การศึกษาความคงทนของสีสกัดจากพืชในท้องถิ่น ที่มีต่อผ้าทอเส้นใยตาลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภูถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

เกชา ลาวงษา
กฤตพร ชูเส้ง
สุวดี ประดับ
สุจาริณี สังข์วรรณะ
วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์*

บทคัดย่อ

สินค้าหัตถกรรมประเภทสิ่งทอของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ยังไม่มีรูปแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของชุมชนโดยเฉพาะยังไม่มีการนำเส้นใยตาลซึ่งเป็นพืชเฉพาะท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ การศึกษาความคงทนของการย้อมสีผ้าจากเส้นใยตาลด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ครามและดอกทองกวาว ผลการศึกษาพบว่า ค่าสีของผ้าทอเส้นใยตาลที่ย้อมสีธรรมชาติ ทั้ง 3 ชนิด มีความสว่างมากที่สุด (ค่า L* 69.57±1.35) มีค่า a* มากที่สุดเท่ากับ 12.77±2.45 เป็นค่าบวก (สีแดง) โดยมีค่า b* มากที่สุด เท่ากับ17.63±1.43 การทดสอบคุณสมบัติของผืนผ้าหลังจากย้อมด้วยสีธรรมชาติ แช่สารช่วยติดสีด้วยสารส้มอยู่ระดับดี เนื่องจากมีความคงทนของสีต่อการซักล้างอยู่ในระดับ 4 (ดี) มีความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะแห้งอยู่ในระดับ 4 (ดี) มีความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะเปียกอยู่ในระดับ 3 (ปานกลาง) มีความคงทนของสีต่อแสงอยู่ในระดับ 3 (พอใช้) ซึ่งผลการทดสอบแต่ละคุณสมบัติสามารถนําเป็นข้อมูลในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้งานผ้าทอจากเส้นใยตาลย้อมสีธรรมชาติจากแก่นฝางตากแห้ง ครามตากแห้ง และดอกทองกวาวตากแห้งได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดโดยการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และของตกแต่งบ้านจากผ้า ตลอดจนเป็นการส่งเสริมธุรกิจครัวเรือนและชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
Articles

References

ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักคหกรรมศาสตร์เรื่องศาสตร์ทางด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน; 2550.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. เภสัชกรรมไทยรวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียสโตร์; 2540.

Cardon D. Natural dyes: sources, tradition, technology and science. London: Archetype Publication 2007.

Kirby J. Red Lake Pigments: Sources and Characterisation In Fatto d Archimia - Los Pigmentos Artificiales en las Tecnicas Pictoricas,del Egido M, Kroustallis, S.(Eds.), Ministerio de Educacion, Culturay Deporte, Madrid 2012.

Khatri M, Ahmed F, Shaikh I, Phan N, Khan Q, Khatri Z, Lee H, Kim I S. Dyeing And Characterization of Regenerated cellulose nanofibers with vat dyes. Carbohydr Polym 2017;174:443-9.

Saithong A, Wanruengrong T, Sunaprom U. The development of indigo - dyed cloths’ pattern for the new generation people. Sakon Nakhon Rajabhat University Journal 2015;7:11-20.

กรมวิชาการเกษตร. พรรณไม้ในกรมวิชาการเกษตร เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2552.

Rana F, Avijit M. Review Butea monosperma. IJRPC 2012;2:1035-39.

Somani R, Kasture S, Singhai AK. Antidiabetic potential of Butea monosperma in rats. Fitoterapia 2006;77:86-90.

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์, สุจาริณี สังข์วรรณะ, ภัทรภร พุฒพันธ์, ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์, ณรัช พรนิธิบุญ, ธนัง ชาญกิจชัญโญ. การพิมพ์สีธรรมชาติจากใบเพกาด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2565;17:45-55.

สุพัตรา รักษาพรต, กวินภพ เย็นแย้ม, สุธาทิพย์ กลั่นแตง, วรยุทธ ชาปฏิ, ป่านศิริ ธรรมเกสร, สุพัตรา งอกงาม, สุนิษา สุวรรณเจริญ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย้อมสีผมโดยใช้สารสกัดธรรมชาติจาก ใบเทียนกิ่ง แก่นฝาง ดอกอัญชันเปลือกมังคุด และกะหล่ำปลีแดง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2564;13:790-803.

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์, ณัฐสิมาโทขันธ์. การเพิ่มมูลค่าบัวหลวงปทุมด้วยภูมิปัญญาผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2564;9:205-12.

รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. วิธีการทดสอบความคงทนของสีบนวัสดุสิ่งทอตามมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549.

Kongplee L, Pangsri P. The development of natural dry from plants in anthocyanin group for staining plant tissue. JSSE 2022;5:1-11.

ประภากร สุคนธมณี. สีสันจากพันธุ์พฤกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2560;37:183-202.

พัทวัฒน์ สีขาว, หนึ่งฤทัย เนื้อไม้หอม, นฤมล พรมลา, ครรชิต ณ วิเชียร, อรัญญา จุติวิบูลย์สุข. การศึกษาสารพฤกษาเคมีเบื้องต้น ความเป็นพิษเฉียบพลันต่อการระคายเคืองและการกัดกร่อนของผิวหนังในกระต่ายจากสารสกัดน้ำย้อมสีใบมะยงชิด. PSRU Journal of Science and Technology 2022;7:117-28.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. การย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 20มี.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก http://siweb1.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2041.pdf.