Articles

References

นันทวัน หัตถมาศ, ภาณุ เอี่ยมต่อม, พรอารีย์ ศิริผลกุล. การเพิ่มศักยภาพของพริกกะเหรี่ยงด้วยการพัฒนาพริกแกงเขียวหวานสูตรพริกกะเหรี่ยง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564;23:80-6.

ฐิติมาพร หนูเนียม. รายงานการวิจัย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบไก่รสข้าวยำเครื่องแกง. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: ข้าวเกรียบไก่รสข้าวยำ.pdf.

นภาพร ดีสนาม, จารุวรรณ รักษาวงศ์. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ยอเสริมแป้งกล้วยและน้ำพริกไส้อั่ว. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม 2564;5:30-5.

สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล, มลนพรรษ สงค์พิมพ์, กฤติยา เขื่อนเพชร, วีรเชษฐ์ จิตตาณิชย์. เยรูซาเล็มอาร์ทิโช้คเชิงพาณิชย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

จิตรา สิงห์ทอง. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังเพื่อสุขภาพจากแป้งแก่นตะวัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562;21:71-83.

นิมิต วรสูต, สนั่น จอกลอย. อินนูลิน:สาระสำคัญสำหรับสุขภาพในแก่นตะวัน. วารสารแก่นเกษตร 2549;34:85-91.

ดุสิต บุหลัน, ณัฐชรัฐ แพกุล, อภิญญา พุกสุขสกุล, สกุลตรา ค้ำชู. ผลของการเสริมแก่นตะวันพิวเร่ต่อลักษณะทางกายภาพและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของไอศกรีมนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2565;14:61-9.

สุนันท์ บุตรศาสตร์, สาริณี เสริมไธสง, รุ่งทิพย์ เจริญมูล. รายงานการวิจัย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทองม้วนข้าวกล้องมันปูผสมแก่นตะวันเสริมสารสีจากพืช. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1607007231.pdf.

จิรายุทธ จูมพลหล้า, ธนภพ โสตรโยม, ชญาภัทร์ กี่อาริโย, น้อมจิตต์ สุธีบุตร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2561;30:83-94.

สุภรณ์ พจนมณี. ตำรับอาหาร. ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วีรณาเพลส; 2555.

ปราณี อ่านเปรื่อง. หลักการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

วันดี ไทยพานิช. วิธีวิจัยทางคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555.

สถาบันอาหาร. เรื่องบริการตรวจวิเคราะห์. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nfi.or.th/service-chemical-analysis.php.

ดวงใจ มาลัย, ชุติมณฑน์ ชัยชวลิต, สุพรรษา จันทร์เพ็ญ, สุชานุช ไหมละเอียด. การพัฒนาบะหมี่สดโดยการเติมผงแก่นตะวัน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2556;44:269-70.

พนัชกร สุทธไชย. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเรไรโดยทดแทนแป้งข้าวเจ้าด้วยแป้งแก่นตะวัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร; 2561.

ศิริขวัญ หวันจิ, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, เดโช แขน้ำแก้ว, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, เจียร ชูหนู. จันดีพริกแกง: แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม 2563;4:44-63.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/.