การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมถั่วแดงโปรตีนสูง

Main Article Content

สุรีย์พร กังสนันท์*
รุจจิรา ดำเอี่ยม
ลักขณา ศรีรุ่งเรือง
สุภาพร ศรีรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมถั่วแดงโปรตีนสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถั่วแดงและน้ำ ปริมาณสารให้ความหวานมอลทิทอลและองค์ประกอบเคมีของนมถั่วแดงที่ผ่านการเพิ่มปริมาณโปรตีนจากถั่วลันเตา การศึกษาอัตราส่วนของถั่วแดงต่อน้ำที่ระดับ 1:3 1:5 1:7 และ 1:9 ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของน้ำทำให้นมถั่วแดงมีปริมาณของแข็งทั้งหมดและค่าความหนืดลดลง ผลการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสลดลงเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น โดยมีผลต่อการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านรสชาติและความชอบโดยรวม อัตราส่วนของถั่วแดงต่อน้ำเท่ากับ 1:5 ได้รับคะแนนการยอมรับสูงที่สุด การศึกษาปริมาณมอลทิทอลที่ระดับร้อยละ 5 10 15 และ 20   พบว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณมอลทิทอลในช่วงร้อยละ 5-15 ผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณเป็นร้อยละ 20 โดยผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในทุกด้านของนมถั่วแดงที่มีปริมาณมอลทิทอลร้อยละ 15 สูงที่สุด การศึกษาการเติมโปรตีนจากถั่วลันเตาร้อยละ 10 พบว่านมถั่วแดงปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 10.50 กรัม ไขมัน 0.01 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.12 กรัม ความชื้น 77.50 กรัม เถ้า 0.34 กรัม ใยอาหารทั้งหมด 11.65 กรัม และให้พลังงาน 88.67 กิโลแคลอรี่ ปริมาณโปรตีนในนมถั่วแดงปริมาตร 360 มิลลิลิตรเท่ากับ 37.8 กรัม ซึ่งนมโปรตีนสูงมีวางจำหน่ายในท้องตลาดพบว่ามีปริมาณโปรตีนในช่วง 28-32 กรัมโปรตีน/360 มิลลิลิตร (ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด)

Article Details

บท
Articles

References

อภิรดา รินพล, เนตรชนก หลวงแสน, พิมพร ดอนมูล. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากธัญพืช. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร; 1-4 กุมภาพันธ์ 2554; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ: 2554. หน้า 141-147.

สุนัน ปานสาคร, จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. ศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีในการปรับส่วนผสมของเครื่องดื่มข้าวมอลต์จากข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี 2563;18:157-68.

นนทพร รัตนจักร, อังขณา ปานเกิดผล, ภรภัทร สำอางค์, โอรส รักชาติ, ธิดารัตน์ แสนพรม, อรุณลักษณ์ โชตินาครินทร์.การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพโดยใช้ซูคราโลสและปลายข้าวหอมนิล. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2563;16:49-59.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: เอ.วี.โปรเกรสซีฟ; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างทางโภชนาการบนฉลากอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2541 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://food.fda.moph.go.th/media.php?id=509290251919958016&name=P182.PDF.

อุษาพร ภูคัสมาส. ถั่วแดงแหล่งโปรตีนจากพืช. อาหาร 2561;48:59-62.

AOAC. Official Method of Analysis of AOAC International. USA; 2000.

Shanthakumar P, Klepacka J, Bains A, Chawla P, Dhull SB, Najda A. The current situation of pea protein and its application in the food industry. Molecules 2022;27:1-29.

Campbell M. Things You Need to Know About the Health Benefits of Red Beans. [Internet]. 2017 [cited 2023 July 20]. Available from:https://district.schoolnutritionandfitness.com/hamburg_1501717446202/files/Health%20Benefits%20of%20Red%20Beans.pdf.

นราธร สัตย์ซื่อ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ. [วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2562.

ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์. การผลิตนมเปรี้ยวพร้อมดื่มจากข้าวกล้องงอก. สักทอง:วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สทวท.) 2560;4:413-21.